เปิดสถิติพุ่งสูง คนไทย “ป่วยสุขภาพจิต” เพิ่ม ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตคนไทย ป่วยจิตเวช 2.9 ล้านคน มีผู้ไม่ได้รับการรักษาจำนวนมาก ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ปัจจัยทำแนวโน้มพุ่งสูง เผยผลสำรวจคนกรุง 7 ใน 10 หมดไฟทำงาน และสายด่วนกรมสุขภาพจิตกว่าครึ่งปรึกษาเรื่องความเครียด

เปิดสถิติพุ่งสูง คนไทย “ป่วยสุขภาพจิต” เพิ่ม ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม – Top News รายงาน

สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของบุคคล ภัยเงียบวนเวียนภายในใจมนุษย์ ที่รอวันแสดงอาการออกมา เมื่อคนเราแบกรับความเจ็บปวดภายในจิตใจที่แตกสลายไม่ไหว ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตนเองและบุคคลในสังคมรอบข้าง หลายครั้งผลของมันก็นำมาซึ่งความสูญเสียที่น่าใจหาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสภาพปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการยกระดับประสิทธิภาพในการแก้ไขอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน

จากการรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ได้เผยข้อมูลอันน่าตกใจเกี่ยวกับ “ปัญหาสุขภาพจิต ในไตรมาสที่ 1 ของ ปี 2567 พบว่าในประเทศไทย มีผู้ป่วยเข้ารับบริการด้านจิตเวชมากขึ้น จากปี 2558 จำนวน 1.3 ล้านคน เป็น 2.8 ล้านคน ในปี 2562 และ 2.9 ล้านคน ในปี 2566

สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น แต่อาจไม่ได้เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากยังแตกต่างจากสัดส่วนระดับโลกค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสถานการณ์ในรายละเอียดแล้ว พบประเด็นสำคัญ ดังนี้

โรคซึมเศร้า ส่งผลให้วัยทำงานหายไป 12 พันล้านวัน

ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตยังมีสัดส่วนสูง จากการประเมินสุขภาพจิตตนเอง กรมสุขภาพจิต (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค.2566- 22 เม.ย.2567) พบว่า ปี 2567 มีผู้เข้ารับการประเมิน 8.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 โดยผู้เข้ารับการประเมิน จะมีอัตราความเครียดสูง ร้อยละ 15.4 ,เสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 17.2 ,เสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 10.6

ปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดคิด พบว่า ภาวะซึมเศร้า บวกกับความวิตกกังวลของประชากรทั่วโลก ทำให้วัยทำงานหายไป ประมาณ 12 พันล้านวัน สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ  เกือบ 1 ใน 5 ของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตไม่สามารถดูแลตนเองได้ ทำให้ครัวเรือนต้องจัดหาผู้ดูแล และเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง แต่ไม่ถึง 1 ใน 4 ที่ได้รับการติดตามดูแล และเฝ้าระวังแนวทางที่กำหนด โดยในปี 2566 มีเพียง ร้อยละ 23.34 จากทั้งหมด 27,737 คน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รุนแรงกว่าผู้ป่วยติดยาเสพติด

ผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า มีสัดส่วนสูงสุด 2 อันดับแรก สูงกว่าผู้ป่วยติดยาบ้า หรือยาเสพติดอื่นๆ ร่วมกัน การฆ่าตัวตายสูงใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง พบผู้ฆ่าตัวตายจำนวน 5,172 คน เท่ากับ 7.94 ต่อประชากรแสนคน ใกล้เคียงกับสถิติช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง 8.59 ต่อประชากรแสนคน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตภายใน จากการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า สภาวะโลกร้อนและฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ซึ่งไทยกำลังประสบปัญหา PM2.5 อันดับต้นๆ ของโลก

 

เด็กและเยาวชน” เครียด-ซึมเศร้าจากการเรียน ความคาดหวังในอนาคต

ทั้งนี้ หากพิจารณาตามช่วงวัย จะพบสาเหตุของปัญหาที่น่าสนใจแตกต่างกัน คือ ในกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน จะมีปัญหาสุขภาพจิตในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเครียด พบว่า ปี 2567 (ม.ค.-มี.ค.2567 ) พบผู้ป่วยมีความเครียดเพิ่มขึ้นจากปี 2566  โดยในปี 2567 พบวัยเด็กและเยาวชน มีภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.7 และภาวะเครียดสูง ร้อยละ 18.3 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดสูง

  • กลุ่มอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 38.4 และอายุ 19-22 ปี ร้อยละ 60.9 เครียดด้านการเรียนและความคาดหวังถึงงาน ในอนาคตมากที่สุด
  • กลุ่มอายุ 23-25 ปี  ร้อยละ 67.1 เครียดด้านการเงินของครอบครัว และร้อยละ 66.1 เครียดการเรียนและการทำงาน

 

นอกจากนั้นในกลุ่มนี้ ยังมีภาวะการกลั่นแกล้ง ที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 44.3 เคยถูกกลั่นแกล้ง โดยเกิดขึ้นภายในโรงเรียนมากถึง ร้อยละ 86.9 ส่งผลกระทบให้เกิดความเครียด ความรู้สึกอับอาย มีความมั่นใจในตนเองต่ำลง จนกระทั่งซึมเศร้า

 

วัยทำงาน ความรับผิดชอบสูง และหลายปัญหารุมเร้า 

วัยทำงานมีสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตหลายปัจจัย ทั้งความเครียด จากการทำงาน การติดสุรา การใช้สารเสพติด และปัญหาจากการดำรงชีพ โดยปัจจัยสำคัญอาจทำให้เผชิญปัญหาสุขภาพจิต คือ

  • การทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการทำงาน
  • การใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของแต่ละวันไปกับการทำงาน

กรุงเทพฯจัดอยู่ในอันดับที่ 5 จาก 100 เมืองของประเทศทั่วโลก ที่มีผู้คนทำงานหนักเกินไปและมีพนักงานประจำกว่า ร้อยละ 15.10 ทำงานล่วงเวลามากกว่า 48 ชั่วโมง/สัปดาห์

 

คนกรุงเทพฯ 7 ใน10 มีอาการหมดไฟในการทำงาน 

การทำงานหนัก ส่งผลให้เกิดปัญหาความเครียด ซึมเศร้า และหมดไฟในการทำงานได้ง่าย

ในปี 2566 วัยแรงงานขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวลไม่มีความสุขในการทำงานจำนวนมากถึง 5,989 สาย จาก 8,009 สาย ซึ่งหากภาวะเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง จะทำให้ปัญหาสุขภาพร่างกายรุนแรงมากขึ้น

 

ผู้สูงอายุ เหงาและโดดเดี่ยว สูญเสียคุณค่าในตนเอง 

การขาดกิจกรรมและการอยู่คนเดียว พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 84.93 มีความสุขในระดับที่ดี แต่ความสุขจะลดน้อยลงตามวัน ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียว มีสูงถึง ร้อยละ 28.1 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดกิจกรรมและบทบาททางสังคม โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เลย ถึงร้อยละ 49.0 ของผู้สูงอายุทั้งหมด

อีกทั้ง มีผู้สูงอายุจำนวนมากมีภาวะความจำเสื่อม และมีปัญหาสุขภาพจิตด้านอื่นๆ ร่วมด้วย โดยผู้สูงอายุ 8 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 10.2 ต่อประชากรแสนคน ต้องใช้ชีวิตอยู่กับภาวะความจำเสื่อม ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 90.0 มีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ร่วมด้วย

ทั้งนี้ แม้ผู้สูงอายุจะมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายเพียง 14.42 ต่อ ประชากรแสนคน แต่กลับพบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าช่วงวัยอื่นอยู่ที่ 9.47 คนต่อประชากรแสนคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อดิศร" ร่ายกลอนขอบคุณ "ชาวอุดรฯ" ที่เลือก "ศราวุธ" นั่งนายก อบจ.อุดรธานี
"THG" ร่อนเอกสารแจง ยันไม่เกี่ยวข้องกับ “หมอบุญ” หลอกลงทุน
ทหารผวา! "หนุ่มชาวจีน" พลัดตกบ่อน้ำกลางป่า 3 วัน แนวชายแดนแม่สอด ร้องโหยหวน ขอช่วยเหลือ 
รัสเซียเปิดคลิปหนุ่มอังกฤษถูกจับในคูสค์
เร่งช่วย "39 ชีวิต ชาวต่างชาติ" หนีตายข้ามน้ำเมยเข้าฝั่งไทย หลังถูกแก๊งจีนเทาหลอกทำงาน
"ศราวุธ" ชี้ "ชัยธวัช" ต้องรับผิดชอบ พาดพิงภรรยาเอี่ยวยาเสพติด มองเป็นเรื่องร้ายแรง
"หวยเดือนธันวาคม 2567 ออกวันไหน" เช็กวัน หวยเลื่อนออก 2 งวด
ด่วน! ออกหมายจับ "สามารถ" คดีฟอกเงิน "ดีเอสไอ" ค้นบ้าน คุมตัวแม่สอบปากคำ
บรรยากาศสุดฟิน จุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้น ที่ภูค้อ เมืองนาแห้ว
"กระทรวงแรงงาน" เร่งผลักดันกม.คุ้มครองแรงงานอิสระทุกอาชีพ ตั้งเป้าขึ้นทะเบียนปีแรก 9 ล้านคน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น