เปิดตำนาน “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” 1 ในเรือพระที่นั่ง “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค”

เรือสุพรรณหงส์

เปิดตำนาน "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" 1 ในเรือพระที่นั่ง "กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค"

เรือสุพรรณหงส์เปิดประวัติ “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” ซึ่งเป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พระราชพิธีสำคัญของประเทศไทย

 

เรือสุพรรณหงส์

 

Top News รายงาน กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ และในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 จะมีพระราชพิธีสำคัญของประเทศไทย นั่นคือ งานพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค” ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่ง “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” เป็น 1 ใน 4 เรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไปติดตามกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค หมายถึง

 

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค หมายถึง ริ้วกระบวนเรือพระราชพิธี ที่จัดขึ้นสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบการมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย, กรุงศรีอยุธยา, กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนปัจจุบัน

 

การจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน 4 ลำ คือ

 

  1. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
  2. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
  3. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
  4. เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์

 

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ประวัติ

 

“เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” เป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง และพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ข้อมูลในวิกิพีเดีย ระบุว่า มีชื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ราวปี 2091 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “สุวรรณหงส์” ดังทราบได้จากบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ฯ ที่ว่า

 

“สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย

งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์

เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์

ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม”

 

“เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” ลำปัจจุบัน เป็นเรือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ต่อขึ้นใหม่เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิม ผุพังเกินที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนชื่อเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีพลตรี พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่าง ประกอบพิธีลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454

โครงสร้าง “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์”

 

หัวเรือพระที่นั่ง มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง

 

เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน, นายเรือ 2 คน, นายท้าย 2 คน, คนถือธงท้าย 1 คน, พลสัญญาณ 1 คน, คนถือฉัตร 7 คน, คนขานยาว 1 คน โดยคนขานยาว ทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ

 

ทั้งนี้ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust เมื่อพุทธศักราช 2535 ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย

 

 

 

 

ที่มาข้อมูล : วิกิพีเดีย, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี, กองทัพเรือ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น