ภาคี “กสศ.” มุ่งดูแล “เยาวชนแรงงาน” ให้ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ไปพัฒนาตนเองบรรเทาปัญหาปากท้องและปัญหาชีวิตครอบครัว
- เผยแพร่ : 21/07/2024 14:13
กดติดตาม TOP NEWS
ภาคีเครือข่าย "กสศ." จังหวัดปราจีนบุรี ถอดบทเรียนการพัฒนการเรียนรู้ "เยาวชนแรงงาน" ปี 66 ทำไมดูแลน้อง ๆ ไม่ทั่วถึง เหตุปัญหาชีวิตครอบครัวและความต้องการที่หลากหลาย พร้อมระดมสมองวางแผนการทำงานในอนาคตต้องเน้น ค้นหา และ ส่งต่อความช่วยเหลือ ล็อคเป้า 3 กลุ่มเยาวชนแรงงาน มาตรา 35 ให้มีงานทำพึ่งพาตนเองได้ กลุ่ม "แม่วัยรุ่น" ช่วยวางแผนชีวิตครอบครัว กลุ่มเยาวชนแรงงาน มาตรา 33 เน้นส่งเสริม อาชีพเสริม อาชีพอิสระ และ ยกระดับฝีมือแรงงาน ให้ได้รับการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง วุฒิบัตร และ เครื่องมือทำมาหากิน เพื่อตอบสนองศักยภาพและความต้องการให้ได้มากที่สุด พร้อมอัพสกิล "ทีมพี่เลี้ยง" เข้าใจจิตวิทยาเข้าถึงวัยรุ่น ปั้นคนรุ่นใหม่ "เยาวชนแรงงานตัวอย่าง" มีแววผู้นำกล้าแสดงออกสร้างแรงบันดาลให้รุ่นน้องฝ่าข้ามปัญหาปากท้องและปัญหาชีวิตครอบครัว
ในช่วงเดือนที่ 2 ทีมพี่เลี้ยงค้นหากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คนเพื่อมาร่วมกิจกรรม ได้แบ่งกลุ่มน้อง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.เยาวชนแรงงานมาตรา 33 ที่ทำงานในโรงงาน ส่งเสริมให้มี “อาชีพเสริม” ระหว่างทำงานประจำในโรงงาน เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและค่าล่วงเวลา (โอที) ไม่มีความแน่นอน จึงทำให้รายได้มาจุนเจือครอบครัวไม่มีความมั่นคง และ เยาวชนแรงงาน ไม่อยู่ในมาตรา 33 ว่างงานไม่มีงานทำ ส่งเสริมให้มี “อาชีพอิสระ” ด้วยการจุดประกายทางความคิดให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง แบ่งเป็นกลุ่มอาชีพได้ดังนี้ 1. กลุ่มอัดกรอบพระ 2. กลุ่มอาชีพช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ 3. กลุ่มอาชีพขายของออนไลน์ 4. กลุ่มอาชีพช่างเสริมสวย “ตัดผม” 5. กลุ่มอาชีพช่างเสริมสวย “อบเล็บเจล” และ 6. กลุ่มอาชีพอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่ รวมถึงการยกระดับฝีมือแรงงาน “ช่างเชื่อมโลหะ” ที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ นั้น โรงงานไฮเออร์ ที่น้อง ๆ เยาวชนแรงงานมาตรา 33 ทำงานอยู่ หรือ เยาวชนแรงงาน ไม่ได้อยู่ในมาตรา 33 ตกงานยังไม่มีงานทำ หรือเป็นเยาวชนแรงงานที่อายุ 15 จนถึง 18 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
ในช่วงเดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 5 ทางโครงการได้จัดกิจกรรม 3 ครั้ง จัดกิจกรรมครั้งที่ 1 ค้นหาศักยภาพและความต้องการเพื่อวางแผนพัฒนาการเรียนรู้รายบุคคล หรือ รายกลุ่ม จัดกิจกรรมครั้งที่ 2 จุดประกายทักษะอาชีพด้วยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เส้นทางสู่นักธุรกิจชุมชน ทักษะการเงิน และ ทักษะการใช้โซเซียลมิเดียเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว และ จัดกิจกรรมครั้งที่ 3 ด้วยการนำผู้มีความรู้มาแนะแนวทางฉุดให้หลุดพ้นกับดักค่าแรงขั้นต่ำและเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาการจ้างงานในอนาคต
ทั้งนี้ระหว่างดำเนินโครงการฯได้ประสานและมีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อระดมทรัพยากรในพื้นที่มาหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้น้อง ๆ ให้มีทักษะอาชีพเสริม อาชีพอิสระ และ ยกระดับฝีมือแรงงาน จนได้รับความร่วมมือจาก 1.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรี ภายใต้ โครงการพัฒนาทักษะเฉพาะของแรงงานอิสระยุค 4.0 หรือ Gig Worker ปี 2567 ให้ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ 30 ชั่วโมง ใบรับรองวุฒิบัตร และ เครื่องมือทำมาหากิน 2.วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ยกระดับฝีมือแรงงาน “ช่างเชื่อมโลหะ” ให้ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ 30 ชั่วโมง และ ใบรับรองวุฒิบัตร และ 3.สำนักงานจัดหางานจังหวัดปราจีนบุรี จัดหางานให้ เยาวชนแรงงาน มาตรา 35 ได้มีงานทำพึ่งพาตนเองได้
แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณทางโครงการฯ ไม่สามารถจัดฝึกอบรมได้ทั้ง 6 กลุ่มอาชีพ ตามศักยภาพและความต้องการของน้อง ๆ ทางโครงการฯ จึงไปขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงแรงงาน ผ่านการประสานงานกับสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย โดยได้รับความกรุณาจากระทรวงแรงงาน ประสานไปยัง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรี จนได้รับการอนุเคราะห์ตามคำร้องขอ จากนั้นสหภาพแรงงานซันโยแห่งประเทศไทย “เปิดพื้นที่เรียนรู้” พัฒนาการเรียนรู้ทักษะอาชีพ หนุนเสริมโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรี ภายใต้ โครงการ Gig Worker ปี 2567 อบรมทักษะอาชีพ 30 ชั่วโมง ได้วุฒิบัตร และ ได้เครื่องมือทำมาหากิน ใน 2 หลักสูตร ดังนี้ 1.หลักสูตร ทำขนมฟิวชั่น ระหว่างวันที่ 1 – 5 มิ.ย. 2567 น้อง ๆ 5 คน และ 2.หลักสูตร ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่ม ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.ถึง2 ก.ค.2567 น้อง ๆ เข้าร่วม 6 คน
สำหรับยกระดับฝีมือแรงงาน ช่างเชื่อมโลหะ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปรับอากาศ และ ตู้เย็น เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรม หนุนเสริมโดย วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยากรโดย อาจารย์ชินวัฒน์ อ่อนน้อม หัวหน้าแผนกช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ที่จะจัดขึ้นเฉพาะวันอาทิตย์ 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 11 ส.ค. , 18 ส.ค., 25 ส.ค. และ 1 ก.ย.แก่เยาวชนแรงงานมาตรา 33 และ น้อง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรา 33 ว่างงาน จำนวน 15 คน พัฒนาการเรียนรู้ทักษะอาชีพ จำนวน 30 ชั่วโมง และได้วุฒิบัตร เปิดพื้นที่เรียนรู้ ที่สำนักงานสหภาพแรงงานซันโยแห่งประเทศไทย
ขณะที่แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนแรงงานมาตรา 35 มีปัญหาสุขภาพ 7 ประเภท จำนวน 2 คน เป้าหมายเพื่อให้ได้มีงานทำพึ่งพาตัวเองได้ คนที่ 1 มีปัญหาสุขภาพออทิสติกอ่อน ๆ ชอบเก็บตัวอยู่กับบ้าน อาศัยอยู่กับแม่ที่มีอาชีพเก็บของเก่าขาย น้องมีปัญหาสุขภาพมีโรคประจำตัวเบาหวานต้องไปรับยาทุกเดือน และ อาการมือสั่น ขณะที่ตัวน้องต้องการมีงานทำ ทางโครงการจึง ประสานไปยัง ฝ่ายส่งเสริมการมีงานทำ สำนักงานจัดหางานจังหวัดปราจีนบุรี ยินดีให้ความช่วยเหลือด้วยการจัดหางานให้ทำที่ใกล้บ้าน และ จัดหานายจ้างที่ยินดีจะรับผู้พิการหรือเด็กพิเศษเข้าทำงาน เช่น เด็กยกของ เป็นอาชีพที่น้องทำได้
คนที่ 2 มีปัญหาติดอ่าง สมัครงานที่ไหนไม่มีนายจ้างรับเข้าทำงาน ทางโครงการฯประสานฝ่ายส่งเสริมการมีงานทำ สำนักงานจัดหางานจังหวัดปราจีนบุรี แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือเนื่องจากทีมพี่เลี้ยงทำความเข้าใจแม่น้องไม่สำเร็จ เพราะแม่น้องเคยมีประสบการณ์ไม่ดีฝังใจนายจ้างดุด่าว่ากล่าวลูกที่ติดอ่างสื่อสารไม่รู้เรื่องจึงโดนไล่ออก ผู้ปกครองจึงไม่พาลูกมาพบนักวิชาการจัดหางานจังหวัด
ทั้งนี้ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคมของทุกปีเป็นฤดูกาลจ้างงานของบริษัทที่มีพนักงานเกิน 100 คนขึ้นไป ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการฯ ต้องจ้างเด็กพิเศษ 1 คนมีสัญญาจ้างปีต่อปี ค้ำประกันรายได้เฉลี่ยต่อเดือนละ1หมื่นกว่าบาท หรือ ทั้งปี 1.2 แสนบาท โดยจะเปิดโคตาให้สมัครปีละครั้ง พ้นช่วงนี้ไปจะไม่มีโคตางานทำ ดังนั้นทางโครงการฯ จึงพาเยาวชนแรงงานมาตรา 35 ไปทำบัตรผู้พิการเพื่อให้ได้รับการขึ้นทะเบียน ขณะที่แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนแรงงานที่เป็น “แม่วัยรุ่น” จำนวน 4 คน เป้าหมายเพื่อให้สามารถวางแผนชีวิตครอบครัวได้และได้รับการหนุนเสริมทักษะอาชีพเพื่อไปบรรเทาปัญหาปากท้อง ทางโครงการฯยังไม่ได้ดำเนินการดูแลน้อง ๆ 4 คนนี้ เนื่องจากติดตามตัวได้เพียง 1 คนที่เหลือ 3 คนติดต่อไม่ได้คาดว่าจะถูกออกจากงานไปแล้ว
ในที่ประชุมได้หารือแนวทางการทำงานในอนาคต ทีมพี่เลี้ยง สหภาพซันโยแห่งประเทศไทย นำเสนอว่า ต้องปรับวิธีและขั้นตอนการทำงานใหม่ที่แตกต่างจากปี 2566 ด้วยการเน้นการทำงานกับกลุ่มเยาวชนแรงงาน ที่เป็นแม่วัยรุ่น กับ เยาวชนแรงงานมาตรา 35 ให้มากเป็นพิเศษ สำหรับเยาวชนแรงงานมาตรา 33 มุ่งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ทักษะอาชีพเสริม , อาชีพอิสระ และ ยกระดับฝีมือแรงงาน ให้ได้รับการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ได้รับวุฒิบัตร และ ได้รับเครื่องมือทำมาหากิน
นอกจากนี้ต้องเน้นพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงให้มีความเข้าใจและเข้าถึงปัญหาเยาวชนแรงงานมากขึ้น ด้วยการเน้นจัดกิจกรรม ดังนี้ 1.จัดกิจกรรมเพื่อสร้างแนวทางการทำงานกับเยาวชนแรงงานมาตรา 35 อบรมให้ความรู้โดยนักวิชาการแรงงาน ฝ่ายส่งเสริมการมีงานทำ สำนักงานจัดหางานจังหวัดปราจีนบุรี 2.จัดกิจกรรมเพื่อสร้างแนวทางการทำงานกับเยาวชนแรงงานที่เป็นแม่วัยรุ่น อบรมให้ความรู้โดย คุณบัณฑิต แป้นวิเศษ หัวหน้าฝ่ายแรงงานหญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านการวางแผนชีวิตครอบครัว และ 3.จัดกิจกรรมเพื่อสร้างแนวทางการเข้าใจจิตวิทยาเข้าใจวัยรุ่น อบรมให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี เป้าหมายการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ทีมพี่เลี้ยงเข้าใจ และ เข้าถึง น้อง ๆ ทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง 4.จัดกิจกรรมเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพเยาวชนตัวอย่างที่กล้าแสดงออกและเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้อง ๆ ได้ จากการได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้จิตวิทยาการเข้าถึงวัยรุ่น ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงช่วยกันให้คำแนะนำ รุ่นน้องที่มีปัญหาปากท้องและปัญหาชีวิตครอบครัว นับเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงานการศึกษาและสังคมในอนาคต และ 5.ปลูกฝังแนวคิด “อาสาสมัครพัฒนาการเรียนรู้เยาวชนแรงงาน” ที่จะให้ทีมพี่เลี้ยงรับช่วงต่อดูแลน้อง ๆ ต่อไป แม้จะไม่มีโครงการฯ ซึ่งสามารถจะดูแลได้ด้วยกำลังทรัพย์ของตัวเอง อาทิ ระดมทุนสนับสนุนแพมเพิส เสื้อผ้าเด็กอ่อน และ นมผง บริจาคแก่เยาวชนแรงงานที่เป็นแม่วัยรุ่น หรือ ประสานผู้ใหญ่บ้านนำเยาวชนแรงงานมาตรา 35 ที่เป็นผู้พิการในชุมชนไปขึ้นทะเบียนบัตรผู้พิการกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และไปจดแจ้งเป็นแรงงานมาตรา 35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นต้น
นอกจากนี้ต้องปรับวิธีและขั้นตอนการทำงาน เริ่มตั้งแต่ที่แนวทางการ “ค้นหากลุ่มเป้าหมาย” 50 คน ทางทีมพี่เลี้ยงนำเสนอว่า ที่ผ่านมาพบปัญหาการรวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมให้ครบ 50 คนเป็นเรื่องยาก เนื่องจากน้อง ๆ มีปัญหาชีวิตครอบครัวที่ซับซ้อนและความต้องการที่หลากหลาย จึงนำเสนอแนวทางแก้ปัญหากล่าว ควรค้นหากลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 จำนวน 25 คน เพื่อให้ได้พัฒนาการเรียนรู้ในช่วงเดือนที่ 1 ถึง 6 และ ช่วงที่ 2 จำนวน 25 คน เพื่อให้ได้พัฒนาการเรียนรู้ในช่วงเดือนที่ 6 ถึง 12 เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้น้อง ๆ ที่เป็นเยาวชนแรงงานมาตรา 33 อาจถูกออกจากงานกระทันหัน ไม่สามารถร่วมกิจกรรมได้ตลอดทั้ง 12 เดือน และ เพื่อสร้างการพัฒนาการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะอาชีพ 30 ชั่วโมง ได้รับวุฒิบัตร และ เครื่องมือทำมาหากิน
ภายหลัง “ทำแผนดูแลรายบุคคล” แล้วเสร็จให้เร่งแบ่งกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรม ดังนี้ 1.เยาวชนแรงงานมาตรา 33 และ ไม่อยู่ในมาตรา 33 เน้นจัดจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้โดยโครงการฯ เป็นผู้ดำเนินการเอง หรือ ประสานกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เล็ก ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพและความของน้อง ๆ ให้ได้มากที่สุด อาทิ 1.กลุ่มอาชีพอัดกรอบพระ 2. กลุ่มอาชีพซ่อมมอเตอร์ไซด์ 3. กลุ่มอาชีพขายของออนไลน์ 4. กลุ่มอาชีพเสริมสวย “ตัดผม” และ “อบเล็บเจล” และ 5. กลุ่มอาชีพอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่ เป้าหมายเพื่อให้น้อง ๆ ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างทั่วถึงสอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพ สอดรับกับการพัฒนาทักษะอาชีพ ฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ได้รับใบรองวุฒิบัตร และ เครื่องมือทำมาหากิน โดยไปทำความร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรี , วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี หรือ โรงเรียนสอนศิลปะการปรุงอาหารไอเชฟ เป็นต้น
ภายหลังน้อง ๆ ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ ฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ได้รับใบรองวุฒิบัตร และ เครื่องมือทำมาหากิน จึงจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะที่หลากหลาย (Multi Skills) ด้วยการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มใหญ่ 2 ครั้ง โดยมีเนื้อหาสำคัญ 2 เรื่อง ดังนี้ 1.จัดกิจกรรมจุดประกายทักษะอาชีพ ด้วยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เส้นทางสู่นักธุรกิจชุมชน ทักษะการเงิน และ ทักษะการใช้โซเซียลมิเดียเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว และ 2.จัดกิจกรรมด้วยการนำผู้มีความรู้มาแนะแนวทางฉุดให้หลุดพ้นกับดักค่าแรงขั้นต่ำและเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาการจ้างงานในอนาคต
สำหรับบทบาทและหน้าที่ของโครงการฯ ในฐานะหน่วยจัดการเรียนรู้ มุ่งทำงานพัฒนากลไกการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อค้นหา ส่งต่อ และดูแลกลุ่มเป้าหมาย และ ประสานภาคีเครือข่ายสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมทรัพยากรที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่มาหนุนเสริมน้อง ๆ ให้เป็นไปตามกรอบการใช้งบประมาณและแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตามที่ได้นำเสนอต่อ “กสศ.”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง