“เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” กับ ตำนาน ที่อาจไม่มีใครรู้

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ

เปิดที่มาอีกหนึ่งตำนาน “เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” ทำไมจึงเป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

 

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ

 

“เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” เป็นเรือพระราชพิธีอีก 1 ลำ ที่อยู่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งกองทัพเรือ ได้จัดให้มีการอัญเชิญเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ลงน้ำ ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 “เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” มีความเป็นมาอย่างไร Top News รายงาน

ข่าวที่น่าสนใจ

เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ประวัติ

 

เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ มีชื่อเดิมว่า “มงคลสุบรรณ” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อขึ้นตามแบบอย่างสมัยอยุธยา คราแรก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้สร้างเฉพาะโขนเรือรูปครุฑยุดนาค (พญาสุบรรณ) เท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปพระนารายณ์ประทับยืนบนหลังพญาสุบรรณทำให้เรือมีความสง่างามมากขึ้น และขนานนามเรือลำนี้ใหม่ว่า “นารายณ์ทรงสุบรรณ”

 

ต่อมา ในปี 2539 กองทัพเรือ ร่วมกับกรมศิลปากร ได้จัดสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ โดยนำโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากรดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539

 

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ความหมาย

 

นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ มีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 – 2394)

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ลักษณะ

 

หัวเรือเป็นรูป พระครุฑพ่าห์ มีช่องกลมสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ อยู่ที่หัวเรือใต้ตัวครุฑ มีความยาว 17 วา 3 ศอก กว้าง 5 ศอก 5 นิ้ว ลึก 1 ศอก 6 นิ้ว กำลัง 6 ศอก 6 นิ้ว พื้นท้องเรือภายนอก ทาสีแดง ฝีพาย 65 คน ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ได้มีพระราชดำริให้เสริมรูปพระนารายณ์ยืนประทับบนหลังครุฑ เพื่อความเป็นสง่างามของลำเรือ และเพื่อให้ต้องตามคติในศาสนาพราหมณ์ เทวรูปพระนารายณ์ ที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 4 นั้น สร้างด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจกองค์พระนารายณ์ทรงเครื่องภูษิตา ภรณ์และมงกุฎยอดชัยพระพักตร์และพระวรกายประดับกระจกสีขาบ (สีน้ำเงินเข้ม) มี 4 พระกร ทรงเทพศาสตราคือ ตรี คทา จักร สังข์ ตามคติของพราหมณ์ซึ่งปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ 1 ตอนกุมภกรรณต้องศรพระรามสิ้นชีวิต

แต่เมื่อมีการจัดสร้างเรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ ลำใหม่ โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนเห่เรือ 1 คน

 

และจากหลักฐานเกี่ยวกับการจัด “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค” ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฎว่า ได้มีการนำเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เข้าร่วมในกระบวนพยุหยาตรา ครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ กระบวนพยุหยาตราในการเสด็จเลียบพระนคร ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 21 พฤศภาคม 2394 และ ในพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมากุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 10 ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2429

เมื่อมีการจัดสร้างเรือพระราชพิธีลำใหม่ ในโอกาสที่รัฐบาลจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบ 50 ปีแห่งการครองราชย์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงได้จัดเข้ากระบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรก ในงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 และล่าสุด ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รัชกาลที่ 10 ในเดือนตุลาคมนี้

 

 

 

 

 

ที่มาข้อมูล : พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี, วิกิพีเดีย, เรารักพระเจ้าอยู่หัว

ขอบคุณภาพ เรือพระราชพิธี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น