รพ.ธรรมศาสตร์ ปรับกลยุทธ์ หลังผู้ติดเชื้อโควิดลดลง

รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ปรับกลยุทธ์ หลังผู้ติดเชื้อโควิดลดลง  ดูแลผู้ป่วยสีเขียว ผ่าน Home isolation  ทำเตียงใน รพ. - การใช้แพทย์ พยาบาล ลดลงตามไปด้วย

สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิค-19 ในประเทศไทยขณะนี้ ยอดผู้ป่วยรายใหม่ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่ ศบค.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการปรับยกระดับมาตรการป้องกันและมีการประกาศเคอร์ฟิว ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19   จากเดิม ผู้ป่วยรายใหม่ มีถึง 20,000 กว่าราย/วัน  ล่าสุด วันนี้เหลือแค่เพียง 13,798 ราย เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อที่หายป่วย วันนี้ 14,133 ราย  ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงสถานการณ์ว่า เริ่มดีขึ้น ทำให้โรงพยาบาลสนามต่าง ๆ ที่สร้างมาเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ต่างพากันส่งบุคลากรทางการแพทย์ กลับไปทำงานตามปกติ ส่วนอุปกรณ์การแพทย์ ยังคงเก็บไว้ เพื่อรอรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

และหลังจากที่แนวโน้มผู้ติดเชื้อนั้นลดลง ล่าสุด โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ฯ ก็ได้โพสต์ประกาศว่า จะมีการลดเตียงภายในโรงพยาบาล เนื่องจาก สถานการณ์เริ่มเบาบางลง  ทีมข่าว Top News  จึงได้สอบถามไปยัง  รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  ถึงประเด็นดังกล่าวว่า  ความต้องการนอนที่ รพ. นั้น ลดน้อยลงตามธรรมชาติ เพราะ รพ. มีสถานที่สำหรับการดูแล หรือ Home isolation และ Community isolation สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียว ซึ่งก่อนหน้า หากมีผู้ป่วยติดเชื้อ ก็ต้องนำมานอนรักษาโรงพยาบาลทุกราย  ตอนนี้หากมีผู้ป่วยประมาณ 100 ราย  รพ.ก็สามารถดูแลรักษาแบบ Home isolation และ Community isolation ได้ 80 ราย  อัตราส่วนของคนที่ต้องนอน รพ. หรือ รพ.สนาม ก็จะเหลือแค่ 20%  ก็เป็นการลดในส่วนอัตรากำลังของทีมแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยลงไปด้วย และเป็นการลดเตียงไปโดยปริยาย แต่ในส่วนของห้องและเตียง ยังไม่ได้หายไปไหน หากมีการระบาดระลอกใหม่ ก็จะสามารถจัดส่งทีมแพทย์เข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแลของ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ช่วงที่มีคนไข้มากที่สุดอยู่ที่ 120 ราย/วัน ปัจจุบัน เหลือเพียงแค่ 70 – 80 ราย/วัน  รพ.สนาม มีคนไข้มากที่สุดอยู่ที่ 420 ราย/วัน ลดลงเหลือ 150 ราย ไม่เกิน 180 ราย/วัน  ตอนนี้ ทุก ๆ รพ. และ รพ.สนาม ถ้าได้ผลบวกจาก ATK หรือ RT-PCR ก็พยายามแอดมิดทุกราย  ตนเข้าใจว่าบางแห่งยังใช้วิธีนี้อยู่   แต่ทาง รพ.ธรรมศาสตร์ฯ เริ่มปรับนโยบาย  โดยจะใช้วิธี  Home isolation กับ Community isolation ในการช่วยดูแลผู้ป่วยระดับสีเขียวเป็นหลัก  ซึ่งมั่นใจทำได้เต็มรูปแบบ เพราะ 1.ข้อจำกัดในการรับคนไข้ไม่มีแล้ว จะพยายามรับคนไข้ทุกรายที่ติดต่อมาให้ได้ 100%  2.การส่งอุปกรณ์ออกซิเจน กับ ยาฟาวิพิราเวียร์  รพ. สามารถจัดส่งให้คนไข้ได้ ภายใน 24 ชม. หลังจากที่รับคนไข้มาไว้ในการดูแล  3.การจัดส่งอาหาร 3 มื้อต่อวัน ในช่วง 14 วัน ที่อยู่ใน Home isolation   ส่วนในเรื่องการดูแลของทีมแพทย์กับพยาบาล ที่ต้องดูแลวันละ 2 ครั้ง ตรงนี้ทาง รพ. ก็ทำได้ตามเกณฑ์อยู่แล้ว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คนไทยสุดซาบซึ้ง “ภูฎาน” จัดทำบทเพลงพิเศษเพื่อต้อนรับ “ในหลวง-พระราชินี”
"ดีอี" เตือนผู้ได้รับการแจ้งผ่านแอปฯ Mobile Banking ให้ลงทะเบียน “ชื่อบัญชีตรงกับเบอร์โทร” ก่อน 30 เม.ย.68
สส.จิรวุฒิ ลงพื้นที่ 3 อำเภอ ชลบุรี บูมแหล่งท่องเที่ยว
ทรงพระปรีชาสามารถมาก "ผู้ชำนาญการบิน" เล่าเบื้องหลัง "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนภูฏาน ทรงเตรียมพระองค์ล่วงหน้า ฝึกซ้อมอย่างหนัก
สุดเศร้า ญาติเคลื่อนร่าง "4 ตร.กล้า" เหตุเครื่องบินเล็กตก กลับภูมิลำเนาไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
"ผู้ว่าฯกทม." พาชมชั้นใต้ดิน "ตึกสตง." พังถล่ม พบเสียหายไม่มาก เร่งค้นหาผู้สูญหายอีก 30 ราย
แหล่งท่องเที่ยว กองทัพเรือ พื้นที่ทัพเรือภาคที่ 2 ที่สวยงามและยั่งยืน
ทรัมป์จับเข่าคุยเซเลนสกีระหว่างพิธีปลงพระศพโป๊ป
พระศพโป๊ปถูกนำไปฝังไว้ที่วิหารซานตา มาเรีย มัจจอเร่
"เอกนัฏ" ล้างมาเฟีย มอก.-รื้อระบบเก่า ตั้ง 6 รายชื่อ “กมอ.ชุดใหม่” ร่วมปฏิรูปอุตฯ ต่อสู้แก๊งศูนย์เหรียญ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น