logo

จับตาบทสรุป “ปรับค่าแรง 400” โดนขาใหญ่บอร์ดค่าจ้างขวางสุดตัว เปิดประวัติไม่ธรรมดา

ขาใหญ่บอร์ดค่าจ้าง ค้านสุดตัวค่าแรง 400 ทั่วไทย พบอยู่มานาน ข้องใจทั้งกระทรวงปกป้องนายจ้างเป็นพิเศษหรือไม่ วิจารณ์แซ่ดเจ้าตัวเคยถูกโปรดเกล้าฯให้พ้นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานและเรียกคืนเครื่องราชฯมาแล้ว แต่นายจ้างยังส่งมาทำหน้าที่บอร์ดนับสิบปี เล็งแก้กม.ป้องกัน หวังได้คนไม่มีประวัติเสื่อมเสียมาทำงาน สกัดแผ่อิทธิพล

จับตาบทสรุป “ปรับค่าแรง 400” โดนขาใหญ่บอร์ดค่าจ้างขวางสุดตัว เปิดประวัติไม่ธรรมดา  Top News รายงาน 

 

ค่าแรง 400

 

 

ความคืบหน้าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศตามนโยบายของรัฐบาล หลังจากตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศได้ปรับมาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 เมื่อเดือนเมษายน รัฐบาลได้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท แต่ยังมีขอบเขตเฉพาะกิจการโรงแรม นำร่องพื้นที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัด ส่วนการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เป็น 400 บาทพร้อมกันทุกจังหวัดทั้งประเทศ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศคิกออฟในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตามล่าสุดมีรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 หรือ บอร์ดค่าจ้างซึ่งมีทั้งตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง และตัวแทนฝ่ายรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 การประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด

 

หลังที่ประชุมมีมติให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเป็นผู้พิจารณาว่าในแต่ละจังหวัดควรจะปรับขึ้นค่าจ้าง 400 บาทหรือไม่ และกิจการไหนบ้างที่จำเป็นต้องปรับขึ้นค่าจ้าง พร้อมสำรวจความเห็นด้วยว่าควรปรับขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคมนี้หรือไม่ ขีดเส้นดำเนินให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฏาคมนี้ เพื่อนำเข้าบอร์ดพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติยกเลิกสูตรคำนวณปรับขึ้นค่าจ้างสูตรใหม่ โดยให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดมีอิสระในการเลือกสูตรคำนวณค่าจ้างใหม่ที่ต้องการให้ปรับขึ้น จากนั้นคณะกรรมการค่าจ้างจะนำสูตรที่จะคิดขึ้นมาใหม่มาใช้คำนวณในขั้นตอนสุดท้าย

ข่าวที่น่าสนใจ

ผลการประชุมดังกล่าว มีรายงานว่าสร้างความไม่พอใจให้กับนายอรรถยุทธ ลียะวณิช หนึ่งในผู้แทนฝ่ายนายจ้าง อย่างรุนแรง และคัดค้านอย่างหนัก ว่ากันว่าในวันนั้นยังมีตัวแทนฝ่ายนายจ้างบางคนถึงกับเดินออกจากห้องประชุมด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว อ้างว่ามติที่ประชุมดูเร่งรีบให้ปรับขึ้นค่าจ้างเร็วเกินไป และยังให้ยกเลิกสูตรที่ใช้คำนวณค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยเปลี่ยนไปใช้สูตรใหม่ที่จะขึ้นค่าจ้างอย่างไรก็ได้ ไม่มีเพดาน นายจ้างรับไม่ได้

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน

 

ล่าสุดในการประชุมบอร์ดค่าจ้างเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา ก็ได้เกิดสิ่งผิดปกติขึ้นอีก เมื่อนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะตัวแทนฝ่ายรัฐบาล เปิดเผยว่าการประชุมในวันดังกล่าวเป็นเพียงการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุกรรมการที่ว่างลงเท่านั้น

 

ไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่นายอรรถยุทธกลับให้ข่าวว่าในวันดังกล่าวมีวาระการรับรองรายงานการประชุมของเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ซึ่งฝ่ายนายจ้างไม่รับรองรายงานดังกล่าว ในข้อที่ 4.3 เนื่องจากมีการระบุว่า เสนอพิจารณากรอบแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในการประชุมครั้งต่อไป โดยให้เลือกแนวทางที่ระบุไว้ในรายงานการประชุม จำนวน 4 แนวทาง ซึ่งฝ่ายนายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะควรจะต้องยึดตามสูตรการคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำที่บอร์ดค่าจ้างมีมติไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

การคัดค้านขึ้นค่าแรงดังกล่าวของนายอรรถยุทธ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปกป้องนายจ้างเป็นพิเศษหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงฝ่ายลูกจ้างหรือไม่ หรือจะมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝงหรือไม่

 

 

สำหรับนายอรรถยุทธเป็นอดีตทนายความ เคยเปิดสำนักงานกฎหมาย เคยเป็นคณะกรรมการประกันสังคม โดยนายอรรถยุทธไม่ใช่คนหน้าใหม่ในกระทรวงแรงงานและในบอร์ดค่าจ้าง เพราะได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจากฝ่ายนายจ้าง มาทำหน้าที่บอร์ดค่าจ้าง ตั้งแต่ชุดที่ 17 เรื่อยมาจนถึงชุดปัจจุบันก็คือชุดที่ 22 ซึ่งมีวาระคราวละ 2 ปี จนถูกวิจารณ์ว่าเป็นผู้กว้างขวางในกระทรวงจับกังหรือไม่

 

ที่สำคัญหากตรวจสอบลงลึกไปอีก ก็พบว่าในอดีตนายอรรถยุทธยังเคยได้รับการโปรดเกล้าฯให้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานด้วย แต่แล้วเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้นายอรรถยุทธพ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 และให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องจากถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

 

เรื่องนี้นำมาสู่การตั้งคำถามว่า แม้บอร์ดค่าจ้างจะไม่มีกฎหมายกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามไว้ แต่การที่นายอรรถยุทธเคยถูกโปรดเกล้าให้พ้นจากตำแหน่งและให้เรียกคืนเครื่องราชฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรง แต่นายจ้างกลับยังส่งให้มาเป็นตัวแทนในบอร์ดค่าจ้างอีกอย่างต่อเนื่อง ถือว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ส่งผลให้ล่าสุด มีข่าวลือว่อนกระทรวงว่า ขณะนี้ได้มีแนวคิดที่จะต้องแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เพื่อกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่บอร์ดค่าจ้าง ต้องไม่มีประวัติผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีเรื่องเสื่อมเสีย และควรจะกำหนดวาระการทำหน้าที่บอร์ดค่าจ้าง ได้ไม่เวิน 2 วาระ เป็นต้น เพื่อคัดกรองคุณสมบัติผู้ที่มีความเหมาะสม และป้องกันการผูกขาดอำนาจ หรือแผ่อิทธิพล

 

หลังจากนี้ต้องจับตาว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเรือธงของรัฐบาล จะฝ่าด่านสำคัญอย่างตัวแทนนายจ้างที่นั่งอยู่ในบอร์ดค่าจ้างได้สำเร็จหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปปง." ยันเดินหน้าสอบเส้นทางเงิน "นอท" คดีฟอกเงินยังค้างในชั้นศาล
ตร.ตามรวบ "พ่อเลี้ยง" ขืนใจลูก วัย 13 ทั้งที่ขาติดกำไลอีเอม สุดสลดแม่แท้ๆนอนมอง
"NBM" แจงเหตุประตูรถไฟฟ้า สายสีชมพู เปิดขณะเคลื่อนออกสถานี ยันไม่ใช่ระบบขัดข้อง
"ศุภชัย" ยันภูมิใจไทย ไม่เปลี่ยนหนุนกัญชา ใช้ประโยชน์ปชช.พร้อมสู้ค้านกลับเป็นยาเสพติด
"ชนินทร" ยันมาตรการขยายโอกาสต่างชาติซื้อคอนโดฯ เช่าที่ดิน 99 ปี ยังอยู่แค่ขั้นตอนศึกษา
"EURO 2024" ตารางบอลยูโร 2024 โปรแกรมฟุตบอลยูโร 2024 ดูบอลสด
รวบขบวนการค้ายาเสพติด ข้ามชาติ ขนยาเคตามีน 100 กิโล เข้าประเทศไทย กกล.บูรพาร่วมกับศุลกากรตรวจเข้มรถสินค้าพบซุกยาเคตามีน 100 กก. จากเขมรเข้าไทย
"หาญส์-ปู มัณฑนา" เปิดใจ แจงยิบปมเงิน 2 ล้าน จ่อฟ้องกลับทำเสียชื่อ ลั่นเวรกรรมมีจริง
ชาวบ้าน จี้ บังคับคดี เร่งขนย้ายสารเคมีและวัสดุปนเปืัอนออกจากโรงงานนิรันดร์โดยเร็ว หลังถูกฝนตกลงมาหวั่นปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
ศาลให้ประกันตัว "บังเอิญ" มือพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น