“สมศักดิ์” รับติดตามเรื่อง หลังอุตฯอาหาร ยื่นเลขาฯ ทบทวน ปมจัดพิมพ์ฉลาก หวั่นทำต้นทุนเพิ่ม

"สมศักดิ์" รับติดตามเรื่อง หลังอุตฯอาหาร ยื่นเลขาฯ ทบทวน ปมจัดพิมพ์ฉลาก หวั่นทำต้นทุนเพิ่ม

“สมศักดิ์” รับติดตามเรื่อง หลังอุตฯอาหาร ยื่นเลขาฯ ทบทวน ปมจัดพิมพ์ฉลาก หวั่นทำต้นทุนเพิ่ม

วันที่ 24 ก.ค. 67 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เปิดเผยถึงกรณีที่ตัวแทนผู้ประกอบการบริษัทรายใหญ่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอข้อมูลไปยังคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่องการพิจารณาการแสดงข้อมูลโภชนาการภาษาต่างประเทศ เพื่อลดการจัดทําฉลากโภชนาการภาษาต่างประเทศแบบแยกประเทศ หรือใช้สติ๊กเกอร์โดยไม่จำเป็น เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการพิมพ์ฉลาก สร้างภาระให้กับผู้ประกอบการ โดยจะส่งผลทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าตามมา ซึ่งจะกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรงว่า จะติดตามในรายละเอียดเกี่ยวกับการออกฉลากโภชนาการร่วมภาษาต่างประเทศกับเลขาธิการ อย.ให้ โดยจะไปดูรายละเอียดในเรื่องนี้อีกครั้ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่เมื่อวันที่ 9 ก.ค.67 ก่อนการประชุมครม. นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการ อย. ได้กล่าวว่า เตรียมนำเรื่องนี้ รายงานต่อรมว.สาธารณสุข ซึ่งได้คุยกันเบื้องต้นแล้ว ว่าควรจะทำให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้นก็ตาม แต่ล่าสุด ก็ยังไม่มีความคืบหน้า

ทั้งนี้ สืบเนื่อง จากกรณีที่ตัวแทนผู้ประกอบการบริษัทยักษ์ใหญ่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอข้อมูลไปยัง เลขาธิการอย.ให้มีการพิจารณาทบทวน การแสดงข้อมูลโภชนาการภาษาต่างประเทศ ตามบัญชีหมายเลข 1 ท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 445 ที่ยังมีความไม่คล่องตัวในทางปฏิบัติ รวมถึงที่ผ่านมาพบว่ามีการใช้ช่องว่างนี้ ไปร้องเอาผิดและเรียกค่าปรับกับผู้ประกอบการอย่างไม่เป็นธรรม

 

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ทาง อย.ลดการจัดทําฉลากโภชนาการภาษาต่างประเทศแบบแยกประเทศ หรือใช้สติ๊กเกอร์โดยไม่จำเป็น เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนการพิมพ์ฉลากหลายภาษามากขึ้น สร้างภาระให้กับผู้ประกอบการเพิ่มต้นทุนการผลิตสินค้ามากขึ้นอีกเท่าตัว ท้ายที่สุดจะทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าตามมา ซึ่งจะกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง พร้อมทั้งยังถูกมองว่า อาจเป็นการกีดกันทางการค้าผู้ประกอบการของไทยเสียเองหรือไม่ จึงเรียกร้องให้ทบทวนระเบียบกฎหมายที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ออกมาในสิ้นเดือนนี้ โดยเปิดให้ยื่นเรื่องคัดค้านได้ภายใน 90 วัน จึงทำให้ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม เข้ายื่นเรื่องคัดค้าน ต่อเลขาธิการ อย.ไปแล้ว จึงต้องติดตามว่าในสิ้นเดือนนี้จะมีความคืบหน้าจากกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานอย.ออกมาอย่างไร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฉลองปิดเทอม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ปลื้ม! ขยายพันธุ์สำเร็จอีกครั้งได้ “ลูกค่างห้าสี” ตัวที่ 3 สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ และเป็นชนิดที่มีสีสันสวยงามที่สุดในโลก
คึกคักแน่ นทท. เชื่อมั่นไทย เหตุแผ่นดินไหวไม่กระทบ "สงกรานต์" รบ.คาดเงินสะพัดกว่าแสนล้านบาท
ปิดตำนาน ราชินีลูกทุ่งคนแรก "ผ่องศรี วรนุช" ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ในวัย 85 ปี
ใกล้แล้ว! “กู้ภัย” ลุยแผนปอกเปลือกผลไม้ ลุ้นเจอเจ้าของเสียง “ช่วยด้วย”
"อนุทิน" โต้เพจ CSI LA ซัดนั่งเทียนมั่ว ช่วยชี้นำผลสอบ "มณเฑียร" ผู้ว่าสตง.เหตุตึกถล่ม
‘นิด้าโพล’ เช็กความกังวลคนกรุง ต่อกลุ่มตึก-อาคาร หลังเกิดแผ่นดินไหว เสียง 47 % ยกห้างสรรพสินค้า มั่นใจมากสุด
ดีอี เตือน “โจรออนไลน์” ส่ง SMS แนบลิงก์ปลอม “M-FLOW แจ้งมีบิลที่กำลังรอดำเนินการ” หลอกดูดเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
"นายกฯ" มั่นใจไทยผ่านพ้นทุกวิกฤต เร่งเจรจาสหรัฐลดผลกระทบโดนขึ้นภาษีนำเข้า 36 %
DSI แฉบริษัทเอกชนจีน สร้างตึกสตง. ภาษี 0 บาท งบขาดดุล เร่งล่าคนหนุนหลัง
ทบ.สนับสนุน MI 17 บรรทุกน้ำดับไฟป่า 7 เที่ยว ช่วยแก้หมอกควัน ฝุ่น PM 2.5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น