logo

ชาวบ้าน 2 ตำบล กดดันชลประทานตราดแก้ปัญหาน้ำเค็มเข้าพื้นที่

ชาวบ้าน 2 ตำบล กดดันชลประทานตราดแก้ปัญหาน้ำเค็มเข้าพื้นที่หลังนำน้ำรดต้นทุเรียนแล้วตาย,ชลประทานตราดขอโทษบอกประตูน้ำชำรุดและน้ำทะเลขึ้นล้นประตูน้ำ

อ.เมือง จ.ตราด/เวลา 08.30 น.วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 ที่ประตูน้ำกั้นน้ำเค็ม ต.ตะกาง อ.เมือง จ.ตราด นายธำรงศักดิ์ นคราวงษ์ โครงการชลประทานตราด,นายอภิเดช บุญล้อม นายกตำบลตะกาง นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด,นายเตธรรศ รัตนชัย ปลัดป้องกันอำเภอเมืองตราด เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวตำบลตะกาง และตำบลชำราก ที่ประกอบการเกษตรกว่า 100 คน

ตัวแทนชาวบ้าน 3-5 คน ได้นำเสนอปัญหาได้ทราบว่า วันนี้สวนผลไม้ของเกษตรกรจำนวนมากได้รับผลกระทบจากน้ำเค็มที่ไหลซึมและล้นผ่านประตูน้ำเข้าไปยังคลองท่าเลื่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความจืดของน้ำและน้ำในคลองมีความเค็มเกินกว่าจะนำมาใช้ทางเกษตรกร อย่างไรก็ตาม เกษตรกรได้นำน้ำในคลองท่าเลื่อนมารดต้นทุเรียนที่ต้องการน้ำ ปรากฏว่า ต้นทุเรียนใบร่วง และบางต้นยืนต้นตาย จำนวนมาก (เกิน 500 ต้น) และยังมีบางคนพื้นทีทปลูกทุเรียนกว่า 10 ไร่เสียหายเกือบทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่จะได้ผลผลิตสุดท้ายต้องตัดต้นทุเรียนทิ้ง หรือ ทำการฟื้นฟูต้นใหม่ ที่อาจจะได้ผลทุเรียนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า การเดินทางมาขอคำชี้แจงและการแก้ไขครั้งนี้เพื่อต้องการให้รับทราบปัญกาและทำการแก้ไขและปรับปรุงให้ประตูน้ำกลับมาใช้ได้ตามปกติที่สามารถป้องกันน้ำเค็มได้

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอภิเดช กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้ง ซึ่งน้ำในคลองท่าเลื่อนได้รับผลกระทบจากน้ำเค็ม(น้ำทะเล)ที่ไหลผ่านประตูน้ำทั้งจากการไหลซึมและไหลล้นประตู และทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น ซึ่งจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือพบว่า มีความเค็มในระดับ 2 แต่ไม่เรียกว่า เป็นน้ำเค็ม แต่เป็นน้ำกร่อยที่ไม่เหมาะนำไปใช้ทางการเกษตรโดยเฉพาะทุเรียน และหากนำไปรดต้นทุเรียนก็จะส่งผลกระทบต่อผลที่จะร่วงหล่น จากปัญหานี้ ทางทต.ตะกางได้เข้าไปสำรวจแล้วก็พบว่าเป็นความจริงและได้เข้าไปแก้ปัญหาแล้ว ทั้งนี้ในช่วงนี้ฝนตกลงมา จะมีดารระบทยน้ำจากสระฆ้อลงมาเพื่อดันน้ำกร่อยให้ไหลลงทะเลไปและจำนำน้ำจากทต.ตะกางที่จะบรรทุกใส่รถบรรทุกน้ำไปเติมให้ที่อ่างน้ำของแต่และสวนโดยจะจะสูบน้ำเดิมออกให้หมดแล้วเติมน้ำจืดให้ทุกสวนเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะสั้นไปก่อน ทั้งนี้เพื่อรักษาต้นทุเรียนไว้

ขณะนายธำรงศักดิ์ กล่าวว่า ปีนี้และปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาฝนตกน้อย ซึ่งปกติหากน้ำในอ่างด้านบนที่เก็บน้ำอยู่เมื่อมีน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่จะใช้น้ำด้านบนปล่อยลงมาไล่น้ำเค็มออกไปได้ แต่ปีนี้น้ำน้อยจึงเกิดปัญหา อีกทั้งประตูน้ำแห่งนี้ก่อสร้างมานานกว่า 30 ปี ซึ่งปัจจุบันมีความชำรุดทีทต้องแก้ไข และการออกแบบในครั้งนั้นอาจจะไม่ได้มองถึงปริมาณน้ำทะเลที่ขึ้นสูง จึงทำให้บางปี หรือบางครั้งไม่สามารถกั้นน้ำเค็มได้เพราะล้นข้ามประตูน้ำเข้ามา และเชื่อว่าปัญกานี้คือ ปัญหาหลักและพบเห็นได้จากประตูน้ำแห่งอื่นๆด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข แต่หากจะต้องรื้อทำใหม่จะเสียเวลานานและต้องใช้งบประมาณสูง แต่จะทำการซ่อมแซมในระยะสั้นไปก่อน ซึ่งประตูน้ำแห่งนี้ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ต้องขอโทษพี่น้องประชาชนที่เข้ามาแก้ไขปัญหาล่าช้า แต่จะเร่งดำเนินการโดยเร็ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น