ผู้ว่าการ กทพ. ประเมินสร้างสะพานข้ามเกาะช้างใช้งบ 10,000 ล้านบาท ขณะประชาชน เอกชน ราชการ ความเห็นตรงกัน สร้างสะพานเชื่อมเกาะช้าง แนวที่ 1 ระยะทาง 8 กิโลเมตร จุดต้นบ้านหนองเตียน ระบุ สร้างได้ประโยชน์ทั้งจังหวัด แหลมงอบตื่น เมืองตราดโต คณะศึกษาฯ เผย ศึกษา 3 ด้าน 2 ปี ขออนุมัติ 2 ปี เริ่มก่อสร้างปี 72 เปิดใช้สะพาน ปี 76

จ.ตราด/เวลา 09.30 น. วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ที่ห้องประชุพลอยแดง ศาลากลางจังหวัดตราด นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พร้อมคณะศึกษางานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดตราด (คณะกรรมการ กรอ. จังหวัดตราด) เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล “โครงการทางการพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด”

เบื้องต้น คณะศึกษาฯ จะรับฟังและทบทวนแนวเส้นทางเชื่อมเกาะช้าง จำนวน 2 แนว คือ เส้นทางที่ 1 ระยะ 8.20 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ระยะทาง 5.59 กิโลเมตร

จากการศึกษาเดิม พบว่า เส้นทางที่ 1 (เส้นสีชมพู)ระยะ 8.20 กิโลเมตร เริ่มต้น : บ้านยายม่อม – บ้านหนองเตียน อ.แหลมงอบ จ.ตราด จุดสิ้นสุด : หน้าโรงพยาบาลเกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ประชาชนชาวอำเภอแหลมงอบและอำเภอเหาะช้าง มีมติเสียงข้างมาก 472 เสียง จาก 476 เสียง ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนเมื่อวันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2566

ส่วนแนวเส้นทางเลือกที่ 2 (เส้นสีเขียว) ระยะทางประมาณ 5.59 กิโลเมตร จุดเริ่มต้น : บนถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 4006 บริเวณบ้านธรรมชาติล่างต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด (ใกล้เคียงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ อ.แหลมงอบ) จุดสิ้นสุด : บนถนน อบจ.ตร. บริเวณอ่าวสับปะรดต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด (ใกล้เคียงท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวสับปะรด อ.เกาะช้าง)

นายนายครรชิต วิลัยศิลป์ วิศวกรงานทางอาวุโสกล่าวว่า คณะศึกษาได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการ เพื่อให้ได้แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยแนวเส้นทางที่ 1 จุดเริ่มต้นมีทั้งหมด 3 จุด จุดสิ้นสุดมีทั้งหมด 2 จุด แนวเส้นทางที่ 2 จุดเริ่มต้น 2 จุด จุดที่สิ้นสุด 3 จุด และการพิจารณาแนวเส้นทางนั้น จะต้องพิจราณา ทิศทางของกระแสลม ,เส้นทางการเดินเรือชนิดต่าง ๆ ,ความลึกของท้องทะเล , ทิศทางการไหลของกระแสน้ำทะเล ,ความเร็วของกระแสน้ำทะเล รวมทั้งหลีกเลี่ยงกานเกิดผลกระทบต่อพื้นที่อ่อนไหงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ปะการัง,หญ้าทะเล,ที่อยู่อาศัยปลาโลมา ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณา “โครงการทางการพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด” มี 3 ด้านคือ ด้านวิศวกรรม ด้านเศษรฐกิจและการลงทุน ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการศึกษา 24 เดือน

ข่าวที่น่าสนใจ

นายนายสมเกียรติ โมครัตน์ ผู้อนวยการแขวงทางหลวงตราดและนาย จตุพิธ นามสนิท ผู้อำนวยแขวงการทางหลวงชนบทตราด ได้แนะนำให้คณะศึกษาให้หลีกเส้นทางที่อาจจะเวนคืน เพราะจะต้องเสียเวลาการเวนคืนอีก 2 ปี ซึ่งแนวเส้นทางที่ 1 ถนนเส้น 3156 เหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ

หลังจบการประชุมแล้วนายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า จากการรับฟังความคิดเห็นของชาวตราดที่เข้ามาสะท้อนความรู้สึกร่วมกันว่า ต้อบการได้สะพานข้างเกาะช้างเป็นเสียงเดียวกัน วันนี้การทางพิเศษฯได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้มาศึกษาถึงเรื่องความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางด่วนหรือสะพานข้ามเกาะช้าง ที่ผ่านมาได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาศึกษาความเหมาะสมและพบว่า มีข้อเสนอแนะพิเศษบางเรื่องที่การทางพิเศษต้องได้รับข้อมูลเพิ่มเติมวันนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามารับฟังข้อคิดเห็นและรับรู้ว่าชาวตราดมีความต้องการอยากได้สะพาน ข้ามเกาะช้างมากเรารู้ดีว่าโครงการขนาดใหญ่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะเส้นทางที่สะพานจะเชื่อมไปยังฝั่งเกาะช้างว่าจะอยู่บริเวณไหนวันนี้เป็นการแสดงคอมมิทเม้นท์ ว่าการทางพิเศษจะ จะทำโครงการไปได้ถึงไหนซึ่งทุกโครงการที่ทำเชื่อว่าไม่ว่าจะทำพื้นที่บริเวณไหนก็จะสร้างความเจริญให้กับจังหวัดตราดซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดตราดและเกาะช้างซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย จึงเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะเข้ามาดูพื้นที่และเข้าไปศึกษาสภาพพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างทั้งฝั่งอำเภอแหลมงอบและฝั่งอำเภอเกาะช้างและเชื่อว่าภายในสองปีนี้จะมีการลงพื้นที่ของการทางพิเศษ อย่างต่อเนื่องและได้ข้อสรุปอย่างชัดเจนในการดำเนินนโยบายของทางรัฐบาลให้มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์กับทางจังหวัดตราด

“สำหรับการประเมินค่าก่อสร้างในการสร้างสะพานข้ามก่อสร้างครั้งนี้ประเมินไว้ขั้นต่ำประมาณ 10,000 ล้านบาทแต่ผมยังไม่ต้องการที่จะนำมาเป็นปัจจัยในการกำหนดกำหนดโครงการเนื่องจากยังยังต้อง ยังต้องพิจารณาเงื่อนไขหลายหลายอย่างร่วมกันเนื่องจาก ยังต้องเดินทางมาศึกษาผลกระทบอีกหลายครั้งจึงยังไม่ต้องการที่จะพูดอะไรมากกว่านี้เพราะอาจจะมีการปรับเปลี่ยนในภายหลังได้แต่สิ่งที่จะยืนยันกับพี่น้องประชาชนชาวตราดในขณะนี้ก็คือการทางพิเศษ ยืนยันว่าจะทำโครงการนี้ให้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด“

จากนั้นคณะของผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เดินทางไปพร้อมกับนายสมเกียรติ สมรรถการ ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาความคิดเห็นของชาวตราดเรื่องสะพานข้ามเกาะช้าง ไปยังพื้นที่ที่ได้มีการศึกษาไว้เบี้ยงต้น 2 จุด จบแล้วเดินทาบไปยังอำเภอเกาะช้างเพื่อตรวจสอบพื้นที่เชื่อมสะพานที่ฝั่งอำเภอเกาะช้าบที่มีนายสัญญา เกิดมณี นายกเทศบาลตำบลเกาะช้างนำไป

สำหรับไทม์ไลน์ “โครงการทางการพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด”
ปี พ.ศ. 2567 – 2569 ดำเนินการศึกษาความเหมาสม ฯ
ปี พ.ศ. 2569 – 2572 ขออนุมัติ EIA และขออนุมัติโครงการ คัดเลือกผู้รับจ้าง
ปี พ.ศ. 2572 ดำเนินการก่อสร้างโครงการ
ปี พ.ศ. 2576 เปิดใช้สะพาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร
"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น