นักวิชาการ ม.แม่โจ้ เสนอใช้ “ไซยาไนด์” ปราบปลาหมอคางดำ เผย อาจดูโหดร้าย แต่จบ
จากกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งจัดเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ หรือสัตว์น้ำต่างถิ่น ที่ทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง โดยล่าสุดมีรายงานการแพร่ระบาดแล้วใน 16 จังหวัด
ล่าสุด รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ออกมาแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยระบุว่า มาตรการที่นำมาใช้กำจัด ไม่ว่าจะเป็นการส่งนาก และปลานักล่าไปจัดการ จับมาทำเมนูอาหาร แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ หรือ ทำน้ำหมักชีวภาพ อาจไม่ทันการณ์ เนื่องจากปลาหมอคางดำเกิดง่ายตายยาก และยังอึดทนปรับสภาพอยู่ได้ในทุกสภาพน้ำ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำเน่า ทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วเหมือนกองทัพปีศาจที่คืบคลานแบบไม่มีที่สิ้นสุด
รศ.ดร.อภินันท์ จึงเสนอว่า การใช้ไซยาไนด์ อาจเป็นมาตรการสุดท้ายที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการกำจัดปลาหมอคางดำ วิธีนี้อาจดูโหดร้าย แต่เด็ดขาด และสามารถทำได้จริง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข
#ปลาหมอคางดำ
#โหดแต่จบ
#ไซยาไนด์ปราบปลาหมอคางดำ
#อาจารย์แม่โจ้แนะใช้ไซยาไนด์ปราบปลาหมอคางดำ
#บก.ข่าวทีวี