-บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ปัจจุบัน ทรู มูฟ เอช) ตรวจพบสายที่ไม่ถูกต้อง 78.982 ล้านบาท ตรวจสอบแล้วยืนยันพบสายที่ไม่ถูกต้อง 61.310 ล้านบาท กฟภ.ตั้งหนี้ในระบบ 24.634 ล้านบาท บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต ชำระเงินแล้ว 24.614 ล้านบาท กฟภ.ส่งข้อมูลดำเนินคดี 19 คดี ศาลพิพากษาแล้ว 1 คดี ถอนฟ้อง 2 คดี
-บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ตรวจพบสายที่ไม่ถูกต้อง 65.391 ล้านบาท ตรวจสอบแล้วยืนยันพบสายที่ไม่ถูกต้อง 26.858 ล้านบาท กฟภ.ตั้งหนี้ในระบบ 11.324 ล้านบาท บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ ชำระเงินแล้ว 10.976 ล้านบาท กฟภ.ส่งข้อมูลดำเนินคดี 8 คดี ศาลพิพากษาแล้ว 2 คดี
-บริษัท ซิมโฟนี คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตรวจพบสายที่ไม่ถูกต้อง 32.472 ล้านบาท ตรวจสอบแล้วยืนยันพบสายที่ไม่ถูกต้อง 4.930 ล้านบาท กฟภ.ตั้งหนี้ในระบบ 0.538 ล้านบาท บริษัท ซิมโฟนี ชำระเงินแล้ว 0.538 ล้านบาท กฟภ.ส่งข้อมูลดำเนินคดี 4 คดี
-บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด ตรวจพบสายที่ไม่ถูกต้อง 0.318 ล้านบาท ตรวจสอบแล้วยืนยันการตรวจพบสายที่ไม่ถูกต้อง 0.318 ล้านบาท กฟภ.ตั้งหนี้ในระบบ 0.318 ล้านบาท บริษัท จัสเทล ชำระหนี้แล้ว 0.318 ล้านบาท
-บริษัท สมาร์ท อินฟราเนท จำกัด ตรวจพบสายที่ไม่ถูกต้อง 0.002 ล้านบาท อยู่ระหว่างการตรวจสอบ 0.002 ล้านบาท
รวมแล้ว กฟภ.ตรวจพบการพาดสายสื่อสารผิดกฎหมาย รวม 18,881.136 ล้านบาท ตรวจสอบแล้วยืนยันพบสายที่ไม่ถูกต้อง 6,405.666 ล้านบาท กฟภ.ตั้งหนี้ในระบบ 1,348.497 ล้านบาท เอกชนชำระเงินแล้ว 952.318 ล้านบาท
สำหรับระเบียบและหลักเกณฑ์การพาดสายหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารของ กฟภ. นั้น มีหลักเกณ์สำคัญ เช่น
-ห้ามผู้ขออนุญาตดำเนินการพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าของ กฟภ.จนกว่าจะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กฟภ.
-ผู้ขออนุญาตต้องทำหนังสือขออนุญาต กฟภ.โดยหนังสือขออนุญาตต้องมีรายละเอียดต่างๆ อาทิ
1.เอกสารประกอบคำร้อง ตามที่ กฟภ.กำหนด
2.แผนผังเส้นทางการขออนุญาต บันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีตำแหน่งเสาไฟฟ้าของ กฟภ.ทุกต้น ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่จะทำการพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร พร้อมระบุพิกัดต้นทางและปลายทาง
3.จำนวนเสาที่จะพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร ฯลฯ
-ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ผู้ขออนุญาตต้องชำระค่าปรับในอัตราตามที่ กฟภ.กำหนด
-ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตทำการพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเกินกว่าที่ใด้รับอนุญาตจาก กฟภ. ผู้ขออนุญาตต้องชำระค่าปรับในอัตรา
ตามที่ กฟภ.กำหนด โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่วันที่ทำการพาดสายจนถึงวันรื้อถอนเสร็จสิ้น และต้องชำระค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน
-การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กฟภ.สงวนสิทธิ์ในการรื้อถอน โดยผู้ขออนุญาตต้องชำระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมด
-การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารบนเสาไฟฟ้าของ กฟภ.ก่อนได้รับอนุญาต เป็นการละเมิด กฟภ.จะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำการละเมิด โดยสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดตามอัตราที่กำหนด พร้อมดอกเบี้ย และแจ้งให้ทำการรื้อถอนสายและหรืออุปกรณ์สื่อสารดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ กฟภ.กำหนด
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่ายังมีเอกชนหรือแม้แต่รัฐวิสาหกิจ ยังค้างชำระเงินกับกฟภ.อยู่อีกเป็นจำนวนมหาศาล แต่ยังสามาถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทำให้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเอาเปรียบประชาชนหรือไม่ เพราะหากเปรียบเทียบกับประชาชนบางคนที่ค้างจ่ายค่าไฟเดือนสองเดือนก็ถูก กฟภ.ตัดไฟและถอดมิเตอร์แล้ว จึงหนีไม่พ้นที่ กฟภ.จะถูกตั้งคำถามในการทำหน้าที่ทั้งการไม่ตัดสายสื่อสารที่ค้างชำระและไม่เก็บหนี้ อย่างไรก็ดีล่าสุดนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่กำกับดูแล กฟภ. ได้สั่งการให้ กฟภ.ดำเนินการตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดในเรื่องนี้