ย้อนเส้นทาง “ปลาหมอคางดำ” ปฎิบัติการล่า ปลาปิศาจ เอเลี่ยนสปีชีส์

ปลาหมอคางดำ

จากปรากฎการณ์ “ปลาหมอคางดำ” หรือ ปลาหมอสีคางดำ ที่ว่ากันว่าเป็น เอเลี่ยนสปีชีส์ รุกราน แพร่กระจาย แหล่งน้ำในประเทศไทย ทำลายระบบนิเวศ มานานหลายสิบปี จนกลายเป็นวาระแห่งชาติ Top News สรุปไทม์ไลน์ ปลาหมอคางดำ มาจากไหน อันตรายอย่างไร

 

ปลาหมอคางดำ

 

Top News รายงาน ความพยายามในการกำจัด “ปลาหมอคางดำ” ปลาปิศาจ ไม่ได้เพิ่งเริ่มต้น แต่หากย้อนอดีตไปกว่า 10 ปี “ปลาหมอคางดำ” ระบาดอย่างหนักมาแล้ว แม้กรมประมง จะไล่จับยังไงก็ไม่หมดไป ล่าสุดพบว่า มีการแพร่กระจายไปใน 13 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งแถบอ่าวไทย รวมถึง กทม. ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงอาชีพประมงอย่างหนัก

ปลาหมอคางดำ

ข่าวที่น่าสนใจ

ปลาหมอคางดำ มาจากไหน

 

จากข้อมูลในประเทศไทย พบหลักฐานการนำเข้า “ปลาหมอคางดำ” (Blackchin tilapia) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำในทวีปแอฟริกา มาจากสาธารณรัฐกานา เพื่อนำมาวิจัยปรับปรุงพันธุ์กับปลานิลโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ช่วงปี 2549-2553 แต่ก็เลี้ยงได้ไม่นาน การวิจัยไม่ประสบความสำเร็จ ทางบริษัทแจ้งว่า ปลาเริ่มตายและได้ทำลายซากไปหมดแล้ว

 

หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2555 กลับพบปลาหมอคางดำ กลับมาระบาดอีกในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม โดยพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อนรุกรานไปในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น เพชรบุรี, สมุทรสาคร, ระยอง, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, นครศรีธรรมราช และล่าสุด ระบาดเข้าในพื้นที่ กทม.แล้ว

 

การระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ที่เกิดขึ้น ทำให้ในปี 2561 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 11 นำเสนอประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ.2561 ลงนามโดย นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ จึงสมควรกำหนดชนิดสัตว์น้ำบางชนิดที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 หรือที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

  1. ปลาหมอสีคางดำ Sarotherodon melanotheron RÜppell,1852
  2. ปลาหมอมายัน Cichlasoma urophthalmus (GÜnther,1862)
  3. ปลาหมอบัตเตอร์ Heterotilapia buttikoferi (Hubrecht,1881)

 

โดยมีบทลงโทษ หากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสองต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นที่สงสัยว่า แล้วทำไม “ปลาหมอคางดำ” จึงกลับมาแพร่กระจายได้อีก

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ อันตรายยังไง

 

ปลาหมอคางดำ ถูกจัดอยู่ในตระกูล Cichlidae ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ ขนาดตัวโตเต็มวัย ลําตัวยาวถึง 8 นิ้ว มีสีดําบริเวณหัว และบริเวณแผ่นปิดเหงือก ถือเป็นสัตว์จำพวก “เอเลี่ยนสปีชีส์” ปรับตัวได้กับทุกแหล่งอาศัย ทนต่อความเค็มได้สูง เพศเมียสามารถผสมพันธุ์ทุก 22 วัน วางไข่ได้ทั้งปี ทำให้ปลาหหมอคางดำแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

 

โดยอาหารของปลาหมอคางดำคือพืช และสัตว์ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกหอยสองฝา และกุ้ง ทั้ง กุ้งกุลาดํา กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย ฯลฯ รวมถึงซากสัตว์ และมีรายงานว่า เกษตรกรวิดบ่อเพื่อจับกุ้ง ก็พบว่าไม่มีกุ้งเหลือแม้แต่ตัวเดียว แต่สิ่งที่ได้มาคือ ปลาหมอคางดำ เต็มบ่อ นั่นจึงเป็นเหตุผลของ ปลาหมอคางดำ อันตรายยังไง

 

ปลาหมอคางดำ

วิธีกำจัด ปลาหมอคางดำ

 

การกำจัดปลาหมอคางดำ ถ้าใช้กระบวนการแบบธรรมชาติ ต้องใช้ปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาเก๋า แต่ปัญหาคือ มักจะอยู่ตามแหล่งน้ำที่สะอาด แต่พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยสะอาด ทำให้ปลาเก๋าไม่สามารถอยู่ได้ และอีกแนวทางคือ การระดมชาวบ้านในการจับปลาหมอคางดำ ตามแหล่งน้ำชุมชน

 

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ กินได้ไหม

 

ต้องตอบว่ากินได้ และเป็นหนึ่งในวิธีการกำจัด “ปลาหมอคางดำ” ตามธรรมชาติ ซึ่งเนื้อของปลาหมอคางดำ สามารถนำมารับประทานได้ โดยเฉพาะเมนู แดดเดียว มีรสชาติที่อร่อย ซึ่งบางคนก็มีทำวิจัย ในการนำปลาหมอคางดำไปหมักเป็นน้ำปลา ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะต้องถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวบ้าน เพื่อให้นำไปแปรรูปได้หลากหลายวิธี และจะเป็นผลดีในการกำจัด

 

 

 

 

 

แหล่งที่มาข้อมูล : วิกิพีเดีย, fishingthai

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่
เปิดใจเจ้าของป้ายสุดแปลก "รับซื้อบ้านผีสิง" ยันซื้อจริง ไม่คอนเทนต์
“บิ๊กโจ๊ก” รอฟ้าเปิด ความจริงปรากฎ-คัมแบ็คตร. เจ็บมาเยอะแค่นี้ไม่สะเทือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น