“นักวิชาการประมง ม.แม่โจ้” เสนอใช้ไซยาไนด์ปราบ “ปลาหมอคางดำ” ชี้อาจดูโหดร้าย แต่เด็ดขาด

"นักวิชาการประมง ม.แม่โจ้" เสนอใช้ไซยาไนด์ปราบ "ปลาหมอคางดำ" ชี้อาจดูโหดร้าย แต่เด็ดขาด

Top news รายงาน วันที่ 26 ก.ค.67  รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ออกมาแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยระบุว่า มาตรการที่นำมาใช้กำจัด ไม่ว่าจะเป็นการส่งนาก และปลานักล่าไปจัดการ จับมาทำเมนูอาหาร แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ หรือ ทำน้ำหมักชีวภาพ อาจไม่ทันการณ์ เนื่องจากปลาหมอคางดำเกิดง่ายตายยาก และยังอึดทนปรับสภาพอยู่ได้ในทุกสภาพน้ำ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำเน่า ทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วเหมือนกองทัพปีศาจที่คืบคลานแบบไม่มีที่สิ้นสุด

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

การแพร่ระบาดที่ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ หากยังควบคุมไม่ได้โดยเร็ว มีความเสี่ยงที่ปลาหมอคางดำจะยึดเต็มพื้นที่แม่น้ำและแหล่งน้ำทั่วทั้งประเทศไทย ทั้งจากการเคลื่อนย้ายจากคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การแจกลูกพันธ์ปลาที่อาจจะมีลูกปลาหมอคางดำติดไปด้วย หากไม่รู้ว่าเป็นปลาอะไร มีโอกาสที่จะเกิดการขยายพันธ์แบบแบบข้ามกระโดดไปบยังภูมิภาคอื่นทั้งภาคอีสานภาคเหนือ

 

ที่น่าห่วงคือการแพร่พันธ์ตามธรรมชาติ โดยการเคลื่อนตัวจากภาคใต้ขึ้นไปพื้นที่ตอนบนของประเทศ จากพื้นที่ปากแม่น้ำขึ้นไปแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก มีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะพื้นที่ริมตลิงที่น้ำไหลไม่แรง พวกมันจะค่อย ๆ ขยับคืบคลานขึ้นไป หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้เชื่อว่าอีกไม่นานจะขยายขึ้นไปชัยนาทและนครสวรรค์อย่างแน่นอน

 

 

รศ.ดร.อภินันท์ เสนอว่า “หากสถานการณ์เกินเยียวยา การใช้ไซยาไนด์ อาจเป็นมาตรการสุดท้ายที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการกำจัดปลาหมอคางดำ วิธีนี้อาจดูโหดร้าย แต่เด็ดขาด และสามารถทำได้จริง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข เช่น ต้องเป็นพื้นที่ที่ระบาดหนัก มีการบล็อกพื้นที่ต้นน้ำปลายน้ำ และต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไขควบคุมเฉพาะ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม วิธีนี้อาจต้องยอมแลกกับปลาไทยที่จะตายไปพร้อมกัน แต่ไม่น่าห่วงเพราะสามารถฟื้นฟูเติมปลาไทยลงไปใหม่ได้ไม่ยาก

 

 

 

สำหรับข้อกังวลในเรื่องของสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำนั้น ไม่น่าห่วง เพราะโครงสร้างทางเคมีของไซยาไนด์เป็นประจุลบ และพบได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว และจะไม่มีการตกค้าง เพียงแต่จะต้องมีการศึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสมกับพื้นที่แหล่งน้ำที่จะดำเนินการและระยะเวลาปลอดภัยที่จะกลับเข้าไปฟื้นฟูปลาไทยครั้งใหม่ นี่เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะลดความเสียหายให้กับภาคการเกษตร ภาคเศรษฐกิจ ระบบนิเวศและทรัพยากรแหล่งน้ำได้อย่างเห็นผล”

นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธีที่ป้องกันการรุกรานของปลาหมอคางดำได้ คือ การทำให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ ทำให้ปลาไทยเจ้าถิ่นมีอยู่เต็มพื้นที่ทุกลุ่มน้ำ เมื่อแหล่งน้ำสมบูรณ์จะทำให้มีปลานักล่าเต็มพื้นที่ จะทำให้ปลาหมอคางดำไม่สามารถเข้าไปยึดพื้นที่ได้ โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ทำโครงการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิต ความมั่นคงทางอาหารและการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยส่งเสริมการสร้างโรงเพาะฟักในแต่ละท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำยม ให้ประชาชนได้เพาะเลี้ยงสร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับปลาของแต่ละท้องถิ่น เมื่อปลาไทยเจ้าถิ่นมีจำนวนมากพอก็เป็นเหมือนด่านหน้าที่จะป้องกันสกัดกั้นไม่ให้ปลาต่างถิ่นรุกล้ำเข้ามาจนเกิดปัญหาเหมือนเช่นปลาหมอคางดำในตอนนี้ โดยโครงการเพาะปลาท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำยม จะเป็นโครงการต้นแบบที่จะขยายผลไปยังทุกลุ่มน้ำในประเทศไทยในอนาคต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น