“อ.ประจักษ์” เขียนบทความใหม่ “ถ้าไม่มี สว.” ชี้จุดเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้น หากปชช.ไม่นิ่งเฉย

"อ.ประจักษ์" เขียนบทความใหม่ "ถ้าไม่มี สว." ชี้จุดเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้น หากปชช.ไม่นิ่งเฉย

Top news รายงาน บทความใหม่ ถ้าไม่มี สว. ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน X นอกจากจะ ชี้ให้เห็นการทำหน้าที่ของสว.ชุดที่ผ่านมาในการถ่วงรั้งประชาธิปไตย และจุดเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว ยังเชิญชวนให้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยมีเนื้อหาว่าอยากชวนทุกท่านลองจินตนาการว่า หาก 5 ปีที่ผ่านมา ถ้าเราไม่มี สว. ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร สังคมไทยจะมีหน้าตาเป็นเช่นใด การเมืองไทยจะมีลักษณะดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

วาระการเลือกวุฒิสมาชิกที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงเป็นวาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะหากสังคมไทยไม่สามารถเปลี่ยนวุฒิสภาจากเครือข่ายชนชั้นนำให้กลายเป็นสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงได้ ผลที่จะเกิดขึ้นคือ รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 จะคงอยู่กับสังคมไทยตลอดไป องค์กรอิสระที่ขาดความเป็นกลางและขาดการยึดโยงกับประชาชนก็จะกลายเป็นปรากฏการณ์ที่แก้ไขไม่ได้ หากจะยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เราไม่สามารถปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ปัญหาคือ กติกาการเลือก สว. ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ถูกออกแบบมาอย่างพิสดารและตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนออกไป ที่มาของ สว. แทนที่จะมาจากการเลือกตั้ง (election) กลับมาจากการเลือกสรร (selection) เฉพาะกลุ่มคนที่ไปสมัคร กติกาเช่นนี้คือการกำหนดเกมให้มีการแข่งขันน้อยที่สุด ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (คือ ตัวบุคคล) ที่ฝ่ายผู้ร่างกติกาต้องการ

คำถามคือ เมื่อเกมนี้ถูกออกแบบมาอย่างไม่เป็นธรรม ประชาชนควรเข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่? สำหรับผม ยิ่งเกมถูกวางกรอบมาให้ไม่เป็นธรรมเท่าใด ประชาชนยิ่งต้องเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะในบทบาทผู้สมัคร บทบาทของการเฝ้าจับตา และติดตามกระบวนการการเลือก และการเผยแพร่ข้อมูลให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ เราเข้าไปเล่นในเกมที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เพื่อเป็นผู้ชนะ แต่เพื่อเปลี่ยนให้เกมนี้มีความเป็นธรรมมากขึ้น

 

หากประชาชนนิ่งเฉย สังคมไทยก็อาจจะได้วุฒิสมาชิกที่มีลักษณะคล้ายกับวุฒิสมาชิกจากการแต่งตั้งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ถ้าประชาชนจำนวนมากไม่นิ่งดูดาย เราจะสามารถเปลี่ยนวุฒิสมาชิกให้มีความหลากหลาย และเป็นสภาของประชาชน และมันจะเป็นจุดนับหนึ่งในการเปิดประตูสู่การแก้ไขกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากการรัฐประหารเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี "เชน ธนา-ภรรยา" ถูกกล่าวหาฉ้อโกง 29 พ.ย.นี้
“ลุงป้อม” ปัดตอบปม “สิระ” อ้างคนในป่าต่อสายช่วย “สามารถ”
"ทนายพจน์" ยื่นหนังสือสำนักพุทธฯ จี้คณะสงฆ์แจ้ง "พระปีนเสา" สละสมณเพศ หลังถูกขับพ้นวัดวังกวาง
ตร.นำกำลังทลายแคมป์ "แรงงานต่างด้าวเถื่อน" นับร้อย ย่านหนองใหญ่-ชลบุรี เตรียมผลักดันออกนอกประเทศ
‘โฆษก ทบ.’ แจง ‘เจ้ากรมยุทธฯ’ ทำร้ายทหาร เหลือสอบพยาน 2-3 ราย ทำได้แค่ตักเตือน ส่วนคดีอาญา เจ้าทุกข์ต้องดำเนินการ
"อ.ปานเทพ"กางเอกสาร JC2544 อ้างไทย-กัมพูชา เคยรับรอง MOU 44 เป็นสนธิสัญญา
"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต
ตร.ปคบ.บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางเถื่อน ลอบผลิต-ส่งขายทั่วภาคอีสาน ยึดของกลางกว่า 4 หมื่นชิ้น
ชาวบ้าน 2 ตำบลเฮ ขอบคุณป่าไม้ที่อนุญาติให้ อบต.สร้างถนนลัดไปอำเภอ หลัง สว.สุรินทร์ หารือในการประชุมวุฒิสภาช่วยแก้ปัญหาชาวบ้าน เป็นของขวัญปีใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น