“อ.อ๊อด” ไขข้อสงสัย ดับสลด 2 ศพคารถ เตือนเป็นภัยเงียบที่ควรตระหนัก

“อ.อ๊อด” ไขข้อสงสัย ดับสลด 2 ศพคารถ เตือนเป็นภัยเงียบที่ควรตระหนัก

Top news รายงาน กรณีพบศพ นางวิลัยพร วันทนา 27 ปี คนขับ ประกอบอาชีพเป็นแดนเซอร์ ส่วนอีกรายคือ นายวิโรจน์ โภชน์พันธ์ อายุ24 ปี อาชีพเด็กเสิร์ฟ ซึ่งทำงานเป็นพนักงานร้านอาหารเดียวกัน เสียชีวิตภายในรถยนต์มาสด้า สีขาว ทะเบียน ชภ 6664 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.คลองตันคาดว่าสาเหตุการเสียชีวิตน่าจะเกิดจาก ทั้งคู่เข้าไปนอนในรถยนต์ที่มีการสตาร์ทเครื่องตลอด จนน้ำมันหมดเครื่องดับ อากาศไม่ถ่ายเท จึงขาดอากาศหายใจเสียชีวิต ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด วันนี้ (19 มิ.ย.) รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า ต้องแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต สำหรับเคสนี้ก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับรถที่ใช้การสันดาปด้วยน้ำมันซึ่งจะเกิดเหตุบ่อยครั้ง โดยรถที่เกิดการสันดาปด้วยน้ำมัน จะส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และหากเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ก็จะให้ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ซึ่งจะได้จากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันตลอดเวลา แต่เป็นปริมาณที่น้อย แต่ถ้าในรถยนต์ที่อยู่ในสภาพเก่าไม่ค่อยได้ผ่านการดูแลรักษาก็จะผลิตก๊าซชนิดนี้ได้ปริมาณที่เยอะ

 

 

 

 

สำหรับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์นี้ จะไม่มีสีไม่มีกลิ่นและแฝงมากับควันของท่อไอเสีย แล้วจะซึมเข้าไปในห้องผู้โดยสาร ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จะมีความสามารถไปจับกับสารรฮีโมโกลบินในเลือด ซึ่งโดยทั่วไปออกซิเจนจะมีหน้าที่จับกับฮีโมโกลบินและส่งต่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จะมีความสามารถในการจับกับฮีโมโกลบินในเลือดได้ไวกว่าออกซิเจนถึง 200 เท่า เมื่อร่างกายรับสารคาร์บอนมอนนอกไซด์ปริมาณมากก็จะไปแย่งจับฮีโมโกลบิน ทำให้ร่างกายขาดเลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง หากร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในปริมาณ 20-30 ppm ก็จะเริ่มแสดงอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน แต่ถ้ารับเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากและต่อเนื่องเช่นการนอนหลับในรถยนต์ ซึ่งอาจจะถึง 2000 ppm ก็จะทำให้หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด ถือเป็นทีภัยเงียบภัยร้ายที่ต้องระมัดระวัง

 

อ.อ๊อด ยังให้ข้อมูลต่อไปว่า ปัจจุบันสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จะมีอุปกรณ์เป็นกล่องที่อยู่ด้านใต้ท้องรถ เรียกว่า แคตเตอร์ไลติก คอนเวอร์เตอร์ ถือว่ามีความสำคัญมาก แต่ส่วนใหญ่ในบ้านเรามักจะถอดอุปกรณ์ตัวนี้ออกเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง จะทำหน้าที่เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะไม่มีความสามารถในการจจับฮีโมโกลบิน ดังนั้นหากพบว่ามีการติดตั้งอุปกรณ์ตัวนี้มาให้ก็ควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ แต่อีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้รถยนต์ระบบไฟฟ้าซึ่งจะไม่พบปัญหาเหล่านี้ .

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยะลาอ่วม ฝนตกหนักต่อเนื่อง น้ำเอ่อท่วมหลายพื้นที่ ดินสไลด์ ไฟฟ้าดับ ด้านจังหวัดแจ้ง 6 อำเภอ น่าเป็นห่วง
เปิดธุรกิจ “สามารถ” นักต้านแชร์ลูกโซ่ สู่ผู้ต้องหาคดีฟอกเงิน
"พายุงวงช้าง" พัดถล่มหมู่บ้านริมทะเล-นครศรีฯ กระเบื้องปลิวเสียหายนับ 10 หลังคาเรือน
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 เตือน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ อ่าวไทยตอนล่างคลื่นลมแรง ไทยตอนบนอุณหภูมิลดฮวบ 6 องศา
"ธนกร" ฝากรัฐบาล-ผบ.ตร. เร่งเช็กบิลพวก "คนบาปในคราบนักบุญ" ทำทีช่วยร้องเรียนแต่เรียกรับทรัพย์
ซอนต้ารวมพลังจัดกิจกรรมจิตอาสาพลังรักสร้างวัยรุ่นเติบโตด้วยหัวใจ
สุดช้ำ หลังคำพิพากษาศาลฎีกา พ่อแม่ น้องหลิว 8 ปี ที่รอคอย โอดครวญ คงตายก่อนเยียวยา ไม่เคยได้รับการเยียวยา จากจำเลย หลังศาลฎีกา ตัดสิน จำคุกจำเลย ตลอดชีวิต คดี ผอ.โรงเรียน ฆาตกรรมลูกสาว สาวโรงงาน
พ่อเลี้ยงหื่น! มอมเหล้าลูกเลี้ยง วัย 16 ปี จนขาดสติก่อน ลวนลาม ขณะแม่อยู่ด้วยก็ไม่เว้น เครียดหนักเคยคิดสั้นฆ่าตัวตาย สุดอึ้ง!! เอาเรื่องไปบอกแม่ กลับไม่เชื่อ
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยื่นสำนวนคดี “แอม ไซยาไนด์” ให้อัยการด้วยตัวเอง 14 รายการ
ราชกิจจาฯเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้ชื่อใหม่ "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น