“เรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์” เรือพระที่นั่ง รอง ตำนาน เผ่าพันธุ์นาค

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

“เรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์” เรือพระที่นั่งรอง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตำนาน เผ่าพันธุ์นาค ที่ประทับเปลื้องเครื่อง รัชกาลที่ 5

 

เรือพระที่งอเนกชาติภุชงค์

 

Top News รายงาน มาถึง เรือพระราชพิธี ลำสุดท้าย ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ “เรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์” จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 – 2453) ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็กๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่อง หรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จขึ้น หรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ

ข่าวที่น่าสนใจ

  • ประวัติ เรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์

 

ชื่อ “เรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์” มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า “อเนกะชาตะภุชงฺคะ” แปลว่า งูหลากหลายชนิด ซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ หรือไทยเรียกว่า นาค แต่ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้

 

ลักษณะเด่นคือ มีโขนเรือเชิดเรียว ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน แต่จำหลักและปิดทองเป็นรูปนาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง เผ่าพันธุ์นาค)

 

เรือมีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 91 เซนติเมตร กินน้ำลึก 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 61 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ

 

คนเห่ คือ พนักงานขานยาว คนถือธง เรียกว่า นักสราช เรือพระที่นั่งศรี หรือ เรียกเต็ม ๆ คือ เรือพระที่นั่งศรีสักราช

การจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2510 มีการงดจัดเรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์ เข้าร่วมขบวน เนื่องจากอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก โดยมีการซ่อมแซมบูรณะครั้งใหญ่ ในปี 2512 หลังซ่อมแซมแล้วเสร็จ ในปี 2515 หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำ เป็นรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก

เรือพระที่นั่ง มีอะไรบ้าง

 

  1. เรือพระที่นั่ง สุพรรณหงส์
  2. เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
  3. เรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช
  4. เรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์

ในปัจจุบันกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียน “เรือพระที่นั่ง” ไว้เป็นมรดกของชาติ และยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เมื่อปี 2517 โดยเรือพระราชพิธีทั้ง 4 ลำ เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย ใกล้สะพานอรุณอมรินทร์

 

และในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประชาชนชาวไทย จะได้รับชมความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค อีกครั้ง

 

 

 

ที่มาข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี 

ขอบคุณภาพ : เพจเฟซบุ๊ค เรือพระราชพิธี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น