“กรมประมง” แถลงแนวทางจัดการ “ปลาหมอคางดำ” ระบาดหนัก มั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี

อธิบดีกรมประมง แถลงยืนยัน อนุญาตเอกชนนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นต้นตอของการระบาดหรือไม่ พร้อมกำหนดค่ามาตรการเร่งด่วน และเพิ่มราคารับซื้อจูงใจการนำจับ แก้กฎหมายเพิ่มโทษ

“กรมประมง” แถลงแนวทางจัดการ “ปลาหมอคางดำ” ระบาดหนัก มั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี – Top News รายงาน

กรมประมง

 

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.20 น. นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ และนางสาวทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านประมงน้ำจืด ร่วมกันแถลงข่าว เรื่องการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ที่กรมประมง   โดยนายบัญชา เปิดเผยว่า ปลาหมอคางดำอยู่ในบัญชีสัตว์ห้ามนำเข้า โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2547 หากเอกชนจะนำเข้าจะต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัย และความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง เพื่อตรวจสอบเรื่องสุขอนามัยของสัตว์น้ำ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีเอกชน 1 ราย ได้ขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำ เมื่อเดือนธันวาคมปี 2553 จำนวน 2,000 ตัว เพื่อเข้ามาวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์

ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้อนุญาตบนเงื่อนไขสองข้อ คือ ให้เก็บตัวอย่างครีบดอง และรายงานผลกลับมายังคณะกรรมการ และเมื่อยกเลิกการวิจัย จะต้องทำลาย และรายงานผลพร้อมส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำกลับมาที่กรมประมง แต่บริษัทเอกชนดังกล่าวได้ยกเลิกการทำวิจัย และไม่ได้แจ้งต่อกรมประมงในการทำลายตัวอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนด จนกระทั่งเกิดการระบาดของปลาหมอคางดำในปี 2560 เจ้าหน้าที่กรมประมง จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบที่เลี้ยงของบริษัท แต่ได้รับการรายงานว่าได้ทำลายตัวอย่างทั้งหมดโดยการฝังกลบไปแล้ว พร้อมทั้งส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำกลับที่กรมประมง จำนวน 50 ตัวอย่าง ซึ่งในขณะนั้นจุดฝังกลบได้มีสิ่งก่อสร้างปลูกทับไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2554 จึงไปขุดพิสูจน์ไม่ได้

 

ปลาหมอคางดำ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อธิบดีกรมประมง ยังกล่าวว่า หากบริษัทเอกชนมีหลักฐานการฝังกลบ และการรายงานตัวอย่างมาที่กรมประมง ให้นำออกมาแสดง เพราะจากการตรวจสอบ ไม่พบว่ามีการอนุญาตให้เอกชนรายอื่นนำเข้าปลาหมอคางดำ หลังจากปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ในขณะนี้พบแล้วใน 16 จังหวัดของประเทศไทย และระบาดหนักใน 5 จังหวัด ทางกรมประมงจึงได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา 5 มาตรการ คือ

1.ประกาศอนุญาตผ่อนผันการใช้เครื่องมือประมงอวนรุน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดปลาหมอคางดำ

2.ได้ปล่อยลูกพันธุ์ปลานักล่าเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกรง จำนวน 226,000 ตัว ใน 7 จังหวัด

3.ประสานสมาคมผู้ผลิตปลาบ่นไทย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครจำนวน 2 แห่ง เพื่อรับซื้อ ปลาหมอคางดำในจังหวัดใกล้เคียงเพื่อนำไปผลิต เป็นปลาป่น จำนวน 500 ตัน พร้อมทั้งประสานเครือข่ายภาคเอกชนเพื่อรับซื้อปลาหมอคางดำ ไปใช้เป็นปลา เหยื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

4.สำรวจ และกระจายเฝ้าระวังการแพร่กระจาย ประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อรับแจ้งเบาะแสและพิกัดของปลาหมอคางดำทั่วประเทศ

5.สร้างความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมกำจัดปลาหมอคางดำ

นอกจากนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายในการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้มาตรการด้านราคา เพื่อจงใจให้มีการจับปลาหมอคางดำมานำเสนอขายในราคากิโลกรัมละ 15 บาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานภาคีเครือข่าย และชุมชนประมงในพื้นที่ โดยตั้งเป้าจะเริ่มดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า ในส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว กรมประมงได้วิจัยเพื่อปรับปรุงโครโมโซมปลาหมอคางดำ เพื่อสร้างประชากรปลาหมอคางดำพิเศษ ที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด เพื่อปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติ ที่มี 2 โครโมโซม เพื่อทำให้ลูกปลาหมอคางดำ เป็นหมัน (3 โครโมโซม) ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทยอยปล่อยสายพันธุ์พิเศษนี้จำนวน 5 หมื่นตัว อย่างช้าไม่เกินเดือนธันวาคม 2567 และคาดว่าจะควบคุมการระบาดได้ภายใน 3 ปี

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมประมง ไม่สามารถยืนยันชัดเจนได้ว่าเอกชนเพียงรายเดียวที่นำเข้าปลาหมอคางดำมีส่วนที่ทำให้เกิดการระบาดในปัจจุบันหรือไม่ รวมถึงสาเหตุว่าเหตุใดการเข้าไปตรวจสอบหลุมฝังกลบจึงล่าช้าไป 6 ปี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเรื่องนี้ไว้ พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพื่อหาว่าใครผิด แต่จะหาสาเหตุของเรื่องทั้งหมด แต่หากพบว่ามีการเจือสม หรือมีส่วนร่วมระหว่างบริษัทผู้นำเข้า และเจ้าหน้าที่ก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะสมก็ต้องดำเนินการ ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างแก้ไขกฎหมาย หรือการเพิ่มโทษ ทั้งทางอาญา และทางปกครอง กับผู้ที่ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการประมง

สำหรับประเด็นข้อมูลของกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต ที่ระบุว่ามีการส่งออกปลาชนิดนี้ เพื่อเป็นปลาสวยงามไปต่างประเทศจำนวน 15 ประเทศ กว่า 3 แสนตัว ในช่วงระหว่างปี 2556-2559 นั้น สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีการนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอคางดำ เข้ามาเพาะเลี้ยงในกลุ่มปลาสวยงาม และสร้างรายได้ด้วยการส่งออกเรื่อยมา ก่อนที่กรมประมงจะมีประกาศห้ามนำเข้า ส่งออก หรือเพาะเลี้ยง ในปี 2561 โดยบริษัทเหล่านี้ ไม่ปรากฏรายชื่อ “ผู้ขออนุญาตนำเข้า” ให้สืบค้นเลยแม้แต่รายเดียว

จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะนำเข้ามาโดยไม่มีการขออนุญาตใดๆ ตรงนี้หากภาครัฐไม่ว่าจะเป็น กรมประมง หรือกรมศุลกากร จะเปิดเผยชื่อผู้ส่งออกปลากว่า 3 แสนตัวนี้ ก็จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ในประเด็นนี้ ทั้งนี้ อธิบดีกรมประมง ระบุว่า ขอรับไปดูก่อน และมีความเป็นไปได้ เพราะอยู่ในช่วงระบาด และมีการนำไปส่งออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า
"พิพัฒน์" ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
ศาลอาญา สั่งจำคุก 4 ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM คนละ 2-4 ปี ฐานทำร้ายคฝ. ก่อนได้ประกันตัว
ครบรอบ 118 ปี กองทัพเรือ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสารจาก ผบ.ทร.
นายกสมาคมสื่อมวลชน และ นักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก พร้อม ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออก ร่วมแสดงความยินดี นริศ นิรามัยวงศ์ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผลักดัน "โครงการ สร้าง ซ่อม ที่อยู่อาศัย" เพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2567
โซเชียลแห่ยกย่อง “น้องโนอาห์” วัย 1 ขวบ เสียชีวิตภาวะสมองตาย ครอบครัวบริจาคไตให้ผู้รอรับการรักษา
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นำกำลังพลร่วมกิจกรรม "วันกองทัพเรือ" 20 พ.ย.
ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ นาวาเอก อเล็กเซย์ แอนต์ซิเฟรอฟ ผู้บังคับหมู่เรือ กองทัพเรือรัสเซีย พร้อมด้วยคณะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น