“ภูเก็ต” ทำหนังสือด่วนที่สุด ให้ทุกหน่วยงาน เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก 13-17 ก.ค.นี้

"ภูเก็ต" ทำหนังสือด่วนที่สุด ให้ทุกหน่วยงาน เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก 13-17 ก.ค.นี้

ภูเก็ต” ทำหนังสือด่วนที่สุด ให้ทุกหน่วยงาน เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก 13-17 ก.ค.นี้

วันที่ 11 ก.ค. 67 นายศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ลงนามหนังสือโทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ด่วนที่สุด ที่ ภก (กปภจ)0021/ว 0122 ถึง นายอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ ทุกอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ทุกแห่ง และหัวหน้าส่วนราชการ ทุกส่วนราชการ

โดยระบุว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยงประกอบกับประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฉบับที่ 1 (15/2567) ลงวันที่11 กรกฎาคม 2567เวลา 11.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 13 – 17 กรกฎาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดภูเก็ต สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภูเก็ต

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินโคลนถล่ม และคลื่นลมแรงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จึงให้อำเภอ ทุกอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสภาวะอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก หรือบริเวณฝนตกสะสมและบริเวณพื้นที่สูงดินอุ้มน้ำสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มได้ ติดตามสถานการณ์บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง และส่งผลกระทบกับบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ แจ้งเตือนให้กับประชาชนในพื้นที่รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว

2. สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบประกาศแจ้งเตือน และปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด กรณีเกิดสถานการณ์อุทกภัยในทางลอดหรืออุโมงค์ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบปิดกั้นพื้นที่จราจรและสูบน้ำออกโดยเร็ว เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดสะสมและความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่สี่ยงภัยดังกล่าว ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำท่วมขัง ขอให้ระมัดระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ในกรณีที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายให้ตัดกระแสไฟฟ้าทันที

3. กรณีคลื่นลมแรง ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวังให้มากขึ้น และหากสถานการณ์ในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรง ให้พิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด

4. หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่ม ให้เร่งการระบายน้ำ จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำลันตลิ่ง น้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในบริเวณที่ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้แล้ว ให้ดำเนินการเดินเครื่องสูบน้ำทันทีก่อนปริมาณน้ำถึงระดับวิกฤติ และในบริเวณที่คาดว่าจะมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ในพื้นที่

 

5.ในพื้นที่เสี่ยงน้ำป่าไหลหลาก และ ดินโคลนถล่ม ให้จัดเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัคร เฝ้าระวังสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง ปริมาณน้ำ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงสี และความขุ่นของน้ำ รวมทั้งติดตั้งสัญญานการแจ้งเตือน และใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์แจ้งเตือนที่มีอยู่ในพื้นที่ หากคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำป่าไหลหลาก หรือดินโคลนถล่ม ให้แจ้งเตือนประชาชนอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย กรณีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำมีความเสี่ยงจากน้ำป่ไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง แจ้งเตือนประชาชนให้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและอพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย

6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัย ให้แจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอำเภอในพื้นที่ รวมทั้งสามารถแจ้งผ่านทางโทรศัพท์สายด่วนนิรภัย 1784 ทางโทรศัพท์หมายเลข 076 5100980 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID : @1784DDPM และกำชับให้เจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุประจำอยู่ในสำนักงานและอยู่ในพื้นที่พร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง

7. หากเกิดเหตุสาธารณภัย และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ใด ให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินการสรุปสถานการณ์และรายงานให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ทราบต่อเนื่องทุกวัน ทางโทรสารหมายเลข076 510098 หรือ ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น