สกู๊ปพิเศษจีน เยือนถิ่นมรดกทางวัฒนธรรม ต้นกำเนิดไหมจี๋หลี่

ขณะที่จีนเป็นศูนย์กลางการผลิตผ้าไหมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก หมู่บ้านจี๋หลี่ แห่งเมืองหูโจวก็เป็นแหล่งกำเนิดเส้นไหมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ไหมจี๋หลี่นั้นขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดีพรีเมี่ยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน

ชื่อเสียงของไหมจี๋หลี่ย้อนกลับไปมากกว่า 750 ปีที่แล้วตั้งแต่ปลายราชวงศ์หยวน ซึ่งเป็นยุคที่หมู่บ้านจี๋หลี่เพิ่งก่อตั้ง จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นที่มาของชื่อ “ไหมจี๋หลี่”นับแต่นั้นเป็นต้นมา ซินหัวและไชน่าเดลี่ย์ รายงานว่าไหมจี๋หลี่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างไปจากไหมที่ผลิตในหมู่บ้านอื่นตรงที่ใยไหมมีความเหนียวนุ่ม เนื้อละเอียด ทอออกมาแล้วมีสีขาวมันวาว

ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ไหมจี๋หลี่ได้ถูกเลือกให้นำไปใช้ทอชุดฉลองพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิในสมัยราชวงศ์หมิง ทำให้ไหมจี๋หลี่เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในปี 2394 พ่อค้าจีนที่นครเซี่ยงไฮ้ได้นำไหมจี๋หลี่ไปร่วมแสดงที่งานเวิร์ลด์เอ็กซ์โป (World Expo) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน ปรากฎว่าไหมจี๋หลี่ชนะรางวัลสูงสุดถึง 2 รางวัล กลายเป็นที่รู้จักในระดับสากลเป็นครั้งแรก และในปี 2554 ไหมจี๋หลี่ได้รับการบรรจุในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน ตรงที่มีเทคนิคการผลิตไม่เหมือนใคร โดยอุปกรณ์ที่ใช้สาวไหมที่หมู่บ้านจี๋หลี่แห่งนี้มีการออกแบบเป็นพิเศษ และมีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ระหว่างสมาชิกหญิงในครอบครัว

วันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา (2567) นายหวาง อีชื่อ เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมวัย 67 ปีได้นำคณะผู้แทนจากหลายภาคส่วนของไทย รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ Top News ในฐานะแขกของกระทรวงต่างประเทศจีนชมหมู่บ้านจี๋หลี่อันเก่าแก่ รวมทั้งโรงเลี้ยงหนอนไหม ศูนย์สาธิตการทอไหมด้วยมือและเครื่องสาวไหมทำด้วยไม้แบบดั้งเดิม ตลอดจนพิพิธภัณฑ์ไหมจี๋หลี่ ซึ่งถือเป็นไฮไลท์และผลงานชิ้นโบว์แดงที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของลุงหวาง

ลุงหวางลงทุนก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ไหมจี๋หลี่ เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงสิ่งของและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆที่เกี่ยวกับไหมจี๋หลี่กว่า 300 ชิ้น ซึ่งของจัดแสดงเหล่านี้ ลุงหวางได้ใช้เวลารวบรวม, สะสมและเสาะหามานานหลายปี ก่อนที่จะเปิดให้สาธารณชนและนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเป็นครั้งแรกในปี 2561 โดยไม่เก็บค่าเข้าชมแต่อย่างใด หวังเพียงอนุรักษ์และสืบทอดวิธีการสาวไหมโบราณแห่งหมู่บ้านจี๋หลี่ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลาเท่านั้น

และด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุบัน ช่วยให้เกษตรกรแห่งหมู่บ้านจี๋หลี่สามารถเพาะพันธุ์หนอนไหมที่ผลิตใยไหมออกมาได้หลายหลากสี มีทั้งเหลืองอ่อน, เหลืองทองและชมพูอ่อน ซึ่งเป็นสีธรรมชาติที่ไม่ต้องย้อม

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อรรถวิชช์-พงศ์พล-ฐิติภัสร์” พร้อมใจโพสต์ปกป้อง “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา “พีระพัง” ลั่นพร้อมพังทุกรูปแบบการโกงกิน
"การรถไฟฯ" ออกแถลงการณ์ ยันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ "ที่ดินเขากระโดง" เดินหน้าทวงคืนตามกม. ไม่ใช่ละเมิดสิทธิปชช.
‘อี้ แทนคุณ’ พาเหยื่อร้องปคม. ถูกหลอกข้ามแดนลวงเปิดบัญชีม้า หลังพบมีหมาย 450 คดี
คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 รถไฟฟ้าบีทีเอส - สายสีทอง ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2
“เพื่อไทย” จัดเต็ม ชาวเชียงใหม่เรือนหมื่นแห่ฟัง “ทักษิณ” สว.ก๊องมั่นใจ พ่อใหญ่แม้วช่วยหาเสียงชนะแน่
ชาวบ้านทรุดก้มกราบ “ทักษิณ” ขอปรึกษาปัญหาชีวิต การ์ดรีบยกตัวออก
เกมแล้ว! หนุ่มแต่งรถประดับไฟสี ธีมคริสต์มาส ขับเฉิดฉายทั่วถนน ปรับฉ่ำๆ 2 ข้อหา
แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด
ตร.ไซเบอร์ ขยายผลตามรวบ "ผู้จัดหาบัญชีม้า" แก๊งลวง "ชาล็อต" กว่า 4 ล้านบาท
“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น