“รมว.สุดาวรรณ” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวัด-โบราณสถาน จ.นครราชสีมา เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พร้อมผลักดัน Soft Power ผ้าไหมไทย

“รมว.สุดาวรรณ” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวัด โบราณสถานใน จ.นครราชสีมา ก่อนประชุม ครม.สัญจร วันพรุ่งนี้ เตรียมชงโครงการพัฒนา“วัดธรรมจักรเสมาราม” ศาสนสถานเก่าแก่ยุคทวารวดี เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

“รมว.สุดาวรรณ” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวัด-โบราณสถาน จ.นครราชสีมา เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พร้อมผลักดัน Soft Power ผ้าไหมไทย – Top News รายงาน

รมว.สุดาวรรณ

 

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และคณะข้าราชการเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมชมการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ตามนโยบายรัฐบาลด้านการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยสนับสนุน Soft Power และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม

ใช้ภาพรัฐมนตรีนั่งชมการรำต้อนรับ + ภาพรัฐมนตรีเข้าเยี่ยมชมโบราณสถานบ้านโนนวัด + เน้นภาพโบราณคดี , ภาพโครงกระดูก , ภาพไหโบราณ , ภาพเครื่องประดับโบราณต่างๆ

โดยเริ่มจาก บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง มีชาวบ้านจำนวนมากมารอให้การต้อนรับ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ซึ่งเป็นแหล่งที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม ที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ภายในมีการขุดพบหลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ และไหโบราณลวดลายงดงาม ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานี คือประมาณ 4,500 ปี และในอนาคตอาจมีการสนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกด้วย

ใช้ภาพรัฐมนตรีเดินชมบูธย้อมผ้าไหม + ภาพเดินทักทายประชาชน + ภาพเดินดูผ้าไหม + ภาพนั่งฟังรายงานจาก สส.ในพื้นที่ + ภาพตอนถ่ายรูปหมู่หน้าปราสาทนางรำ

ต่อจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมคณะ เดินทางไปยังจุดที่ 2 พร้อมตรวจเยี่ยมการพัฒนาศักยภาพแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ได้แก่ “ผ้าไหมลายช่อดอกดงเค็ง” ณ ปราสาทนางรำ ซึ่งลายผ้าดังกล่าวถูกยกให้เป็นลายอัตลักษณ์ ประจำอำเภอประทาย เนื่องจากในอดีต “ต้นเค็ง” เป็นต้นไม้ประจำถิ่น ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ณ บริเวณที่ตั้งชุมชน ซึ่งลวดลายของผ้าประกอบด้วย ลายช่อดอกเค็ง ลายธารน้ำบึงกระโดน (ปลาซิว) ลายช่อสน และลายกำแพงป้อมปราการ ไม่เพียงเท่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังเดินทางไปยังจุดที่ 3 คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2507 โดยเริ่มจากการเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้จากการขุดแต่งบูรณะปราสาทพิมาย การขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน และการขุดค้นทางโบราณคดี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ

โดยในปี พ.ศ. 2532 กรมศิลปากร ได้พัฒนาปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑสถานวิทยา ต่อมาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2536 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงถูกต้อง ตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑ์ ที่ได้มาตรฐานสากลแห่งหนึ่งในประเทศไทย

โดยภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เป็นอาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคม ในดินแดนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แสดงถึงรากฐานการกำเนิดอารยธรรม ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

ส่วนที่ 2 เป็นอาคารจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุร่วมสมัยศิลปะเขมร โบราณคดีและประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวถึงกำเนิดเมือง การสร้างพุทธสถานประจำเมือง หลักฐานร่องรอยความเจริญด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ โดยศึกษาจากหลักฐานต่างๆ ที่พบในพิมายและจังหวัดใกล้เคียง โบราณวัตถุที่สำคัญ อาทิ ประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องถ้วยลพบุรี ร่วมสมัยศิลปะเขมร และเครื่องทองประดับเทวรูปจากปราสาทบ้านถนนหัก อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา

และ ส่วนที่ 3 เป็นอาคารจัดแสดงกลางแจ้ง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย อาทิ ทับหลัง หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท และปราสาทจำลอง ที่พบจากโบราณสถานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ยังได้จัดแสดงใบเสมาและทับหลังที่สวยงามอีกด้วย

ขณะที่ นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่าขณะนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้มุ่งขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของรัฐบาล ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้กิจกรรม “เที่ยวโบราณสถานยามราตรี” ในพื้นที่โบราณสถานสำคัญ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร เช่น ที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงไฟส่องสว่างโบราณสถานปราสาทหินพิมายให้มีความสวยงาม เหมาะสมกับการท่องเที่ยวในเวลากลางคืน

รวมทั้งปรับปรุง พัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่บริการอุทยานประวัติศาสตร์พิมายให้มีความสง่างาม โดดเด่น มีเอกลักษณ์และเข้าสู่มาตรฐานอารยสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นโบราณสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวชม

สำหรับวันพรุ่งนี้ (2 กรกฎาคม 2567) เวลา 09.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จะเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 ณ หอประชุมราชภัฎรังสฤษณ์ มหาวิทยาลัยนครราชสีมาด้วย
        

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น