“ปานเทพ” ชี้ชัดกม.กัญชาใหม่ กีดกันแพทย์แผนไทย คาใจล็อกสเปกเอื้อรพ.เอกชนหรือไม่

"ปานเทพ" ชี้ชัดกม.กัญชาใหม่ กีดกันแพทย์แผนไทย คาใจล็อกสเปกเอื้อรพ.เอกชนหรือไม่

“ปานเทพ”  ชี้ชัดกม.กัญชาใหม่ กีดกันแพทย์แผนไทย คาใจล็อกสเปกเอื้อรพ.เอกชนหรือไม่  Top News รายงาน 

 

กัญชา

 

 

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยว่า ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับประชาชน ที่นายปานเทพและคณะยื่นไปนั้น ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด
นายปานเทพ ตั้งข้อสังเกตว่า ทิศทางในการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดนั้น กำลังจะนำไปสู่ทำให้เกิดการผูกขาดของกลุุ่มทุนใหญ่อย่างแน่นอนดังนี้
หลักฐานชิ้นที่ 1 ล็อกสเปกกีดกันแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์​และหมอพื้นบ้าน ผ่านประมวลกฎหมายยาเสพติดมาตรา 32
โดยประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับปัจจุบันในมาตรา 32 กลับไม่ระบุให้ชัดถึงวิชาชีพแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านให้มีความชัดเจนดังที่เคยปรากฏตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562  แต่กลับเลี่ยงใช้คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์หรือสาธารณสุขอื่น
เปิดช่องทำให้เกิดการตีความหรือรอกฎหมายลำดับรองว่าจะหมายรวมถึงการแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านหรือไม่  หรือให้มีเงื่อนไขต่างจากวิชาชีพอื่น อันเป็นช่องทางในการกีดกั้นวิชาชีพกลุ่มนี้หรือไม่ โดยบัญญัติเอาไว้ว่า
มาตรา 32 การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์หรือสาธารณสุขอื่น หรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐหรือสภากาชาดไทย ไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดประกาศกำหนด“
สถานภาพของ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้าน จึงมีแต่ความคลุมเครือ ทั้ง ๆ ที่เป็นกลุ่มแพทย์ที่จ่ายน้ำมันกัญชา และผลิตภัณฑ์กัญชาให้กับผู้ป่วยและชาวบ้านมากกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน
หลักฐานชิ้นที่ 2 ล็อกสเปกผ่านประกาศกระทรวงสาธารณสุขดักหน้า ไม่ให้แพทย์แผนไทยจ่ายสารสกัดกัญชาและกัญชงได้ ส่วนแพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน ไม่กล่าวถึงในการสั่งจ่ายยาเสพติให้โทษประเภท 5 ได้
โดยราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่สามารถสั่งใช้ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5  ที่ไม่ใช่สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง พ.ศ. 2567 ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567  ลงนามโดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 4 เมษายน 2567 กลับไม่ให้แพทย์แผนไทยจ่ายสารสกัดกัญชา กัญชงได้
อีกทั้งยังไม่ได้กล่าวถึงแพทย์แผนไทยประยุกต์และหมอพื้นบ้านให้สามารถสั่งใช้ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 อีกด้วย
ย่อมทำให้แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน ไม่สามารถจ่ายยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ชนิดใด ๆ ให้ผู้ป่วยได้อีกต่อไป
การที่แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้าน ไม่สามารถสั่งจ่ายสารสกัดกัญชา และสารสกัดกัญชงได้ ส่วสนแพทย์แผนไทยประยุกต์และหมอพื้นบ้านก็ไม่ได้ถูกกล่าวถึงให้จ่ายยาที่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ด้วย ก็เพราะผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มแพทย์เหล่านี้จ่ายให้ผู้ป่วยนั้น ล้วนเป็นการผลิตภายในประเทศที่ราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องผลิตโดยโรงงานผลิตยาขนาดใหญ่ใช่หรือไม่?
แต่อาจจะทำให้กลุ่มโรงงานผลิตภัณฑ์กัญชาเสียผลประโยชน์เพราะขายกัญชาแพง ๆ ไม่ได้ใช่หรือไม่?
อย่างไรก็ตามการกระทำข้างต้น อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  มาตรา 55 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่รัฐต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักฐานชิ้นที่ 3 ล็อกสเปกประมวลกฎหมายยาเสพติดมาตรา 40 และ 95 เพิ่มบทบาทเภสัชกรในการปลูกกัญชา เอื้อเฉพาะกลุ่มทุนใหญ่ และโรงพยาบาลเอกชน

โดยบทบาทเพิ่มขึ้นของเภสัชกรในยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 จนถึงขั้นอาจมีปัญหาที่ปฏิบัติไม่ได้จริง  หรือหากปฏิบัติได้ก็จะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ต่างจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562  ที่ได้ยกเลิกไป แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ได้มีปัญหาในประเด็นดังกล่าวอันเนื่องด้วยกระท่อมและกัญชาได้ถูกถอดออกจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ไปเสียก่อนที่จะเกิดปัญหาดังกล่าว

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักข่าวหนึ่ง ได้เคยรายงาน สถานภาพของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เคยเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการในบริษัทร่วมทุนสัญชาติแคนนาดาในธุรกิจกัญชากัญชง

และนโยบายที่กำลังจะเปลี่ยนที่ล็อกสเปกเพื่อเอื้อกลุ่มทุนเช่นนี้ จะทำให้หุ้นส่วนในธุรกิจกัญชาหรือกัญชาที่มีสายสัมพันธ์กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะสามารถเปลี่ยนจากสถานภาพจากที่เคยขาดทุนมาเป็นกำไรได้หรือไม่ในวาระนี้?

ในขณะที่สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง รวมถึง คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือแม้แต่คลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเป็นนิติบุคคล ที่ต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายกัญชา กัญชง ซึ่งเดิมสามารถสั่งจ่ายยาสมุนไพรทุกชนิดให้คนไข้ได้โดยไม่ต้องมีเภสัชกร ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเป็นกำลังสำคัญในการจ่ายยากัญชาให้คนไข้ ก็จะต้องจัดให้มีเภสัชกรซึ่งเป็นคนละวิชาชีพอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะปฏิบัติได้จริงในวิถีของวิชาชีพ

หากผู้ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่มีเภสัชกรอยู่ตลอดเวลาต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 150

ดังนั้นสถานพยาบาลแบบไหนที่มีเภสัชกรอยู่ตลอดเวลาได้ ถ้าไม่ใช่ โรงพยาบาล ซึ่งโดยปกติโรงพยาบาลของภาครัฐก็จ่ายกัญชาน้อยมากอยู่แล้ว การมีบทบัญญัติเหล่านี้จึงย่อมเอื้อผลประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลเอกชน จริงหรือไม่

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ดีอี เตือน “โจรออนไลน์” ส่ง SMS แนบลิงก์ปลอม “M-FLOW แจ้งมีบิลที่กำลังรอดำเนินการ” หลอกดูดเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
"นายกฯ" มั่นใจไทยผ่านพ้นทุกวิกฤต เร่งเจรจาสหรัฐลดผลกระทบโดนขึ้นภาษีนำเข้า 36 %
DSI แฉบริษัทเอกชนจีน สร้างตึกสตง. ภาษี 0 บาท งบขาดดุล เร่งล่าคนหนุนหลัง
ทบ.สนับสนุน MI 17 บรรทุกน้ำดับไฟป่า 7 เที่ยว ช่วยแก้หมอกควัน ฝุ่น PM 2.5
มาแน่ อุตุฯเตือนทั่วไทยอากาศร้อนจัด ระวังอันตรายพายุฤดูร้อน ฝนถล่มหนัก 45 จังหวัด กทม.โดนด้วย
"พล.อ.ประยุทธ์" เป็นผู้แทนพระองค์ เชิญสัญญาบัตร พัดยศ ถวายพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล
จนท.เร่งเคลียร์พื้นที่โซน C เชื่อน่าจะพบผู้สูญหายจำนวนมาก
ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น