ความจริงที่ควรรู้ของ “ปลาหมอสีคางดำ”

ความจริงที่ควรรู้ของ "ปลาหมอสีคางดำ"

สัปดาห์ที่ผ่านมาจังหวัดที่ติดทะเลของไทยคึกคักกันเป็นพิเศษ มีข่าวออกสื่อหลายแขนง หลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกระดับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติ โดยแต่งตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัด 13 จังหวัด ที่พบว่ามีปลาชนิดดังกล่าวแพร่ระบาด และมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานฯ จากการประชุมร่วมกับผู้นำท้องถิ่น ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทำให้ได้รับข้อมูลของจังหวัดที่มีการประชุมคณะทำงานฯ ไปแล้ว เช่น สงขลาและนครศรีธรรมราช เห็นได้ว่าบางจังหวัดสามารถบริหารจัดการได้ดีด้วยตนเองทั้งการกำจัดและการแปรรูปเพิ่มมูลค่า

 

10 กว่าปีมานี้ มีข้อมูลที่หลายฝ่ายควรรับทราบ คือ ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin Tilapia) หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarotherodon melanotheron นี้ เป็นปลาต่างถิ่นที่ประเทศไทยเคยมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและส่งออกไปไม่น้อยกว่า 10 ประเทศ เช่น คูเวต แคนาดา สหรัฐ ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งบางประเทศมีการนำเข้าในระดับหลักหมื่น แสดงให้เห็นว่าปลานี้มีความต้องการเป็นปลาสวยงาม การจะส่งออกได้ย่อมต้องมีผู้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์หลายรายมาขยายผล

 

จากข้อมูลของกองทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของสหรัฐ พบว่าสหรัฐเคยมีการนำเข้าปลาหมอสีคางดำมาทดลองเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาหลุดออกไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและมีการแพร่ระบาดจำนวนมาก ทำให้มีการประกาศห้ามนำเข้าจนถึงปัจจุบัน (https://dlnr.hawaii.gov/ais/blackchin-tilapia/)

ปลาหมอสีคางดำ

ข่าวที่น่าสนใจ

อีกหนึ่งตัวอย่าง ในปี 2556 ประเทศฟิลิปปินส์ มีรายงานการพบปลาหมอสีคางดำในระบบนิเวศและฟาร์มปลาในเมืองบาตาอัน (Bataan) ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการเรียกขานปลาชนิดนี้กันว่า Gloria, Cichilds, Tilapia Arroyo ทั้งนี้ นักวิชาการฟิลิปปินส์ได้นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาด้วยการนำไปทำเป็นปลาซูริมิ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้จากการแปรรูปปลา เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนระดมพลังมาร่วมกันจับปลาและช่วยลดจำนวนปลาได้อีกทาง

 

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าปลาหมอสีคางดำ ไทยมีการเลี้ยงเพื่อส่งออก แต่ขอตั้งข้อสังเกตตรงนี้ว่า “พ่อแม่พันธุ์ปลา” มีการนำเข้าจากหลายรายเป็นการนำเข้าอย่างถูกต้องหรือไม่ และหลังจากปี 2559 การส่งออกปลาชนิดนี้เกือบเป็นศูนย์ แล้วพ่อแม่พันธุ์ปลาไปไหน ที่สำคัญลูกหลานปลาที่ไม่ได้ส่งออกมีการดำเนินการอย่างไร ในเวลานั้นไทยมีกฎระเบียบในการป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาชนิดนี้มีความเข้มงวดและเข้มแข็งเพียงไร

 

เท่าที่ตรวจสอบพบว่า มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ.2561 กำหนดห้ามนำเข้าปลา 3 ชนิด คือ 1. ปลาหมอสีคางดำ 2. ปลาหมอมายัน (Cichlasoma urophthalmus และ 3. ปลาหมอบัตเตอร์ (Heterrotilapia buttikoferi) หากต้องนำเข้าต้องได้รับอนุญาตจากกรมประมง

 

เห็นได้ว่า “ปลาหมอสีคางดำ” ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย มีผู้นำเข้าหลายรายแต่สังคมไม่ได้รับทราบมาก่อน ดังนั้นการแก้ปัญหานี้จึงไม่ใช่การมาสืบหาว่าใครนำเข้าเพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว แต่ควรจะพุ่งเป้าไปที่การลดจำนวนปลานี้เฉพาะหน้าได้อย่างไร และจะกำจัดการแพร่ระบาดในระยะยาวได้อย่างไร ภาครัฐควรมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบ โดยระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำมาศึกษากายภาพของปลาชนิดนี้โดยเฉพาะในเรื่องวัยเจริญพันธุ์และการวางไข่ เพื่อหาทางกำจัดปลาหมอสีคางดำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่ต้นทาง จะช่วยลดปริมาณปลานี้และผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ และศึกษาจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลานี้มาแล้ว โดยภาครัฐเป็นเรือธงในการปฏิบัติการ และควรดำเนินการควบคู่กับการฟื้นฟูสมดุลระบบนิเวศ อันจะเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนไทย ขณะเดียวกันจะเป็นการส่งเสริมให้ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม พึ่งพาอาศัยกันอย่างยั่งยืน

โดย นรชาติ สรงอินทรีย์ นักวิชาการอิสระด้านสัตว์น้ำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น