“เผ่าภูมิ” ชี้กระแสเป็นบวก “ก.คลัง” ปรับดัชนี KPI แบงก์รัฐ เน้นช่วยสังคมมากกว่าผลกำไร

"เผ่าภูมิ" ชี้กระแสเป็นบวก "ก.คลัง" ปรับดัชนี KPI แบงก์รัฐ เน้นช่วยสังคมมากกว่าผลกำไร

เผ่าภูมิ” ชี้กระแสเป็นบวก “ก.คลัง” ปรับดัชนี KPI แบงก์รัฐ เน้นช่วยสังคมมากกว่าผลกำไร

ขยายความต่อเกี่ยวกับแนวคิดปรับเปลี่ยนวิธีวัด KPI ธนาคารออมสิน โดย นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุกับ TOP NEWS ว่า เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ในการลดปัจจัยกระตุ้นการสร้างผลกำไรของสถาบันการเงินแห่งรัฐ และเพิ่มปัจจัยทางด้านการช่วยเหลือประชาชนเข้าไปเติมเต็ม เพื่อสร้างแรงจูงใจในอีกรูปแบบแล้วย้อนกลับไปสร้างผลตอบแทนให้กับพนักงานในองค์กรนั้นๆ

“การปรับเปลี่ยนดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ของธนาคารออมสิน จากการวัดกำไรของธนาคารเพื่อเป็นดัชนีชี้วัดการจ่ายโบนัสพนักงาน เป็นการกำหนดค่าดัชนี โดยการให้ธนาคารเข้าไปช่วยเหลือสังคม คือ หากสามารถช่วยสังคมได้มาก พนักงานก็จะได้โบนัสมากขึ้นไปด้วย ว่า บทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยบทบาทแรกที่มอง และควรจะเป็น คือ การไปเติมเต็มช่องว่างทางการเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปอาจไม่ได้ให้น้ำหนักในการบริหารธุรกิจ คือการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน และ ดูแลกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง”

เผ่าภูมิ ชี้กระแสเป็นบวก ก.คลัง ปรับดัชนี KPI แบงก์รัฐ

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ นายเผ่าภูมิ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการนำเสนอนโยบายดังกล่าวออกไปสู่สาธาณะ มีกระแสตอบรับในเชิงบวกอย่างมาก เห็นไดัชัดคือการดำเนินการของธนาคารออมสิน หลังจากมีการออก soft loan จำนวน 1 แสนล้านบาท โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เป็นการนำเอากำไรของธนาคารไปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งถือเป็นผลพวงสำคัญของการปรับเปลี่ยนนโยบายการวัดค่า KPI ขององค์กร และความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเพิ่มแนวทางช่วยเหลือสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ส่วนจะนำแนวนโยบายนี้ ไปใช้กับรัฐวิสาหกิจอื่นๆหรือไม่ นายเผ่าภูมิ ระบุว่า เป็นแนวทางพิจารณาถัดไปในอนาคต เนื่องจากรัฐวิสาหกิจจะมีอีกมิติ แต่ในมุมมองของแบงก์ รัฐบาลได้มองเห็นปัญหาสินเชื่อ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำ KPI มาสนับสนุนการขับเคลื่อนธนาคารของรัฐ โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับภาพใหญ่ในการปรับเปลี่ยนวิธีประเมิน KPI ขององค์กรที่จะต้องสะท้อนพันธกิจของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ

สำหรับขั้นตอนวิธีปฏิบัติในอนาคตจะต้องมีการปรับแก้ข้อกฎหมายหรือไม่ นายเผ่าภูมิ อธิบายว่า ไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหหมายใด ๆ แต่เป็นวิธีการที่สามารถทำได้ภายใต้ระเบียบและกระทรวงการคลังได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ธนาคารออมสินได้ถูกย้ายมาอยู่ในกลุ่มที่ 6 ซึ่งเป็นกลุ่มการประเมินโดยใช้ KPI ในลักษณะอื่นๆเพื่อการกำหนดโบนัสเรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะนำรูปแบบ KPI ใหม่มาใช้ในการประเมินรอบหน้า

ยกตัวอย่าง เช่น การปล่อยสินเชื่อต่ำกว่า 2 แสนบาท การพิจารณา KPI จะถูกปรับเปลี่ยนจากการที่ธนาคารต้องทำกำไรสูงๆ มาเป็นการบริหารสินเชื่อขนาดเล็กให้เกิดในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อให้กระจายตัวในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนได้จำนวนเพิ่มขึ้น

 

ขณะที่ประเด็นข้อกังวลเรื่องหนี้เสีย นายเผ่าภูมิ ชี้แจงว่า ทุกสถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐมีความแข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพสูง ทำให้ความอันตรายเรื่อง หนี้เสีย หรือ NPL ไม่อยู่ในเกณฑ์สูง แต่สิ่งที่เราอยากเห็นมากกว่า คือการเพิ่มด้านศักยภาพ เพราะด้านเสถียรภาพ ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร

“นอกจากธนาคารออมสินแล้ว ในส่วนของธนาคารรัฐวิสาหกิจอื่นก็จะมีการปรับให้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งตนกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โดยในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้ จะมีธนาคารรัฐวิสาหกิจของรัฐอีก 1 แห่ง ถูกเปลี่ยนกลุ่มการประเมิน KPI มาเป็นกลุ่มดำเนินการภาครัฐ หรือ การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายเป็น KPI ในการประเมินโบนัสแทนผลกำไร”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น