“กรมชลประทาน” เตือน 11 จว.ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำ

กรมชลฯ ออกประกาศฉบับที่ 2 เตือนพื้นที่ลุ่มต่ำ 11 จังหวัด ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเตรียมรับมือน้ำท่วม

“กรมชลประทาน” เตือน 11 จว.ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำ – Top News รายงาน

กรมชลประทาน

 

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมชลประทาน ออกประกาศแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกทม. ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลจากพื้นที่ภาคเหนือ ลงมายังเขื่อนเจ้าพระยา ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นระหว่าง 1,500 – 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

เนื่องจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีการออกประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 กรกฎาคม 2567 จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ประเทศเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณตอนใต้ ของประเทศจีน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น จะทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมไปถึงฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคตะวันตก และจาการคาดการณ์โดยกรมชลประทาน ใน 1-3 วันข้างหน้า ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,200 – 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขามีปริมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาจะมีปริมาณระหว่าง 1,500 – 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวนาที

กรมชลประทาน จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800 – 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.80 – 1.10 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกันน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และในพื้นที่ริมแม่น้ำน้อย ที่ ต.หัวเวียง อ.เสนา , ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

 

สำหรับในปัจจุบัน ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านจุดวัดอยู่ที่ 1,132 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที   เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 16.13 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 10.10 เมตร/รทก. ซึ่งระดับน้ำห่างจากตลิ่งอยู่ที่ 6.24 เมตร

และเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนอยู่ที่ 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งส่งผลทำให้ที่สถานีวัดน้ำ C.3 บ้านบางพุทรา อ.เมือง จ.สิงห์บุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่านจุดวัดอยู่ที่ 759 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ทั้งนี้ ทางกรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ได้แจ้งเตือน 11 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น