“วราวุธ” ขอความร่วมมือปชช. หยุดให้เงินตัดวงจร “ขอทาน” เร่งเอาผิดดำเนินคดีทั้งกระบวนการ

“วราวุธ” ขอความร่วมมือปชช. หยุดให้เงินตัดวงจร “ขอทาน” เร่งเอาผิดดำเนินคดีทั้งกระบวนการ

“วราวุธ” ขอความร่วมมือปชช. หยุดให้เงินตัดวงจร “ขอทาน” เร่งเอาผิดดำเนินคดีทั้งกระบวนการ  Top News รายงาน 

 

ขอทาน

 

11 มิ.ย.2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. เปิดเผยถึงมาตราการดูแลขอทานว่า ในช่วงที่ผ่านมา พม. ได้ทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร ที่ได้ร่วมกับตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร  ได้มีการออกตรวจตราเดือนละประมาณ 5  ครั้ง ในการดำเนินการกับผู้ที่เป็นขอทาน ซึ่งหากพิสูจน์แล้วว่าเป็นชาวต่างชาติ จะส่งตัวกลับภูมิลำเนาเดิม และหากพบว่า เป็นคนไทยส่งไปยังสถานที่ดูแลบุคคลไร้ที่พึ่ง ของกระทรวงพม.  เพื่อฝึกวิชาชีพ และสนับสนุนในการหางานทำอีกด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในเหตุผลที่พม. ได้มีการสอบถามขอทานที่เข้าสู่ระบบ และกลับมาเป็นขอทานใหม่ ก็จะมีการดำเนินคดี และอาจจะถึงขั้นติดคุกได้
นายวราวุธ กล่าวว่า สาเหตุใหญ่ที่ขอทานได้กลับมาขอทานอีกครั้ง มี 2 ประเด็น คือ 1. ค่าปรับจากการถูก ดำเนินคดีน้อยกว่ารายได้ที่ได้รับ  2. ขอทานมีรายได้ดี โดยต้องถามว่า การที่ขอทานมีรายได้ดี จนกระทั่งทำให้ ค่าปรับที่กฏหมายกำหนดเอาไว้ ดูแล้วคุ้มกับการกลับมาเป็นขอทานอีกครั้งเนื่องจากรายได้ที่ดี ซึ่งรายได้ของขอทานมาจากนักท่องเที่ยว คนทั่วไป เพราะสังคมของเรา เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทร และมีความสงสาร
“ ขอทานในรูปแบบใหม่จะมาจากการใช้เด็ก หรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งหากพบว่ามีการใช้เด็กมาขอทาน  เบื้องต้นจะทำการพิสูจน์ว่า เด็กและ ผู้ใหญ่ที่มาขอทานเป็นญาติกันหรือไม่ หากตรวจพบว่าไม่ใช่ญาติก็จะมีการดำเนินคดีต่อไป”  นายวราวุธ กล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายวราวุธ ระบุว่า จากการดำเนินการจับกุมขอทานตลอดระยะเวลา 10 ที่ผ่านมา (2557-2567) พม. มีการจับกุมขอทานมาแล้วเกือบ 8 พันราย โดยพบว่า 30% เป็นขอทานชาวต่างชาติ และที่เหลือคือขอทานคนไทย ทั้งนี้ การที่มีขอทานวนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณเพิ่มขึ้น หนึ่งในการป้องกันขอทานอย่างยั่งยืน คือ ขอความร่วมมือประชาชน ”หยุดให้ทาน“ เพราะเหตุผลที่ขอทานใช้คือ มีรายได้ดี ไม่ต้องเสียภาษีสามารถทำที่ใดก็ได้ เมื่อโดนจับจำนวนค่าปรับน้อยกว่ารายได้ที่หาได้

 

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า สำหรับจำนวนขอทานที่พบมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่สยามหรืออีกหลายพื้นที่ ที่มีนักท่องเที่ยยชุกชุม ซึ่งหลังจากที่ตนได้เข้ามาทำงาน เจ้าหน้าที่ พม. ได้ลงพื้นที่ทำงานตลอด 24 ชม. และเมื่อได้รับรายงานก็ได้มีการออกไปแก้ไขทันที โดยในแต่ละเดือน พม. ได้จับขอทานไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง จะให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทุกวันเพื่อตามจับขอทาน ต้องบอกว่า เจ้าหน้าที่พม.ยังมีมิติเรื่องเด็กเล็ก คนพิการ ด้อยโอกาส กลุ่มที่จะต้องเข้าดูแลดังนั้น ที่วางตารางการออกตรวจจับ จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่เจ้าหน้าที่สามารถทำได้ แต่การจะให้ออกตรวจตราทุกวันนั้น กำลังเจ้าหน้าที่ยังไม่เพียงพอ

 

 

นายวราวุธ ระบุอีกว่า จะต้องขอความร่วมมือประชาชนในสองส่วนคือในช่วงช่องว่างระหว่างการลงพื้นที่ตรวจจับขอทาน พบเห็นขอทานก็ให้แจ้งมาที่ สายด่วน 1300 ของพม. พร้อมรับเรื่องและออกไปดำเนินการขอทานในแต่ละที่ ขอความร่วมมือในการหยุดให้ทาน หากขอทานมีรายได้ไม่ดีก็จะไม่มีใครมาขอทาน ทัังนี้ในส่วนของรายได้ขอทานนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันว่าอยู่ที่จำนวนเท่าใด แต่ในช่วงของไฮซีซั่นนั้นพบว่ารายได้ของขอทานจะอยู่ที่ประมาณเกือบ 100,000 บาทต่อเดือน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก

 

อย่างไรก็ตาม การขอทานในวันนี้ได้มีการทำงานเป็นกระบวนการ ในส่วนของผู้ที่เป็นตัวการจะต้องถูกดำเนินคดี กฎหมายหากมีการตรวจจับได้ การดำเนินการขอทานเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น