“นายกฯ” แจงสภาฯขออนุมัติงบฯรายจ่าย 67 เพิ่ม นำใช้ “ดิจิทัล วอลเล็ต” ยันจำเป็นกระตุ้นศก.ประเทศ

"นายกฯ" แจงสภาฯขออนุมัติงบฯรายจ่าย 67 เพิ่ม นำใช้ "ดิจิทัล วอลเล็ต" ยันจำเป็นกระตุ้นศก.ประเทศ

นายกฯ” แจงสภาฯขออนุมัติงบฯรายจ่าย 67 เพิ่ม นำใช้ “ดิจิทัล วอลเล็ต” ยันจำเป็นกระตุ้นศก.ประเทศ

วันที่ 17 ก.ค. 67 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงินจำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงหลักการและเหตุผลตอนหนึ่งว่า การตั้งงบประมาณร่ายจ่ายเพิ่มเติม รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการดำรงชีพสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ ควบคู่กับการรักษาระดับการบริโภค และการลงทุนในประเทศ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันเป็นกรณีที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยไม่สามารถรองบประมาณปี 68 ได้ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท สำหรับประมาณการเงินที่ได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมนี้ มีดังนี้ 1.ภาษีและรายได้อื่น โดยเป็นแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการจำนวน 10,000 ล้านบาท 2.เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 112,000 ล้านบาท

นายกฯ

ข่าวที่น่าสนใจ

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ต่างๆ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตและการดำรงชีพ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และภาคธุรกิจ ควบคู่กับการรักษาระดับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวัลเล็ต โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ,รัฐธรรมนูญ ,พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ,พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ,ยุทธศาสตร์ชาติ ,แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ชาติ ,แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ฯลฯ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.0 ถึง 3.0 ค่ากลางร้อยละ 2.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ การฟื้นตัวของภาครัฐ การท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุน และการกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ ของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก อย่างไรก็ตามอย่างมีข้อจำกัด และปัจจัยเสี่ยงของภาระหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ที่ยังอยู่ในระดับสูง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางภาคการเกษตร ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจการเงินโลกที่อยู่ในเกณฑ์สูง และมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยเม็ดเงินจำนวนมากจะไหลจากภาครัฐไปสู่ ภาคเอกชน ก่อให้เกิดการสั่งซื้อสินค้า การบริการ และหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนฐานะการคลังนั้น นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า หนี้คงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 มีจำนวน 11,523,700.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.78 ของจีดีพี ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของจีดีพี ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 มีจำนวน 394,259.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารได้รับและรายจ่าย ของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด ขณะที่ฐานะการเงินด้านการต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน มีเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จำนวน 221,069.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 2.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก

นายรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับกรอบวงเงินเดิมตามพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2567 จำนวน 3,480,000 ล้านบาท จะทำให้ในปีงบประมาณ 2567 มีงบประมาณรายจ่ายรวม 3,602,000 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่างบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเมื่อรวมกับกรอบวงเงินเดิมตามพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2567จะขาดดุลเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนไว้ในงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 97,600 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายลงทุนตามพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2567 จำนวน 710,080.5 ล้านบาท จะทำให้มีรายจ่ายลงทุนรวมกว่า 800,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณ 2566 หรือ ร้อยละ 17.1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.4 ของวงเงินงบประมาณรวม

 

 

นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปว่า การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นการใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินไหลไปสู่ประชาชนและภาคธุรกิจ สร้างการเจริญเติบโตให้กับประเทศ พัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามกฎหมาย

 

หลังการแถลงต่อสภาฯเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีได้หยอดเงินในตู้บริจาค เพื่อทำบุญถวายเทียนพรรษาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จำนวน 1,000 บาท ก่อนเดินทางกลับไปปฎิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาลต่อทันที

สำหรับกรอบการพิจารณาในวันนี้ ที่ประชุมจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 13ชั่วโมง แบ่งเป็นการอภิปรายของฝ่ายค้าน 6 ชั่วโมง, สส.รัฐบาล และคณะรัฐมนตรีรวมกัน 6 ชั่วโมง จากนั้นจะเป็นการลงมติในวาระแรกในช่วงเวลาประมาณ 22.00 น. เพื่อตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯขึ้นมาพิจารณาต่อ โดยสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้น ภายใน 105 วัน หลังได้รับร่างงบประมาณจากรัฐบาลหรือภายใน 21 ตุลาคมนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น