“อ.เจษฏา” เตือนระวัง “เห็ดพิษ” ดูให้ดีก่อนกิน เก็บเห็ดป่า หน้าฝนต้องระวัง

เก็บเห็ดป่าหน้าฝนต้องระวัง! เพราะอาจเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการเก็บเห็ดพิษบางชนิดที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายเห็ดกินได้

“อ.เจษฏา” เตือนระวัง “เห็ดพิษ” ดูให้ดีก่อนกิน เก็บเห็ดป่า หน้าฝนต้องระวัง – Top News รายงาน 

เห็ดป่า
เห็ดป่าจัดเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหลายภูมิภาคของประเทศไทย ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูเห็ดหลาก ชาวบ้านนิยมเข้าไปเก็บเห็ดป่าเพื่อนำมาประกอบอาหารรับประทาน และขายในตลาดท้องถิ่น ส่งผลให้สถานการณ์อาหารเป็นพิษ และผู้คนได้รับอันตรายจากการรับประทานเห็ดพิษในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
 อ.เจษฏา
วันนี้ 5 มิถุนายน 2567 อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant  โดยระบุว่า… เพิ่งโพสต์เตือนเรื่องให้ระวัง “เห็ดระโงกพิษ” ไปเมื่อวันก่อน … วันนี้ก็มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่จังหวัดเลย จากการกินเห็ดระโงกพิษเข้าไปอีกแล้ว..  ถ้าเจอใครที่น่าจะได้รับพิษจากเห็ด ให้พยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน โดยการล้วงคอ หรือให้ทานไข่ขาว จากนั้น รีบพาส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดครับ
วิธีการสังเกตเห็ดระโงกพิษ มาให้อ่านกันอีกครั้ง
“หากสังเกตเบื้องต้นจะพบว่า เห็ดระโงกพิษ มีหมวกขาวล้วน ทั้งแก่และอ่อน มีปุยเล็กน้อย ไม่เรียบมัน ก้านกลวงบ้าง ตันบ้าง    ส่วน เห็ดระโงกขาว กลางหมวกมีสีเหลืองเล็กน้อยตอนอ่อน ตอนแก่มีสีเหลืองมากขึ้น หมวกเรียบมัน ไม่มีปุย ก้านตัน   หากแต่ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคเห็ดระโงกขาวในช่วงดอกเห็ดบานแล้ว แต่จะนิยมเก็บช่วงเห็ดอ่อน ซึ่งมีลักษณะดอกเห็ดตูมคล้ายไข่ กลมรี ยากต่อการจำแนก   จากงานวิจัยพบวิธีจำแนกเบื้องต้นว่า หากจะเก็บเห็ดระโงกช่วงเห็ดอ่อน ต้องนำมาผ่าเพื่อดูชั้นผิวด้านใน ถ้าผ่าเห็ดตูมแล้วเห็น “สีเหลือง” อยู่ที่เปลือกชั้นที่ 2 จากด้านบนคือ “เห็ดระโงกขาวกินได้”
แต่หากผ่าแล้วเห็นเป็น “สีขาวล้วน” คือ “เห็ดระโงกพิษ” แน่นอน ฉะนั้นต้องผ่าเห็ดทุกครั้งก่อนเก็บหรือต้ม
ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเก็บเห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดระโงก หรือเห็ดระงาก ขณะที่ยังเป็น “ดอกอ่อน” ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่ มารับประทาน เนื่องจากจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า เป็นเห็ดมีพิษหรือไม่มีพิษ เพราะลักษณะดอกตูมภายนอก จะเหมือนกัน”

ข่าวที่น่าสนใจ

จากข่าวหมอเตือน กินเห็ดพิษ เลยประเดิมตายรายแรกของปี หนุ่มใหญ่วัย 45 ชาวภูเรือ นำเห็ดระโงก 5 ดอกมาย่างกินแล้วปรากฎว่า เกิดอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน สุดท้ายเสียชีวิต
วันที่ 4 มิ.ย.2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน เกิดเหตุชาวบ้านเป็นชาย อายุ 45 ปี ชาวอ.ภูเรือ จ.เลย นำเห็ดระโงก 5 ดอกมาย่างกินแล้วปรากฎว่า เกิดอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนถูกนำตัวส่งรพ.ภูเรือ แต่อาการสาหัสมากถูกส่งต่อมารักษาที่รพ.เลย ก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมาซึ่งเป็นรายแรกในรอบปี 2567
โดยเรื่องนี้ พญ.รัศมีแข จงธรรม์ แพทย์อายุรกรรรม รพ.เลย เปิดเผยว่า ช่วงนี้สภาพอากาศเป็นใจกับการเกิดผลผลิตทางธรรมชาติที่เป็นที่ต้องการของชาวบ้านอย่าง เห็ดป่า ซึ่งการเก็บเห็ดป่าหน้าฝนต้องระวัง เพราะอาจเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการเก็บเห็ดพิษบางชนิดที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายเห็ดกินได้
สถานการณ์จ.เลย ตอนนี้ผู้ป่วยที่มารักษาอาการด้วยเห็ดพิษเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน รวมทั้งผู้ป่วยที่ส่งตัวมาจากพื้นที่อำเภอโดยรอบในจ.เลย ขณะนี้ 9 ราย และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก อยากฝากเตือนประชาชนที่เก็บป่าต้องตรวจสอบเห็ดให้ดี ซึ่งชนิดของเห็ดพิษในประเทศไทยมีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่สำคัญในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
  • กลุ่มที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ เช่น เห็ดระโงกหิน หลังรับประทานเห็ดพิษกลุ่มนี้จะไม่มีอาการในตอนแรก แต่จะเริ่มมีอาการเมื่อผ่านไปแล้ว 4-6 ชั่วโมงเป็นต้นไป อาการเริ่มต้นคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางรายอาจมีอาการเกิดขึ้นช้ามากกว่า 10 ชั่วโมงหรือข้ามวันไปแล้ว หลังจากมีอาการผ่านไป 2-3 วัน การทำงานของตับจะเริ่มแย่ลง เอนไซม์ตับสูงขึ้น มีภาวะตับอักเสบ หากรุนแรงอาจเกิดตับวายและเสียชีวิตได้
  • กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น เห็ดเหลืองนกขมิ้น เห็ดถ่าน อาการเริ่มต้นคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย โดยจะมีอาการเร็วภายใน 6 ชั่วโมงหลังรับประทาน จากนั้นจะมีอาการของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย รวมถึงปัสสาวะมีสีดำหรือสีโค้ก เนื่องจากมีของเสียในกล้ามเนื้อรั่วออกมาปนอยู่ในปัสสาวะ ในรายที่รุนแรงจะมีเกลือโพแทสเซียมที่รั่วออกมาจากกล้ามเนื้อมากจนมีหัวใจเต้นผิดจังหวะเสียชีวิตได้ นอกจากยังมีสารมัยโอโกลบินในกล้ามเนื้อรัวออกมาทำให้เกิดไตวายร่วมด้วย
  • กลุ่มที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดหัวกรวดครีบเขียว กลุ่มที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร หลังรับประทานเกิดความผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย โดยจะมีอาการเร็วภายใน 6 ชั่วโมงหลังรับประทาน พิษจากเห็ดกลุ่มนี้จะไม่รบกวนอวัยวะในระบบอื่น ผู้ที่มีอาการรุนแรงสามารถเสียชีวิตได้เหมือนกับอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษที่รุนแรง ทำให้ขาดน้ำรุนแรง เกิดภาวะช็อคหรือความดันตกและเสียชีวิตได้
พญ.รัศมีแข กล่าวต่อว่า การรักษาเมื่อรับประทานเห็ดพิษ หากเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หลังรับประทานเห็ดที่ไม่ได้ซื้อ จากแหล่งที่เชื่อถือได้นานกว่า 6 ชั่วโมงต้องระวังว่าเป็นเห็ดที่จะทำให้มีตับอักเสบควรรีบไปพบแพทย์ แต่ถ้าหากเพิ่งรับประทานเห็ดไปไม่เกิน 6 ชั่วโมงแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาจรักษาตัวเองเหมือนอาการอาหารเป็นพิษก่อนได้ แต่ถ้าหากอาการรุนแรง เช่น รับประทานไม่ไหว ดื่มน้ำเกลือแร่ไม่ไหว ปัสสาวะมีสีเข้มหรือสีโค้ก ท้องเสียมาก อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์
วิธีการเบื้องต้น ได้รับพิษจากเห็ดซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่าเป็นเห็ดชนิดใด หรือได้รับพิษจากสารชีวพิษกลุ่มใดพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยการล้วงคอ หรือให้ทานไข่ขาว จากนั้นรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อปี 2566 มีชาวบ้านหมันขาว ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย พากันเข้าไปเก็บเห็ดใกล้กับภูลมโล แล้วนำมาประกอบอาหารรับประทานกัน แล้วมีอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน นำส่งโรงพยาบาล 9 ราย และเสียชีวิตต่อมาที่รพ.เลย 1 ราย เนื่องจากตับและไตวายเฉียบพลัน…

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น