logo

ลูกจ้างต้องรู้ สิทธิประโยชน์ว่างงาน เมื่อถูกเลิกจ้าง-ลาออก มีอะไรบ้างเช็กเลย

สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างต้องรู้ เมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออก มีอะไรบ้าง?

ลูกจ้างต้องรู้ สิทธิประโยชน์ว่างงาน เมื่อถูกเลิกจ้าง-ลาออก มีอะไรบ้างเช็กเลย – Top News รายงาน

ลูกจ้าง

การตกงานแบบไม่ทันตั้งตัวเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้า “ถูกเลิกจ้าง” ทำยังไงดี สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่เราควรได้บ้าง คือเรื่องที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพื่อรักษาผลประโยชน์และสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ

สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้น ถือเป็นสิทธิที่ช่วยคุ้มครองลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกจ้างยังคงสถานะผู้ประกันตนที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมได้อย่างครบถ้วนต่อเนื่องแล้ว ผู้ประกันตนยังคงได้รับเงินทดแทนจากกรณีว่างงานอีกด้วย

 

1. สิทธิรับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
1.1 กรณีอายุงานไม่ถึง 120 วัน ไม่ได้รับเงินชดเชย
1.2 อายุงานไม่น้อยกว่า 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับเงินชดเชย 1 เดือนสุดท้าย (30 วัน)
1.3 อายุงาน 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชย 3 เดือนสุดท้าย (90 วัน)
1.4 อายุงาน 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 6 ปีได้รับเงินชดเชย 6 เดือนสุดท้าย (180 วัน)
1.5 อายุงาน 6 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 8 เดือนสุดท้าย (240 วัน)
1.6 อายุงาน 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 20 ปี ได้รับเงินชดเชย 10 เดือนสุดท้าย (300 วัน)
1.7 อายุงาน 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 13.3 เดือนสุดท้าย (400 วัน)

1.2 ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ)

– ในกรณีที่เลิกจ้างกระทันหัน พนักงานยังมีสิทธิได้รับ “ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือ “ค่าตกใจ” อีก 1-2 เดือน

– บริษัทจะต้องแจ้งเรื่องการเลิกจ้างล่วงหน้าภายใน 1 รอบเงินเดือน เช่น หากจ่ายเงินเดือนทุกวันที่ 30 แล้วแจ้งพนักงานเรื่องเลิกจ้างในวันที่ 30 ของเดือนว่า “พรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานแล้ว” กรณีนี้จะต้องจ่ายค่าตกใจ 1 เดือน

– แต่ถ้าบริษัทยังให้มาทำงานต่อในวันที่ 1 แล้วบอกเลิกจ้างวันนั้น ให้เก็บของออกจากบริษัทเลย จะต้องจ่ายค่าตกใจ 2 เดือน (เริ่มจ้างงานของเดือนใหม่ไปแล้วในวันที่ 1)

1.3 เงินทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากถูกเลิกจ้าง (ประกันสังคม)

– พนักงานยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม โดยจะได้รับเงินทดแทนการว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด ไม่เกิน 15,000 บาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2. สิทธิรับเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย
ส่วน 1: (ส่วนลูกจ้าง) เงินสะสม ( ได้รับทุกรณี และไม่เสียภาษี )
ส่วน 2: (ส่วนลูกจ้าง) ผลประโยชน์เงินสะสม
ส่วน 3: (ส่วนนายจ้าง) เงินสมทบ
ส่วน 4: (ส่วนนายจ้าง) ผลประโยชน์เงินสมทบ
ส่วนที่ 2-4 จะได้รับหรือไม่ ได้รับเต็มจำนวนหรือบางส่วน จะขึ้นกับข้อบังคับแต่ละบริษัท แต่ถ้าหากได้รับ 3 ส่วนนี้ และยังไม่เกษียณอายุ ต้องนำไปคำนวณภาษีด้วย แต่หากถ้าไม่อยากเสียภาษี ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1.คงเงินไว้กับนายจ้างเดิมก่อน (อาจมีค่าคงเงิน) หรือ
ย้ายไปไว้นายจ้างใหม่ (อาจต้องคงเงินกับนายจ้างเดิมระหว่างได้งานใหม่) หรือ
2. ย้ายเงินไปกองทุน RMF

3. สิทธิรับเงิน ประกันสังคม
3.1 กรณีถูกเลิกจ้าง ขอรับเงินทดแทนสูงสุด 7,500 บาท ไม่เกินปีละ 6 เดือน (180 วัน)
3.2 กรณีลาออกขอรับเงินทดแทนสูงสุด 4,500 บาท ไม่เกินปีละ 3 เดือน (90 วัน)

 

ทั้ง 2 กรณีต้องแจ้งประกันสังคมภายใน 30 วันหลังจากออกจากงาน

ถ้าหากยังต้องการอยู่ในประกันสังคมต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ (มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 432 บาท) แต่ต้องชั่งน้ำหนักเรื่องฐานรายได้ที่ใช้คำนวณเงินบำนาญจะลดลงเหลือ 4,800 บาท จาก 15,000 บาท และถ้าต้องการต่อมาตรา 39 ต้องสมัครภายใน 6 เดือนหลังอออกจากงานประจำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮ่องกงรับมอบตัวอย่างดินบนดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ-5
"ศุภมาส" สั่งตั้งกก.อีกชุด สอบข้อเท็จจริง ปมซื้อขายปริญญา ม.พิษณุโลก
พรรคแรงงานอังกฤษชนะเลือกตั้งถล่มทลายตามคาด
"สหรัฐ-อังกฤษ" ลอบเอาคืน ส่งเครื่องบินรบ โจมตีทางอากาศ ถล่ม"เยเมน" 4 ครั้ง
"จิราพร" เดินหน้าแก้ปัญหารถไฟฟ้าลดราคา นัด BYD เคลียร์ตรงผู้บริโภค หลังนายกฯคุยผู้บริหารจากจีน
เตือนอย่ากดลิงก์ แอบอ้างเช็กสิทธิ เงื่อนไข "เงินดิจิทัล" ส่ง SMS แนบรูปนายกฯ
“นิกร” ซัด “ไอติม พริษฐ์” ปมยื่นญัตติด่วน ปรับคำถามประชามติของรัฐบาล ชี้ก้าวก่ายอำนาจฝ่ายบริหาร
"นิพนธ์" เปิดมหกรรมการเงิน หาดใหญ่ ครั้งที่ 14 ชี้โอกาสดีกลุ่มธุรกิจ หารือแหล่งทุน ปชช.เข้าถึงสินเชื่อ ผลบวกขับเคลื่อนศก.ภาคใต้
"หนุ่มใหญ่" ซิ่งรถหรู ชนสนั่น เล่าเหตุวูบไม่รู้ตัว พร้อมชดใช้เต็มที่ ล่าสุดโดน 4 ข้อหาหนัก
เช็กจุด "ตรวจสุขภาพฟรี" 7 ห้างดัง ทั่วกรุง เริ่มวันนี้ ตลอดเดือน ก.ค. 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น