ผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ที่อายุครบ 55 ปี จะได้รับ เงินชราภาพ ประกันสังคม แบบใด
1.กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ได้รับเป็น บำเหน็จชราภาพ
2.แต่หากส่งเงินสมทบ 180 เดือนขึ้นไป (ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม) ได้รับเป็น บำนาญชราภาพ
กรณีบำเหน็จชราภาพ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 กรณี คือ
1. จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม
2. จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน และส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี
กรณีบำนาญชราภาพ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 กรณี เช่นกัน คือ
1.จ่ายเงินสมทบมา 180 เดือนพอดี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต คิดเป็นอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
2.จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญ ให้อีก ร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน
“ตารางคำนวณเงินชราภาพ ประกันสังคม”
บำเหน็จชราภาพ
สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน กรณีที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จแค่ในส่วนที่เราสมทบมาเพียงฝ่ายเดียว ไม่รวมส่วนของนายจ้าง
ตัวอย่าง เมื่อเราอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน และสมมติว่าส่งเงินสมทบเดือนละ 300 บาท จะได้เงินบำเหน็จชราภาพ ประกันสังคม จำนวน 3,000 บาท (300 บาท x 10 เดือน)
กรณีที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจาก 3 ส่วน คือ จำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตน + ส่วนของนายจ้าง + ผลประโยชน์ หมายถึงกำไรจากที่ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด ดังนั้น ผลประโยชน์ หรือกำไร จากที่ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุน ต้องดูจากที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
บำนาญชราภาพ
-ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี ร้อยละของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (%) 20.00 – 27.50% จำนวนเงินที่จะได้รับ 3,000 – 4,125 บาทต่อเดือน