“ศรีสุวรรณ” จี้เอาผิดหน่วยงานเกี่ยวข้อง หลังปล่อยนายทุนนำเข้า “ปลาหมอคางดำ”

นายศรีสุวรรณ เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เอาผิด รมว.เกษตรฯ อธิบดีกรมประมง เหตุปล่อยให้มีการนำเข้าปลาหมอคางดำ จนเกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ

“ศรีสุวรรณ” จี้เอาผิดหน่วยงานเกี่ยวข้อง หลังปล่อยนายทุนนำเข้า “ปลาหมอคางดำ” – Top News รายงาน

 

ศรีสุวรรณ

 

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนกรมประมง กรณีปล่อยให้นายทุนทำปลาหมอคางดำแพร่ระบาดทำลายสัตว์น้ำอย่างล้างผลาญไปทั่วกว่า 25 จังหวัด ต่อศาลปกครองกลาง พร้อมกับเปิดเผยว่า วันนี้มายื่นฟ้องอธิบดีกรมประมงที่ 1  คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) ที่ 2 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 3 ในฐานความผิดใช้ดุลยพินิจ โดยมิชอบและปล่อยปะละเลยต่อหน้าที่ ปล่อยให้นายทุนใหญ่นำปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีซีซีส์เข้ามาในประเทศ จนเกิดการแพร่ระบาดไปทั่ว โดยไม่ยอมเอาผิดผู้นำเข้า ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา ให้เป็นผู้รับผิดชอบ แต่กลับนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้แก้ปัญหา

ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่กรมประมง โดยคณะกรรมการ IBC ซึ่งมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน อนุญาตให้บริษัทนายทุนใหญ่นำเข้าปลาหมอคางดำ จากประเทศกานา ทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ปี 2553 เพื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ แต่ปลาชนิดดังกล่าวกลับมาแพร่ระบาดทำลายสัตว์น้ำอย่างล้างผลาญไปกว่า 25 จังหวัด ในพื้นที่ประเทศไทย ทั้งในทะเล และแหล่งน้ำกร่อย น้ำจืด น้ำเค็ม ในบ่อกุ้ง บ่อปลาของชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความเสียกับชาวประมงนับหมื่นล้านบาท ถือได้ว่าเป็น “อาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม” ที่ร้ายแรงที่สุด

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อีกทั้งกรมประมงรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้น แต่กลับเพิกเฉยในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและรวดเร็ว โดยไม่รีบดำเนินการเอาผิดบิ๊กนายทุนใหญ่ ที่นำเข้าปลาดังกล่าวแต่อย่างใด แต่กลับนำเงินภาษีประเทศมาแก้ไขปัญหาตลอดมา เป็นเงินจำนวนมหาศาล ทั้งที่โดยหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อม ม.97 กรมประมงสามารถฟ้องแพ่ง เรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เสียหายไปได้

รวมทั้งใช้ ป.อาญา ม.360 ประกอบ ม.56 ในการฟ้องศาลอาญา เอาผิดนายทุนใหญ่ดังกล่าวได้ เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ตลอดระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ตั้งแต่ปี 2555 จนมีชาวประมงนำไปร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) เมื่อปี 2560 กรมประมงและพวก ก็ไม่ได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังและรวดเร็ว จนทำให้ปลาดังกล่าวแพร่ระบาดไปจนเกิดจะควบคมได้ การแก้ไขปัญหาทุกวันนี้เป็นเพียงปลายเหตุของปัญหาเท่านั้น ชาวประมงที่เดือดร้อน และเสียหาย จึงมาร้องขอให้องค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ช่วยเป็นตัวกลางดำเนินการดังกล่าว อย่าปล่อยให้กรมประมงและนายทุนใหญ่ลอยนวลไปได้ จึงนำความไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลออกคำบังดับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เอาผิดบิ๊กเอกชนต้นเหตุของปัญหา และให้รับผิดชอบต่อความเสียหายของชาวประมงทั้งหมด และสั่งให้นายทุนใหญ่ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่สูญหายไป ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ตามเดิม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น