logo

“ครูแก้ว”​ หรือสหายแสง​ รื้อสวนยางเกือบ ​100 ไร่ ปลูกทุเรียนหลากสายพันธุ์ สร้างแหล่ง​เรียนรู้​ให้ชุมชน

นครพนม - "ครูแก้ว​ หรือสหายแสง​ รื้อสวนยางเกือบ​100ไร่ ปลูกทุเรียนหลากสายพันธุ์" สร้างแหล่ง​เรียนรู้​ให้ชุมชน

เมื่อวันที่ 20 ก.ค.67 เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ บ้านไทยสบาย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ได้พบ นายศุภชัย โพธิ์สุ ครูแก้ว อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์/อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า ปัจจุบันหันมาสนใจดูแลด้านการเกษตรมากขึ้น จากที่เคยปลูกอ้อย มันสำปะหลัง หลายร้อยไร่ แต่ไ่ม่มีเวลาดูแลอย่างจริงจัง เนื่องจากช่วงนั้นงานการเมืองยุ่งมาก จึงทำให้ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่เราต้องการ ต่อมาเพื่อนที่อยู่ จ.จันทบุรี แนะนำว่า พืชที่น่าจะทำรายได้และตลาดมีอนาคตที่ดี คือทุเรียน โดยแต่ละปีจะมีรายได้จากการขายทุเรียนร่วม 30 ล้านบาท อีกทั้งสังเกตุที่ จ.บึงกาฬก็ทำการปลูกทุเรียนได้ผลผลิตที่ดี ทำให้เชื่อว่าพื้นที่ของ จ.นครพนม ก็น่าจะปลูกได้ด้วยเช่นกันจึงเริ่มทดลองปลูกทุเรียนในพื้นที่สวนของตัวเองเมื่อหลายปีก่อนมา ซึ่งในปีนี้ก็ได้ผลผลิตเก็บเกี่ยวมาขาย จากราคาขายตามท้องตลาดทั่วไปขายกก.ละ 200-300 บาท แต่ตนขายเพียง กก.ละ 150 บาท ทั้งแจกทั้งแถม ได้เงินมา 9 หมื่นกว่าบาท ยังได้แจกเพื่อนสนิทมิตรสหายไปชิมอีกหลายสิบลูก จึงทบทวนแนวคิด น่าต่อยอดปลูกทุเรียนให้มากขึ้น และจะเปิดเป็นสวนเรียนรู้ให้พี่น้องเกษตรกรมาศึกษาดูงานหรือนำต้นพันธุ์ทุเรียนไปปลูกในพื้นที่ของตัวเอง จึงมีที่มาของการจัดกิจกรรมการปลูกทุเรียนบนเนื้อที่ทั้งหมด 93 ไร่ ที่บ้านไทยสบาย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม โดยตนได้ตัดสินใจตัดต้นยางพาราไปขายได้เงินมา 2 ล้านกว่าบาทปรับพื้นที่เพื่อปลูกต้นทุเรียน โดยเว้นระยะการปลูกระยะของต้นประมาณ 12 เมตร ทำเป็นเนินเหมือนคว่ำกระทะ ก็จะใช้ปลูกต้นทุเรียนประมาณ 1,120 ต้น

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แม้ว่าวันนี้มีการล่าช้าของรถขนส่งพันธุ์กล้าทุเรียนจากที่คาดว่าจะถึงเมื่อเวลา 9 โมงเช้า เนื่องจากรถเสีย และมาส่งถึงที่หมายเมื่อเวลาบ่าย 2โมงก็ตาม แต่มีพี่น้องประขาชนจากในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอบ้านแพง ต่างรอเป็นกำลังใจและอาสาร่วมกันนำต้นพันธุ์ทุุเรียนจากรถขนส่งไปจุดลงปลูก โดยคณะมืออาชีพจากจังหวัดจันทบุรี ที่เดินมาช่วยแนะนำและดูแลการปลูกอย่างใกล้ชิด

 

ครูแก้ว ตั้งใจจะทำพื้นที่ราว 93ไร่ผืนนี้ ทำเป็นแปลงปลูกทั้งหมด 1,120 ต้น เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ให้กับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครพนม รวมถึงเป็นการสร้างงานให้กับพี่น้องในพื้นที่ แม้รู้ว่าทุเรียนมันปลูกค่อนข้างยาก แต่ว่ามันเป็นเรื่องท้าทายที่จะต้องทำให้ได้และจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ คาดว่าจากการลงต้นพันธุ์ทุเรียนครั้งนี้ ภายใน 5​ ปี ก็จะได้ผลผลิตออกมาสู่ท้องตลาด
สำหรับพันธุ์ทุเรียนที่ลงปลูก มี พันธุ์หมอนทอง และเบญจพรรณ คือพันธุ์หลากหลาย เช่นชะนี ก้านยาว ปากแดงอินโดบ้าง หลากหลายสายพันธุ์ โดยเบญจพรรณจะแยกปลูกด้านบนใกล้บ้านพักเอาไว้เพื่อรับแขก โดยจะติดป้ายบอกไว้แต่ละสายพันธุ์

 

 

 

ครูแก้ว ฝากบอกผ่านผู้สื่อข่าว หวั่นจะเกิดกระแสดราม่าถึงที่มาของเงินทุนในการทำแหล่งเรียนรู้การปลูกทุเรียนในครั้งนี้ว่า เงินที่ได้มาจากการขายต้นยางบนพื้นที่เดิมที่มีอยู่แล้วได้เงินมาทั้งหมด 2 ล้านกว่าบาท ส่วนที่ 2 ก็ได้เงินจากเงินชดเชยการปลูกแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางไร่ละ 16,000 บาท และส่วนที่ 3 ตนขายที่ดินบางส่วนออกเพื่อนำมาเป็นทุนทำสวนทุเรียนตรงนี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องท้าทายที่อยากจะทำ นายศุภชัย โพธิ์สุ หรือ”ครูแก้ว” กล่าวในท้ายสุด

หากพี่น้องเกษตรกร สนใจอยากเรียนรู้ การปลูกทุเรียน ติดต่อครูแก้ว ที่บ้านไทยสบาย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม โทร.092-272 7879

 

 

 

ข่าว/ภาพ ​ประทีป​ วชิระ​ธ​ั​ญญา​กุล​ นครพนม​

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2
น่าห่วง "แม่น้ำยม" สายหลักพิษณุโลก เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทุกหมู่บ้านแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น