“ตวงทิพย์” ชี้ปัญหาครูเฉพาะทางขาดแคลน เสียดาย งบฯผลิตเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ถูกตัด 1 ใน 3 เปรียบมีบ้านแต่ไร้เฟอร์นิเจอร์

"ตวงทิพย์" ชี้ปัญหาครูเฉพาะทางขาดแคลน เสียดาย งบฯผลิตเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ถูกตัด 1 ใน 3 เปรียบมีบ้านแต่ไร้เฟอร์นิเจอร์

“ตวงทิพย์” ชี้ปัญหาครูเฉพาะทางขาดแคลน เสียดาย งบฯผลิตเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ถูกตัด 1 ใน 3 เปรียบมีบ้านแต่ไร้เฟอร์นิเจอร์ Top News รายงาน 

 

 

ครู

 

วันที่ 19 มิถุนายน 2567 นางสาวตวงทิพย์ จินตะเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ว่า สิ่งที่สําคัญต่อการพัฒนาประเทศคือการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาของเด็ก ถือเป็นหัวใจหลักและเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการพัฒนาประเทศ ซึ่งหากรัฐบาลไม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาที่เสมอภาคและไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาได้ประเทศคงยากที่จะพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ในปีนี้กระทรวงศึกษาธิการได้รับการจัดสรรงบประมาณ 340,000 ล้านบาทเศษ

 

เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ซึ่งถือว่าไม่มาก ในจุดนี้ต้องขอชื่นชมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของการศึกษา เพราะกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงหลักที่ดูแลอนาคตลูกหลานและกําลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าได้อย่างมั่นคงและทัดเทียมนานาประเทศได้

ข่าวที่น่าสนใจ

 

นางสาวตวงทิพย์ กล่าวว่า ในปัจจุบันยังขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งเป็นหนึ่งในโจทย์สําคัญสําหรับการยกระดับระบบการศึกษาของไทย เช่น โรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสพฐ.กว่า 14,000 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของโรงเรียนในสังกัดทั้งหมด พบว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาการขาดแคลนครูสูงที่สุด ครูหนึ่งคนดูแลมากกว่าหนึ่งห้องเรียน หรือบางโรงเรียนคุณครูหนึ่งคนดูแลทั้งโรงเรียน และสอนมากกว่าหนึ่งวิชา นอกจากนี้ยังพบปัญหาการจัดสรรครูไม่ตรงสายที่จบมา จากข้อมูลของสพฐ.มีครูภาษาไทยจบไม่ตรงสายมากถึง 6,726 คนการเพิ่มครูให้เพียงพอจึงควรทำควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย

ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นว่าปัญหาการขาดแคลนครูคือหนึ่งในปัญหาหลักจึงออกนโยบาย เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เน้นให้ผู้เรียน “เรียนดีมีความสุข” และยังมีนโยบายพลิกโฉมการศึกษาไทย เรียนรู้เท่าเทียมทักษะเท่าทัน สร้างแพลตฟอร์มเรียนรู้ทั่วถึงเท่าเทียม ทุกที่ทุกเวลา เรียนผ่านวิดีโอ บทเรียนออนไลน์ ซึ่งตั้งใจที่จะลดช่องว่างของเด็กนักเรียนทั้งในเมืองและในชนบท สามารถเข้าถึงบทเรียน ที่มีคุณภาพและทันสมัยจากผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง ได้อย่างสะดวกและไร้ข้อจํากัดอย่างเท่าเทียมกัน

นางสาวตวงทิพย์ กล่าวอีกว่า สําหรับงบประมาณปี 2568 ของกระทรวงศึกษาธิการน่าเสียดายที่งบประมาณในส่วนของการทําคอนเทนต์หรือเนื้อหาการเรียนการสอน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนครูลดความเหลื่อมล้ำถูกตัดงบไปถึง1 ใน 3 ของงบประมาณที่ขอไป ตอนนี้มีแพลตฟอร์มแล้วแต่ขาดสื่อการเรียนการสอน เหมือนเรามีบ้านแต่ขาดเฟอร์นิเจอร์ แล้วการศึกษาอย่างเท่าเทียมจะสมบูรณ์แบบได้อย่างไรถ้าเราได้รับงบประมาณอย่างไม่เพียงพอ ทั้งนี้หวังว่ารัฐบาลจะนํางบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมาในครั้งนี้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น