กทม.ทำวุ่น ชาวบ้านร้อง Top news สำนักระบายน้ำ แก้ปัญหา 2 มาตรฐานบ้านรุกล้ำคลอง กระทบโครงการพัฒนาบ้านมั่นคงฯอย่างแรง

กทม.ทำวุ่น ชาวบ้านร้อง Top news สำนักระบายน้ำ แก้ปัญหา 2 มาตรฐานบ้านรุกล้ำคลอง กระทบโครงการพัฒนาบ้านมั่นคงฯอย่างแรง

กทม.ทำวุ่น ชาวบ้านร้อง Top news สำนักระบายน้ำ แก้ปัญหา 2 มาตรฐานบ้านรุกล้ำคลอง กระทบโครงการพัฒนาบ้านมั่นคงฯอย่างแรง

วันที่ 10 ก.ค. 67 ทีมข่าวท็อปนิวส์ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านชุมชนมิตรประชาพัฒนา เขตหลักสี่ กทม.ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังจากที่ทางสำนักงานระบายน้ำของ กทม.ได้ดำเนินการโครงการบ้านมั่นคงตามนโยบายของรัฐบาล ในการสร้างเขื่อนริมคลองของโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดในการพัฒนาชุมชน โดยที่ทางเจ้าหน้าที่มีทางเลือกพิเศษให้กับชุมชนอื่นโดยที่ไม่ต้องออกจากพื้นที่พักอาศัยเดิม เพียงยอมถูกตัดบ้านส่วนที่ล้ำเกินเส้นแนวเขื่อนก็สามารถอยู่ที่เดิมได้ แถมไม่ต้องเป็นหนี้ แต่ในทางกลับกัน ชาวบ้านชุมชนมิตรประชาพัฒนาไม่มีทางเลือกดังกล่าว จึงจำใจต้องยอมเป็นหนี้ เพราะถูกรื้อบ้านและต้องไปอยู่ในบ้านหลังใหม่ของโครงการบ้านมั่นคง จึงเกิดเป็นข้อพิพาทระหว่างชุมชนอื่นซึ่งมีทางเลือกพิเศษให้ แต่ชุมชนของตนเองกลับไม่มีทางเลือกต้องตกเป็นหนี้โครงการหลายแสนบาท

บ้านรุกล้ำคลอง

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดย นายสุนทร ชื่นใจ อายุ 54 ประธานสหกรณ์เคหะสถานชุมชนมิตรประชาพัฒนาจำกัด เผยว่า โครงการบ้านมั่นคง ได้ดำเนินการพัฒนาคลองลาดพร้าวซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบมาสำเร็จแล้ว ทางชุมชนเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีในการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ภาครัฐและชาวบ้านในชุมชนในการทำข้อตกลงในการที่จะพัฒนาชุมชน ในรูปแบบ “รื้อบ้าน” ที่อยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ตามโมเดลของโครงการบ้านมั่นคง ให้เป็นแบบเดียวกันตลอดตามคลอง เพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ รวมไปถึงสร้างรายได้ และหมดข้อครหาในการรุกล้ำที่สาธารณะ ซึ่งมีบ้านประมาณ 5 หลังที่ไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรื้อบ้าน และไม่ย้ายมาอยู่ในโครงการบ้านมั่นคง แต่อย่างไรก็ตามบ้าน 5 หลังดังกล่าวจะต้องถูกฟ้อง เพราะบ้านอยู่ในพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่เป็นปัญหาในการดำเนินโครงการสร้างบ้านและเขื่อน

 

โดยในระหว่างที่กำลังสร้างเขื่อนอยู่นั้น ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานระบายน้ำก็ได้ไปติดต่อชุมชนอื่นที่อยู่ในเส้นคลองเดียวกัน แต่มีการเสนอทางเลือกพิเศษให้กับชาวบ้านชุมชนอื่น โดยที่ว่าเป็นการ “ตัดบ้านคืนคลอง” ก็คือตัดบ้านส่วนที่เลยเส้นแนวเขื่อนออกพร้อมกับซ่อมแซมให้ฟรีโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทางตนได้มีการเตือนไปยังทางสำนักงานระบายน้ำแล้ว ว่าอย่าดำเนินการแบบนี้เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเป็นวงกว้าง มีข้อพิพาทและมีข้อเปรียบเทียบระหว่างชุมชนอื่น ส่งผลกระทบต่อชุมชนผู้ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วและที่กำลังดำเนินการอยู่ ปัญหาก็คือผู้ที่เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง จะต้องเป็นหนี้ประมาณ 400,000 ถึง 500,000 บาทต่อ 1 หลัง ค่าผ่อนบ้านจะตกอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ แต่ผู้ที่เลือกทางเลือกพิเศษ คือ “ตัดบ้านคืนคลอง” ไม่ต้องตกเป็นหนี้และยังได้อยู่บ้านหลังเดิมโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ในเมื่อเราอยากพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มากขึ้น แต่ทำไมทางเจ้าหน้าที่นั้นไม่มีการเรียกประชุมปรึกษาหารือกันระหว่างชุมชน และไม่เสนอทางเลือกหรือบังคับใช้ให้เหมือนกันทุกชุมชน

 

 

ทั้งนี้ฝั่งชาวชุนชนอื่นที่เลือก “ตัดบ้านคืนคลอง” ทีมข่าวเราได้ลงพื้นที่ไปยังชุมชนเปรมสุขสันต์ และได้พบกับ นางสาววิไลวรรณ พรายจันทร์ อายุ 67 ปี ประธานชุมชน จึงได้สอบถามว่า ทำไมถึงไม่ร่วมโครงการบ้านมั่นคง โดย นางสาววิไลวรรณ เผยว่า ตนและชาวบ้านได้ร่วม “โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง” ตามที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ติดต่อเข้ามา ซึ่งทางชาวบ้านก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัย และให้ชุมชนนั้นเป็นกฎระเบียบยิ่งขึ้น แต่ในตอนที่ทางเจ้าหน้าที่ติดต่อมานั้น เจ้าหน้าที่ก็ได้เสนอว่ามีทางเลือกให้กับชาวบ้าน 3 ทาง คือ 1.รื้อบ้านและไปอยู่บ้านโครงการบ้านมั่นคง 2.ย้ายไปพักอาศัยอยู่ที่อื่น และ 3.ตัดบ้านคืนคลอง

 

 

ซึ่งแน่นอนว่าชาวบ้านชุมชนเปรมสุขสันต์เลือก “ตัดบ้านคืนคลอง” เหตุผลเพราะชาวบ้านในชุมชนส่วนมากมีอายุ 60 ปีขึ้นไปพักอาศัยอยู่ที่นี่เยอะ และไม่มีกำลังทรัพย์ ในการจะย้ายไปอยู่ที่อื่น ถึงแม้พวกตนจะรู้ว่าบุกรุกพื้นที่สาธารณะอยู่ แต่ก็ไม่มีความคิดว่าจะอยากได้พื้นที่นี้ หรืออยากได้โฉนดมาครอบครอง หาทางเจ้าหน้าที่มีความจำเป็น จะขับไล่ชาวบ้านในชุมชนออกจากพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อน พวกต้นก็ยินดี แต่ขอให้มา วางแผนจัดการ ในการ เอาชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่เพื่อมาให้ตกมาเป็นขยะสังคมไร้ที่อยู่

ส่วนที่ชุมชนอื่นไม่มีทางเลือกเหมือนกับชุมชนเปรมสุขสันต์ อันนี้ตนไม่ทราบ เพราะทางหน่วยงานรัฐไม่มีการเรียกประชุมร่วมกับชุมชนอื่น เลยแม้แต่ครั้งเดียว

 

 

 

 

สำหรับ “โครงการบ้านมั่นคง” เป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมายให้ทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานบ้านมั่นคงรับผิดชอบดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนคนจนเมืองทั่วประเทศ สร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดินพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมชุมชน และการพัฒนาที่อยู่อาศัย จนนำมาสู่โครงการต่อยอดนั้นก็คือ “โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง” การบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัย ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการ รุกล้ำลำคลองของชุมชนผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลจึงมีคำสั่งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 9/2560 เรื่อง การดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร ที่มีหลายหน่วยงานเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกลำน้ำสาธารณะ โดยการก่อสร้างเขื่อนริมคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ และนำไปสู่การ พัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างความมั่นคงและสิทธิการครอบครองที่ดินและที่อยู่อาศัยของประชาชนผู้มีรายได้น้อย

 

 

การก่อสร้างบ้านใหม่ จะต้องรื้อย้ายบ้านเดิมที่ลุกล้ำลำคลองสาธารณะซึ่งมีทั้งในคลอง ริมตลิ่ง และบนบก ขึ้นมาจัดระเบียบร่วมกันให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายด้านการก่อสร้างอาคารและสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลอง รวมไปถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตราการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.ลงพื้นที่ "นครพนม" ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัย
"พิพัฒน์" ยันค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ประกาศขึ้น 1 ต.ค.นี้ ชี้เตรียมมาตรการช่วยทั้ง "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ไว้พร้อมแล้ว
"เทศบาลตำบลกะรน" ภูเก็ต เร่งอพยพชาวบ้าน หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง หวั่นดินสไลด์ซ้ำ
สุดยิ่งใหญ่! งานฉลอง “เทศกาลคเณศจตุรถี 2567” ลอยองค์พระพิฆเนศกลางอ่าวพัทยา ส่งองค์มหาเทพกลับสู่วิมานเบื้องบน ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ชาวบ้านหนองปลาไหลโวยโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกลิ่นนานนับปี นายกสั่งเร่งแก้ไขทันที
สพฐ.สั่งเด้ง "ผอ.สพม.สระแก้ว" ปมครูสาวสอบติดอันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน
"นายกฯ" ให้คำมั่น เดินหน้ามาตรการเยียวยาน้ำท่วม ลดขั้นตอนยุ่งยาก เน้นทำรวดเร็ว ช่วยชาวบ้านทุกมิติ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
3 ชนเผ่าพื้นเมือง เขมร กูย ลาว ร่วมกันประกอบพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ แบบโบราณ และทำข้าวต้มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สื่อจีนเตรียมถ่ายทอดงานฉลองวันไหว้พระจันทร์ทั่วโลก
ชุดปฏิบัติการ USAR กองทัพเรือ เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนชาวเชียงราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น