อย่าลืมประเด็นไทยส่งออกปลาหมอคางดำกว่า 3 แสนตัว

กระแสปลาหมอคางดำในขณะนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นการกระตุ้นและเชิญชวนชาวบ้านในพื้นที่ที่พบปลาชนิดนี้ให้ได้ช่วยกันจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ ได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของหลายฝ่ายในการตามล่าปลาชนิดนี้แล้วก็เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องสามารถควบคุมประชากรปลาหมอคางดำได้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เข้ามาทำให้ปลาเป็นหมัน ซึ่งน่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในอีกไม่กี่ปี เมื่อประกอบกับมาตรการหลากหลายข้อที่กรมประมงและทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการ ก็น่าจะบรรลุเป้าประสงค์ได้เร็วยิ่งขึ้น

ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ มีการเปิดเผยถึงผู้ขออนุญาตนำเข้าปลาชนิดนี้อย่างถูกต้องเพียงรายเดียว จนทำให้หลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นสาเหตุของการระบาดดังกล่าว ทั้งๆที่ข้อเท็จจริง คือการนำเข้าสัตว์ต่างถิ่นมายังราชอาณาจักรนั้น เป็นไปได้ 2 วิธี นั่นคือ 1.) ขออนุญาตนำเข้า และ 2.) การลักลอบนำเข้า

ขณะที่เอกชนผู้ขออนุญาตถูกต้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงตามหนังสือที่ยื่นต่อคณกรรมาธิการฯ ถึงวิธีการนำเข้าและการทำลายทั้งหมดไปเรียบร้อยแล้ว น่าเสียดายที่ไม่มีใครพูดถึงข้อมูลอีกด้านที่เกี่ยวข้องกับปลาหมอคางดำ

ในเว็บไซด์ของกรมประมง มีข้อมูลของ กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กล่าวถึง การส่งออกปลาหมอสีคางดำเป็นปลาสวยงามไปต่างประเทศถึง 15 ประเทศ ในช่วงปี 2556-2559 รวมจำนวน 323,820 ตัว คิดเป็นมูลค่า 1,510,050 บาท โดยประเทศปลายทางที่สั่งซื้อปลาหมอสีคางดำจากไทย ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล อิหร่าน เลบานอน ตุรกี อียิปต์ ซิมบับเว รัสเซีย โปแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา ปากีสถาน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
https://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/201802221729471_pic.pdf )

ข้อมูลนี้สะท้อนว่าประเทศไทยมีการนำเข้าพ่อ-แม่พันธุ์ปลาหมอสีคางดำ เข้ามาเพาะเลี้ยงในกลุ่มปลาสวยงาม และสร้างรายได้ด้วยการส่งออกเรื่อยมา ก่อนที่ กรมประมงจะมีประกาศห้ามนำเข้า ส่งออก หรือเพาะเลี้ยง ในปี พศ.2561 โดยบริษัทเหล่านี้ ไม่ปรากฎรายชื่อ “ผู้ขออนุญาตนำเข้า” ให้สืบค้นเลยแม้แต่รายเดียว จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะนำเข้ามาโดย ไม่มีการขออนุญาตใดๆ ตรงนี้หากภาครัฐไม่ว่าจะเป็น กรมประมง หรือ กรมศุลกากร จะเปิดเผยชื่อผู้ส่งออกปลากว่า 3 แสนตัวนี้ ก็จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ประเทศไทยมีการนำเข้าสัตว์ต่างถิ่นกันมากมาย และส่วนใหญ่ไม่ขออนุญาตอย่างเป็นทางการ ขณะที่ช่วงปี 2549 ซึ่งมีการขออนุญาตนำเข้านั้นยังไม่เคยปรากฎรายงานในโลกนี้ว่า ปลาหมอสีคางดำเป็นปลาต่างถิ่นกลุ่มรุกราน ( Invasive alien species ) ดังนั้น การที่กรมประมงอนุญาตให้นำเข้ามาค้นคว้าวิจัยในช่วงนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด เนื่องจากเพิ่งมารู้ภายหลังว่าเป็นสายพันธุ์รุกราน เมื่อพบการระบาดจากฟาร์มปลาสวยงามในสหรัฐ

ในส่วนของการทำลายสัตว์ต่างถิ่น เชื่อว่านักวิจัยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและระมัดระวังเรื่องเชื้อโรคที่อาจติดมากับสัตว์ต่างถิ่นเสมอ เมื่อพบสัตว์ป่วย ไม่แข็งแรงและทยอยตายลง วิถีในการทำลายสัตว์เหล่านี้อย่างถูกต้องตามหลักวิชา ก็เป็นพื้นฐานความรู้ที่นักวิจัยทุกคนถือปฏิบัติ นับเป็นข้อดีที่กรมประมงกำหนดเป็นเงื่อนไขแก่ผู้ได้รับอนุญาต ส่วนผู้ที่ไม่ได้ขออนุญาต ย่อมไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดใดๆ ของรัฐ

การติดตามข้อมูลผู้ส่งออกปลา จึงอาจทำให้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่าง และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย รวมถึงจะช่วยหยุดการโฟกัสผิดจุด แล้วมุ่งเดินหน้าแก้ปัญหาให้ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมกลับมาดังเดิมโดยเร็วที่สุด ซึ่งดีกว่าการพยายามหาคนผิดที่คาดว่าอาจไม่มีทางหาเจอ

โดย อุทก สาครกุล

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันฯ สร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดัน “จังหวัดจันทบุรี” เป็น “Soft Power” ระดับประเทศ
นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น