รู้จัก “ไซยาไนด์” สารพิษใกล้ตัว อันตรายถึงชีวิต หากไม่ระวัง

ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง สามารถออกฤทธิ์ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาทีขึ้นอยู่กับปริมาณและความเข้มข้นของสารที่ร่างกายได้รับเข้าไป สารพิษชนิดนี้จะไปทำปฏิกิริยา

รู้จัก “ไซยาไนด์” สารพิษใกล้ตัว อันตรายถึงชีวิต หากไม่ระวัง – Top News รายงาน

ไซยาไนด์

ไซยาไนด์ คืออะไร

ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง สามารถออกฤทธิ์ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาทีขึ้นอยู่กับปริมาณและความเข้มข้นของสารที่ร่างกายได้รับเข้าไป สารพิษชนิดนี้จะไปทำปฏิกิริยายับยั้งเซลล์ในร่างกายไม่ให้สามารถใช้ออกซิเจนได้ ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถผลิตสาร ATP ที่ให้พลังงานได้เพียงพอและเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากไซยาไนด์นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดนผิวหนัง การสูดดมเข้าสู่ทางเดินหายใจ และการรับประทานเข้าสู่กระเพาะอาหาร ความผิดปกติทางร่างกายที่เกิดขึ้นจากการได้รับสารพิษไซยาไนด์นั้นจึงมีหลากหลาย เช่น ระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง บวมน้ำ รู้สึกมึนงง เวียนศีรษะ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ ลมชัก หมดสติ อาเจียน ไตล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ หัวใจหยุดเต้น

ไซยาไนด์ ที่อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวัน

โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่อาจมองว่าไซยาไนด์เป็นเรื่องไกลตัว ในความเป็นจริงแล้ว ไซยาไนด์วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เมล็ดแอปเปิ้ล แอปริคอต พีช ลูกแพร และถั่วอัลมอนด์รสขม ไซยาไนด์ยังสามารถพบได้ในหัวและใบของมันสำปะหลังและหน่อไม้ เราจึงไม่ควรรับประทานเมล็ดของผลไม้ประเภทนี้ รวมถึงมันสำปะหลังหรือหน่อไม้ดิบโดยเด็ดขาด และควรที่จะกำจัดไซยาไนด์ด้วยวิธีการง่าย ๆ อย่างการต้มและการปรุงสุก นอกจากนี้ ไซยาไนด์ยังเป็นสารที่สามารถพบได้ในบุหรี่ งานวิจัยพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วระดับของไซยาไนด์ในเลือดของผู้ที่สูบบุหรี่นั้นมีค่าสูงกว่าคนไม่สูบถึง 2.5 เท่า

ข่าวที่น่าสนใจ

อาการของผู้ที่ได้รับไซยาไนด์ เป็นอย่างไร

อาการของผู้ที่ได้รับไซยาไนด์ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สัมผัสกับสารพิษ และความปริมาณของสารพิษที่ได้รับ อาการเหล่านี้ได้แก่:

  • ระคายผิวหนัง
  • ผื่นแดง
  • บวมน้ำ
  • มึนงง
  • คลื่นไส้
  • กระวนกระวาย
  • การรับรสผิดปกติ
  • เวียนศีรษะ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ลมชัก
  • หมดสติ
  • อาเจียน
  • ไตล้มเหลว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หัวใจหยุดเต้น


อาการของผู้ได้รับไซยาไนด์ในปริมาณน้อยอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ได้รับไซยาไนด์ในปริมาณน้อยอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ได้สารพิษจะมีอาการปวดหัว การรับรสผิดปกติ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดท้อง และกระวนกระวาย การสูญเสียการมองเห็นโดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ การสะสมของสารไซยาไนด์จากการรับประทานพืชบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป เช่น มันสำปะหลัง ทำให้มีอาการชา สูญเสียการทรงตัว สูญเสียการได้ยิน ประสาทตาฝ่อ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานวิตามิน B12

 

วิธีการป้องกันตนเองจากพิษไซยาไนด์

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดของผลไม้ เช่น เมล็ดแอปเปิ้ล แอปริคอต พีช ลูกแพร และถั่วอัลมอนด์รสขม
  • หากรับประทานมันสำปะหลัง หรือหน่อไม้ ควรปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน
  • ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้ก้มต่ำ ใช้ผ้าปิดจมูก และคลานเพื่อหลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟที่มีส่วนผสมของสารพิษไซยาไนด์

วิธีการปฐมพยาบาลผู้ได้รับไซยาไนด์

ผู้สัมผัสกับไซยาไนด์ทางผิวหนัง

  • เมื่อไซยาไนด์สัมผัสกับผิวหนัง ให้รีบล้างผิวบริเวณที่สัมผัสกับไซยาไนด์ด้วยสบู่และน้ำทันที โดยให้น้ำไหลผ่านผิวหนัง อย่างน้อย 15 นาที ทั้งนี้ผู้ที่ทำการช่วยเหลือควรป้องกันตนเองโดยการสวมชุดและหน้ากากป้องกัน และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • หากไซยาไนด์หกรดลงบนเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกโดยเร็ว หรือใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าส่วนนั้นออกเพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง

ผู้สัมผัสไซยาไนด์ทางดวงตา

  • เมื่อไซยาไนด์สัมผัสกับดวงตา ให้ล้างตาด้วยการเปิดน้ำให้ไหลผ่านดวงตาอย่างน้อย 15-20 นาที และห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด หากใส่คอนแทคเลนส์ ให้ใช้มือสะอาดถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนล้างดวงตา และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

ผู้ได้รับไซยาไนด์ผ่านการสูดดม หรือผ่านการรับประทานอาหาร

  • โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
  • ให้รีบย้ายร่างของผู้ป่วยมาในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เช่น ภายนอกอาคาร หรือใกล้กับหน้าต่าง
  • ห้ามให้น้ำหรืออาหารแก่ผู้ป่วยโดยเด็ดขาด
  • หากผู้ป่วยหมดสติหรือไม่หายใจ ให้ทำ CPR หรือการนวดหัวใจกู้ชีพโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ผู้กู้ชีพไม่ควรทำการผายปอด หรือเป่าปากโดยเด็ดขาดเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับไซยาไนด์
  • ระหว่างรอการช่วยเหลือทางการแพทย์ ให้ทำการกู้ชีพอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูล และอาการของผู้ป่วยให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

การสัมผัสกับไซยาไนด์เป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีพิษรุนแรงทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ในชีวิตของเรานั้น โอกาสในการสัมผัสกับไซยาไนด์นั้นมีอยู่หลายช่องทาง เนื่องจากสารพิษชนิดนี้ปะปนอยู่ในอาหาร ในขั้นตอนการผลิตของใช้ในชีวิตประจำวัน และในควันไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ดังนั้น การรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง และการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด สามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า
"พิพัฒน์" ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
ศาลอาญา สั่งจำคุก 4 ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM คนละ 2-4 ปี ฐานทำร้ายคฝ. ก่อนได้ประกันตัว
ครบรอบ 118 ปี กองทัพเรือ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสารจาก ผบ.ทร.
นายกสมาคมสื่อมวลชน และ นักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก พร้อม ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออก ร่วมแสดงความยินดี นริศ นิรามัยวงศ์ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผลักดัน "โครงการ สร้าง ซ่อม ที่อยู่อาศัย" เพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2567
โซเชียลแห่ยกย่อง “น้องโนอาห์” วัย 1 ขวบ เสียชีวิตภาวะสมองตาย ครอบครัวบริจาคไตให้ผู้รอรับการรักษา
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นำกำลังพลร่วมกิจกรรม "วันกองทัพเรือ" 20 พ.ย.
ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ นาวาเอก อเล็กเซย์ แอนต์ซิเฟรอฟ ผู้บังคับหมู่เรือ กองทัพเรือรัสเซีย พร้อมด้วยคณะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น