logo

ศาลญี่ปุ่นสั่งรัฐบาลชดเชยผู้เสียหาย-รบ. บังคับทำหมัน

ศาลฎีกาญี่ปุ่นตัดสิน คำสั่งบังคับประชาชนหลายพันคนทำหมันกว่า 48 ปี ขัดรัฐธรรมนูญ ปูทางสู่การเรียกร้องค่าชดเชยจากเหยื่อ หลังต่อสู้ยาวนาน

ศาลสูงในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นตัดสินเมื่อวันพุธ ให้กฎหมายที่บังคับให้ชาวญี่ปุ่นหลายพันคนทำหมัน ในระหว่างปี 2491-2539 ที่เลิกใช้แล้ว นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้งประกาศว่า รัฐไม่สามารถนำข้อกำหนด คดีหมดอายุความภายใน 20 ปี มาใช้ในคดีนี้ เพื่อปูทางสู่การเรียกร้องค่าชดเชยจากเหยื่อหลังจากการต่อสู้ทางกฎหมายมานานหลายปี คำตัดสินระบุว่า การที่รัฐหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายนั้น ถือเป็นความไม่ยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ทนไม่ได้อย่างยิ่ง

รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับว่า มีประชาชนราว 1 หมื่น 6 พันคน ถูกบังคับให้ทำหมัน ภายใต้กฎหมายที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีลูกหลานที่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกทำหมันโดยได้รับความยินยอม อีก 8 พัน 5 ร้อยคน ซึ่งทนายระบุว่า พวกเขาจำยอม เพราะถูกบังคับโดยพฤตินัย อีกทั้งในประกาศของรัฐบาลเมื่อปี 2496 ระบุว่า การสั่งทำหมันสามารถทำโดย การใช้กำลังบังคับ การโปะยาสลบ หรือ การหลอกให้ทำก็ได้ ซึ่งการบังคับทำหมันชะลอตัวลงในช่วงปี 2523-2533 ก่อนที่กฎหมายจะถูกยกเลิกในปี 2539

เรื่องราวของผู้เสียหายได้ถูกเปิดเผย เมื่อผู้ที่ใช้นามแฝงว่า นายซาบุโระ คิตะ ได้ยื่นฟ้อง หลังเขาถูกโน้มน้าวให้เข้ารับการทำหมันเมื่อเขาอายุ 14 ปี ขณะอยู่ในสถานสงเคราะห์เด็กมีปัญหา เขาเล่าให้ภรรยาฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไม่นานก่อนที่เธอจะเสียชีวิตในปี 2556 ต่อมาประวัติศาสตร์อันมืดมนนี้ถูกตอกย้ำอีกครั้งในปี 2561 เมื่อผู้หญิงวัย 60 ปีคนหนึ่งฟ้องรัฐบาลเกี่ยวกับการถูกทำหมันเมื่ออายุ 15 ปี ซึ่งจุดกระแสการฟ้องร้องครั้งใหญ่จากผู้เสียหาย

ทำให้รัฐบาลออกมาแสดงความเสียใจอย่างยิ่งและกล่าวขอโทษ และมีการผ่านกฎหมายในปี 2562 ซึ่งกำหนดจ่ายเงินก้อนเป็นจำนวนเงิน 3 ล้าน 2 แสนเยน (ประมาณ 7 แสน 2 หมื่น 5 พันบาท) ต่อเหยื่อหนึ่งคน อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายกล่าวว่า น้อยเกินไปที่จะชดเชยความรุนแรงของความทุกข์ทรมานที่ได้รับ และต่อสู้กันในศาล

หลังคำตัดสินในครั้งนี้ โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า ทางการจะจ่ายค่าเสียหายตามคำตัดสิน ส่วนกลุ่มผู้เสียหายซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงผู้พิการที่มารวมตัวกัน ต่างแสดงความยินดี พวกเขากล่าวในแถลงการณ์ว่า เราไม่สามารถให้อภัยต่อ การขาดความรับผิดชอบของรัฐบาล และการขาดความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับความจริงที่ว่า สิ่งนี้ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์หลังสงครามของญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลานานแล้ว ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายดังกล่าว ทำให้เกิดการต่อสู้ที่ยอดเยี่ยม ที่มีอิทธิพลต่อศาลฎีกาและเปลี่ยนแปลงสังคม

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อัปเดตล่าสุด เหตุไฟไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์ เยาวราช ลุกลามหลายคูหา จนท.เจ็บ 2 ราย
"Kiddee Talk คิดดี ทำดี เริ่มที่ตัวเรา" ซีซั่น 2 วันแรกลุยสมุทรสงคราม ปลุกจิตสำนึกเด็กรุ่นใหม่รักบ้านเกิด เรียนรู้ความเป็นมาประวัติศาสตร์ไทย
ด่วน ไฟไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์ ถนนเยาวราช จนท.เร่งคุมเพลิง
“นันทนา” ไล่ส่งสว.เก่า จี้ กกต.รับรองก่อนสอยทีหลัง
"อนุทิน" ไม่ท้วงสธ.นำดอกกัญชา-กัญชง เป็นยาเสพติด แต่ข้องใจคกก.ชุดนี้มีมติกลับไปมา ถามแล้วจะทำอย่างไร กับคนมีใบอนุญาตปลูกผลิตยา
DSI บุกจับสาวบัญชีม้า "เครือข่ายพนันออนไลน์" คาร้านหนังสือ พบเงินหมุนเวียนกว่า 14 ล้านบาท
หนุ่มอุดรฯใจบาป เดินพ้นประตูเรือนจำไม่ถึง 5 นาทีถูกตำรวจรวบส่งตัวกลับเข้าคุก ฐานตระเวนลักเงินตู้รับริจาคของมูลนิธิชื่อดัง ได้เงินไปหลายแสน
วังช้างอยุธยาแลเพนียด เตรียมทำบุญครบรอบ 1 เดือนให้ช้างแฝดเพศผู้-เมีย คู่ประวัติศาสตร์ จากแม่พังจามจุรี
ทลายปาร์ตี้พูลวิลล่า นาจอมเทียน พบ วัยรุ่น กว่า 10 คน อัพยาเค เต้นสนุกสนาน
"ราชดำเนินเสวนา" ส่อง "สว.ใหม่" ความหวังหรือวิกฤตครั้งใหม่ หนุน "กกต." ประกาศรับรองผลก่อนแล้วสอยทีหลัง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น