เช็กลิสต์ “10 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า กินไฟ” ยิ่งเปิดยิ่งเปลือง ทำ ค่าไฟ พุ่ง

เครื่องใช้ไฟฟ้า

เปิด 10 อันดับ “เครื่องใช้ไฟฟ้า” กินไฟ ยิ่งเปิดยิ่งเปลือง ทำ “ค่าไฟ” พุ่ง แต่ละชนิด 1 ชั่วโมงกินไฟเท่าไร พร้อมแนะวิธีประหยัดไฟ ไปตรวจสอบกันเลย

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เครื่องใช้ไฟฟ้า” มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ทั้งเครื่องปรับอากาศ, พัดลม, ตู้เย็น แต่ก็นำมาซึ่ง “ค่าไฟ” ที่พุ่งกระฉูด เมื่อเห็นบิลแล้ว ถึงกับกุมขมับกันเลยทีเดียว แล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไหนบ้าง ที่กินไฟที่สุด ยิ่งเปิดยิ่งเปลือง Top News รวบรวมข้อมูล 10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้า กินไฟ แต่ละชนิดกินไฟเท่าไรต่อ 1 ชั่วโมง

 

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ข่าวที่น่าสนใจ

10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้า กินไฟ 

 

1. เครื่องทำน้ำอุ่น

กินไฟประมาณ 2,500-4,000 วัตต์ ซึ่งถ้านำมาคำนวณมาเป็นค่าไฟแล้ว คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 10-50 บาทต่อชั่วโมง

 

2. เครื่องปรับอากาศ

กินไฟประมาณ 1,200-3,300 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 5-13 บาทต่อชั่วโมง

 

3. เครื่องซักผ้า

กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 12 บาทต่อชั่วโมง

เตารีด

4. เตารีด

กินไฟประมาณ 700-2,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 3-8 บาทต่อชั่วโมง

 

5. หม้อหุงข้าว

กินไฟประมาณ 450-1,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 2-6 บาทต่อชั่วโมง

เตาไฟฟ้า

6. เตาไฟฟ้า

กินไฟประมาณ 200-1,500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 1-6 บาทต่อชั่วโมง

 

7. เครื่องดูดฝุ่น

กินไฟประมาณ 750-1,200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 5 บาทต่อชั่วโมง

เครื่องดูดฝุ่น

8. เครื่องปิ้งขนมปัง

กินไฟประมาณ 500-1,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 5 บาทต่อชั่วโมง

เครื่องปิ้งขนมปัง

9. เครื่องเป่าผม

กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 2-4 บาทต่อชั่วโมง

 

10.ไมโครเวฟ

กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ย 1-4 บาทต่อชั่วโมง

 

หมายเหตุ : เป็นราคาโดยประมาณ

 

ทั้งนี้ นอกเหนือจาก 10 อันดับข้างต้นแล้ว เครื่องชงกาแฟ โทรทัศน์ ตู้เย็น ก็ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมากที่สุดรองลงมาเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าหากใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ก็ลองเช็กกันดู

องค์ประกอบที่ทำให้ เครื่องใช้ไฟฟ้า กินไฟ

 

  1. ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง หมายความว่า ยิ่งวัตต์เยอะ ยิ่งกินไฟเยอะ
  2. การใช้งาน ใช้เยอะ ก็ยิ่งกินไฟ
  3. เก่าหรือชำรุด
มิเตอร์ไฟ

วิธีประหยัดไฟ

 

1. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5

 

การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟมากขึ้นได้ เพราะกระทรวงพลังงานได้ช่วยการันตีคุณภาพของการติดตั้ง

 

2. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้

 

ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า จำเป็นต้องถอดปลั๊กออก เพราะกระแสไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ในระบบ แม้ว่าจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม และป้องกันการลัดวงจรภายใน ซึ่งจะทำให้เครื่องไฟฟ้าเสียหาย กินไฟมากกว่าเดิม และอาจจะต้องเสียเงินซื้อใหม่ เปลืองซ้ำไปอีก

 

3. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

 

หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายภายใน แม้ว่าจะเป็นรอยขาดของสายไฟเล็กๆ น้อยๆ ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟมากขึ้น กระแสไฟฟ้าจะรั่วออก เหมือนเราเปิดสายยางแล้วน้ำรั่วออกตลอดเวลา

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, พี่เอกวิทย์, bangkokassets

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" สักการะพญาศรีสัตตนาคราช-จุดเรือไฟบก ดันประเพณีไหลเรือไฟโลก อัปเดตอาการป่วยบอกดีขึ้นแล้ว
กลิ่นเหม็นเน่า "จีนเทา" เช่าโกดังเก็บไส้หมูเถื่อน ส่งขายทั่วไทย จนท.ยึดของกลางมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
รัสเซียประกาศหยุดยิง 3 วัน
"นิพนธ์" ชี้บทเรียนใหญ่ ปชป.พ่ายยับเลือกตั้งนครศรีฯ แนะกก.บห.ต้องเร่งทบทวนฟื้นพรรคเป็นที่พึ่งปชช.จริงๆ
"อดีตผกก.โคกเคียน" ร้องนายกฯ สั่งย้าย "ผบช.ภ.9-ผู้การนราธิวาส" เดือดปมบุกรุกพังประตูบ้าน
ชมสีสันงานแข่งวิ่งเทรลบน 'กำแพงเมืองจีน' ในเหอเป่ย
“ภูมิธรรม” ย้ำชัดไม่มีโพลเอาใจนาย ชี้นำกม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ ลั่นทุกอย่างมีไทม์ไลน์ ทำอย่างรอบคอบ
เกาหลีใต้สั่งอพยพประชาชนหนีตายไฟป่า
สหรัฐถล่มศูนย์กักกันชาวแอฟริกาที่เยเมนดับเกือบ 70 ราย
สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อง "ผู้ว่าฯกทม." เร่งตรวจสอบความปลอดภัยอาคารสูง 50 เขต ภายใน 30 วัน หลัง 11 ชุมชน แจ้งเบาะแส พบบางแห่ง ทำผิดกม.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น