“กรมศิลป์” แจงข้อเท็จจริง งานบูรณะรูปปั้นยักษ์ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

"กรมศิลป์" แจงข้อเท็จจริง งานบูรณะรูปปั้นยักษ์ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

จากกรณี ดร.สุรชัย จงจิตงาม อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ นำภาพถ่ายในอดีตของรูปปั้นยักษ์โบราณอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี ที่ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นสู่อุโมงค์ของวัด ซึ่งในปัจจุบันถูกบูรณะโบกปูนทับใหม่ ทำให้ของโบราณกลายเป็นของใหม่อย่างน่าเสียดาย พร้อมเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ตัดสินใจทำการบูรณะยักษ์ทั้งสององค์ออกมาแสดงความรับผิดชอบจนเกิดกระแสดรามาอย่างต่อเนื่องช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ขณะที่เจ้าอาวาสวัด กล่าวว่าเป็นการบูรณะของสำนักศิลปากรที่ 7 เนื่องจากรูปปั้นทั้งสององค์ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ

 

กรมศิลป์ แจงข้อเท็จจริง งานบูรณะรูปปั้นยักษ์ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

 

 

 

ล่าสุดวันนี้ (10 มิ.ย.67) นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า การบูรณะประติมากรรมปูนปั้นรูปยักษ์เฝ้ารักษาประตูทางเข้าสู่พระธาตุวัดอุโมงค์ บริเวณเชิงบันไดด้านทิศตะวันออกของทางเข้าพระธาตุวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม 2566 โดยประติมากรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานวัดอุโมงค์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ยังมีการใช้ประโยชน์ในการประกอบศาสนกิจ มีพระภิกษุจำพรรษา มีผู้มาแสวงบุญและมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง

สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เสนอแนวคิดในการบูรณะเป็นสองแนวทาง ได้แก่ แนวคิดที่ 1 บูรณะโดยการอนุรักษ์และรักษาสภาพของยักษ์ทั้ง 2 ตนไว้ โดยการทำความสะอาด เสริมความมั่นคง และรักษาสภาพดั้งเดิมไว้ ไม่มีการต่อเติมประติมากรรมที่ชำรุดให้สมบูรณ์ แต่เมื่อประเมินสภาพประติมากรรมที่ชำรุดอย่างมากการอนุรักษ์ตามแนวทางนี้ อาจจะรักษาประติมากรรมดังกล่าวได้เพียงระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง หากในอนาคตที่มีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น ฝนตกหนัก แผ่นดินไหว ขาดการดูแลรักษาปล่อยให้วัชพืชขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดการชำรุด และอาจพังทลายลง

 

กรมศิลป์ แจงข้อเท็จจริง งานบูรณะรูปปั้นยักษ์ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

 

 

 

 

ส่วนแนวคิดที่ 2 บูรณะโดยการฟื้นคืนสภาพ และรูปแบบดั้งเดิมของประติมากรรมรูปยักษ์ เมื่อพิจารณาสภาพก่อนการบูรณะ ซึ่งมีหลักฐานทางศิลปกรรมหลงเหลืออยู่มากกว่า 80% ประกอบกับการวิเคราะห์การเสื่อมสภาพของวัสดุเดิม สภาพแวดล้อมโดยรอบ ปัจจัยความเสี่ยงอื่นในอนาคตที่จะเร่งให้เกิดความเสียหาย การใช้ประโยชน์ของโบราณสถานในปัจจุบัน คติความเชื่อ อีกทั้งที่ผ่านมากรมศิลปากรมีการเลือกแนวทางการบูรณะแบบฟื้นคืนสภาพนี้มาแล้วหลายแห่ง เช่น องค์พระมงคลบพิตร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา / องค์พระอจนะ วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย จึงพิจารณาเลือกดำเนินการบูรณะในแนวคิดที่ 2

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยวิธีการอนุรักษ์ประติมากรรมยักษ์ 2 ตน โดยการฟื้นคืนสภาพ ได้ดำเนินการตามหลักการอนุรักษ์โดยล้างทำความสะอาดคราบเชื้อรา ตะไคร่น้ำ และวัชพืชออก ผนึกปูนปั้นเดิมด้วยการไล้ผิวด้วยน้ำปูน จากนั้นไล้ผิวด้วยปูนหมักเพื่อให้ผิวประติมากรรมที่มีรอยร้าวผสานเข้ากับปูนปั้นที่ใช้ในการบูรณะ โดยให้คงชั้นความหนาของปูนปั้นเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้ขนาดของประติมากรรมหลังจากการบูรณะไม่เปลี่ยนแปลงไป และวิธีการนี้ยังช่วยป้องกันน้ำฝนที่จะซึมเข้าสู่ภายในองค์ยักษ์ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ ได้ปั้นปูนใหม่เสริมในส่วนที่ขาดหาย เสริมโครงสร้างใหม่ (แขน) เชื่อมต่อโครงสร้างเดิม และปั้นปูนตกแต่งตามล้อตามลวดลายเดิมที่ปรากฏอยู่ (บริเวณใบหน้า , หู , ปาก ฯลฯ) และตกแต่งผิวให้เรียบ ส่วนกระบอง ไม่พบหลักฐานที่แตกหัก หรือตกหล่นอยู่บริเวณนี้ จึงออกแบบให้เป็นกระบองแบบผิวเรียบ (มีเกลียวเล็กน้อย) และขนาดตามสัดส่วนของรูปยักษ์

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้หารือแนวทางการบูรณะกับทางจังหวัดก่อนที่จะดำเนินการ โดยปฏิบัติตามมาตรฐานการบูรณะประติมากรรม มีการสำรวจตรวจสภาพโบราณสถาน ลักษณะความเสียหาย ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม ปัจจัยองค์ประกอบที่เร่งในการชำรุดเสียหายของโบราณสถาน ศึกษาเปรียบเทียบวิเคราะห์ศิลปกรรมที่มีอยู่ หรือสร้างอยู่ในยุคเดียวกัน

 

 

 

อีกทั้งประเมินแนวคิด ความเสี่ยง ความคุ้มค่า การบริหารจัดการในอนาคต มีการศึกษารูปแบบศิลปกรรมเดิม และคัดเลือกช่างท้องถิ่นที่เป็นช่างฝีมือที่เหมาะสมเข้ามาดำเนินการบูรณะ ซึ่งการบูรณะในครั้งนี้ ได้ให้หอจดหมายเหตุเชียงใหม่เข้าบันทึกภาพ และขั้นตอนต่างๆ ไว้เป็นหลักฐาน สำหรับเป็นข้อมูลในการศึกษา และการบูรณะที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

 

กรมศิลป์ แจงข้อเท็จจริง งานบูรณะรูปปั้นยักษ์

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. ปักหมุด ยลวิถีตาลบ้านถ้ำรงค์เมืองเพชร เปิดสุดยอดชุมชนต้นแบบ "เที่ยวชุมชน ยลวิถี"
แห่ชื่นชม ขบวนพาเหรดดอกไม้ไทย ร่วมงาน Bloemencorso 2025 เนเธอร์แลนด์
"ชัชชาติ" ยืนยันยอดผู้เสียชีวิต "ตึกสตง. ถล่ม 35 ราย เร่งค้นหาอีก 59 ผู้สูญหาย
"กรมบัญชีกลาง" แจงปมถูกกล่าวอ้างชนะโครงการ "ตึกสตง." เพราะรู้ราคาประมูล ไม่เป็นความจริง ย้ำมีการเข้ารหัส 2 ชั้น เก็บข้อมูลในบล็อกเชน
สุดยิ่งใหญ่! สวนนงนุชพัทยานำทีมไทยร่วมโชว์ขบวนพาเหรดดอกไม้ งาน Bloemencorso Bollenstreek ที่เนเธอร์แลนด์ นักท่องเที่ยวแห่ถ่ายรูปคึกคัก
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชวนเที่ยวสงกรานต์ ต้อนรับปีใหม่ไทย ร่วมสืบสานประเพณีในธีมงานวัดและชมความน่ารักของสัตว์นานาชนิด
"คนกรุงฯ" เห็นใจเอกชนแบกภาระค่าใช้จ่าย ฝากกทม.เร่งจ่ายหนี้ กังวลถ้ารถไฟฟ้าสีเขียวหยุดวิ่ง กระทบชีวิตหนักแน่
"DSI" อัปเดต คดีนอมินีจีนสร้างตึกสตง.ถล่ม ลุยต่อตรวจสอบเส้นทางเงิน-เลี่ยงภาษี
สถานีขนส่งอุทัยฯคึกคัก ปชช.แห่ซื้อตั๋วเดินทางกลับภูมิลำเนา รถทัวร์-รถตู้ ถูกจองเต็มเกือบทุกเที่ยว
จนท.เตรียมเจาะแผ่นปูนเชื่อมฐาน ”ตึกสตง.“ จุดพบแสงมือถือ ยังมีความหวังเจอผู้รอดชีวิต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น