“สุชาติ” แจงยิบคำพิพากษา “ศาลปกครองสูงสุด” ชี้ชัดกทม.KT ต้องชำระหนี้ ใน 180 วัน ยัน BTS พร้อมคุยทางออก

บีทีเอสน้อมรับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เรื่องหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และที่ 2 หลังใช้เวลากว่า 3 ปี ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และยืนบนความถูกต้อง พร้อมเจรจากับกทม.และ KT เพื่อหาทางออกร่วมกัน

“สุชาติ” แจงยิบคำพิพากษา “ศาลปกครองสูงสุด” ชี้ชัดกทม.KT ต้องชำระหนี้ ใน 180 วัน ยัน BTS พร้อมคุยทางออก Top News รายงาน

BTS

 

30 ก.ค 2567 บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (“บีทีเอส”) นำโดยนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และพ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง ”หนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว“ หลังจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 ก.ค..ที่ผ่านมา ให้กรุงเทพมหานคร (“กทม.”) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (“KT”) ร่วมกันชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน – วงเวียนใหญ่ – บางหว้า และช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง (เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงพฤษภาคม 2564) และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (เดือนเมษายน 2560 ถึง พฤษภาคม 2564) จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท

 

โดยทางด้านนายคีรี กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง และเป็นวันที่รอคอยนาน 100,000 นาน ด้วยความกดดันกับทุกสิ่งที่ลงทุนไป และการหาทุนเพื่อไม่ให้การเดินรถหยุดชะงัก เพราะการหยุดเดินรถไม่ได้เป็นประโยชน์กับใครทั้งบริษัทก็เกิดความเสียหายกทม. ก็เกิดความเสียหายรวมไปถึงคนที่ใช้งานประจำก็เกิดความเสียหายที่จะต้องหาระบบอื่นรองรับการเดินทาง เพราะตั้งแต่ไม่ได้รับเงินค่าจ้างเดินรถ เราต้องควักเงินให้กับทุกอย่าง โดยเงินพวกนี้ถือว่าใหญ่มากและตนก็มีนโยบายแน่นอนที่จะไม่ให้เดือดร้อนประชาชน และโชคดีที่บริษัทได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินธนาคาร ในการรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและได้รับกำลังใจจากผู้ถือหุ้นในการต่อสู้

 

 

ทั้งนี้บีทีเอสได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง จนได้รับความเป็นธรรมจากศาลปกครองสูงสุด ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เราทำงานอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้พยายามชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และประชาชน รับทราบมาโดยตลอด และ ณ วันนี้ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ความพยายามที่บีทีเอสทำมาตลอดนั้นไม่สูญเปล่า และยังเป็นการยืนยันคำพูดของตนว่า “บีทีเอสทำงานบนพื้นฐานความถูกต้อง และได้ปรึกษาทีมกฎหมายอย่างครบถ้วน ถ้าสัญญาไม่พร้อมหรือไม่ถูกต้อง ตนย่อมไม่ลงนามอย่างแน่นอน

 

 

 

นายคีรี กล่าวอีกว่า เพราะบีทีเอสเป็นบริษัทมหาชน ดังนั้นตนต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทุกคน รวมถึงกลุ่มผู้โดยสาร ที่ตนยืนยันเสมอมาว่าจะไม่หยุดเดินรถอย่างแน่นอน” ที่สำคัญคำพิพากษาเกี่ยวกับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ จะเป็นแนวทางในการพิจารณาคดีในหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป ยืนยันตนทำอะไรตรงไปตรงมาที่สุดและไม่ยอมรับรับผิดชอบในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นบีทีเอสได้รับทราบจากข่าวของสื่อมวลชน ว่า กทม. พร้อมที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ดีบีทีเอสก็อยากให้กทม. และ KT คำนึงถึงยอดหนี้ในส่วนที่เหลือด้วยเนื่องจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

สำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงสิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีจำนวนกว่า 39,402 ล้านบาท แบ่งเป็น

 

 

• ยอดหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ให้กทม. และ KT ร่วมกันชำระให้กับบีทีเอสเป็นเงินจำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท

• ยอดหนี้ที่บีทีเอสได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ให้กทม. และ KT ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงให้กับบีทีเอสของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 (หนี้ค่าจ้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ถึง ตุลา คม 2565) เป็นเงินจำนวนกว่า 11,811 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

• ยอดหนี้ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มิถุนายน 2567 ที่ยังค้างชำระ เป็นเงินจำนวนกว่า 13,513 ล้านบาท

• ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในเส้นทางส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงสิ้นสุดสัมปทาน ปี พ.ศ. 2585

 

 

นายคีรี กล่าวอีกว่า บีทีเอสยินดีและพร้อมที่จะเจรจากับกทม. และ KT ในการหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้บริการสาธารณะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป ทั้งนี้ หากทั้งสองหน่วยงานมีแนวทางอื่น ๆ ที่อยากให้พิจารณา บีทีเอสก็ยินดี และพร้อมที่จะเจรจา หากข้อเสนอเหล่านั้นมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย พร้อมขอให้ กทม. เห็นใจเอกชน โดยคำสั่งศาลได้ให้กทม.และเคทีชำระเงินเอกชนภายใน 180 วัน

 

“ตนรู้สึกดีใจ และเป็นชัยชนะให้กับตัวเองที่ต่อสู้อย่างบริสุทธิ์มาโดยไม่ยอมแพ้ เชื่อว่าลูกหนี้เข้าใจ เพราะสัญญาและการจัดซื้อจัดจ้างไม่มีอะไรผิด ฉะนั้นสิ่งที่เราทำมา หรือสิ่งที่ตนเคยพูด พวกเราทำอะไรตรงไปตรงมา และทำในสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา หวังว่ากทม. และ KT จะเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของเอกชนอย่างเรา ที่ไม่เคยหยุดให้บริการเดินรถ และควรให้ฝ่ายกฎหมายเร่งพิจารณาแนวทางการชำระหนี้แก่บีทีเอสโดยเร็ว” นายคีรี กล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ทางด้านพ.ต.อ. สุชาติ ระบุอีกว่า ในประเด็นต่อสู้มีเรื่องตัวเลขหนี้ไม่ถูกต้อง โดยอ้างสูตรการคิดคำนวณ ศาลได้วินิจฉัยว่า เอาสูตรมาคิดไม่ได้ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่หนึ่งและผู้ถูกฟ้องคดีที่สองกล่าวอ้างในการนำสูตรคำนวณมาใช้ในการคำนวณหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยค่าบริการเดินรถ ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าการจะนำสูตรดังกล่าวมาใช้นั้น ตามเอกสารแนบท้าย7 ของสัญญาต้องเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีตกลงกับผู้ถูกฟ้องคดีที่สองหากมีการปรับค่าจ้างใหม่ใหม่ตามปัจจัยภายนอก ดังนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่หนึ่งและผู้ถูกฟ้องคดีที่สองจึงไม่อาจนำสูตรคำนวนในเอกสารแนบท้ายของสัญญามาใช้คำนวณหนี้เงินและดอกเบี้ยค่าบริการโดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้ตกลงกับผู้ถูกฟ้องคดีที่สองตามสัญญาได้

นอกจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีต่อสู้ว่า สัญญาจ้างนี้ไม่ใช่สัญญาทางปกครอง ศาลปกครองจึงรับไว้พิจารณาไม่ได้ ศาลวินิจฉัยในประเด็นที่ 5 ว่าเป็นสัญญาทางปกครอง วินิจฉัยได้

ประเด็นที่ 5 สัญญาพิพาทไม่ใช่สัญญาทางปกครองที่ศาลปกครองจะมีอำนาจรับไว้พิจารณา ในประเด็นนี้ศาลปกครองชั้นต้นได้ที่แล้วว่าคดีอยู่ในหน้าศาลปกครอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่สองไม่ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลปกครองภายในกำหนดระยะเวลาจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลปกครองสูงสุดจะรับไว้พิจารณาตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสาม

ประเด็นที่ 6 เป็นประเด็นสำคัญที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงนี้ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยศาลได้มีการวินิจฉัยในทุกประเด็นที่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคมโต้แย้ง โดยปรากฏในส่วนความเห็นของตุลาการเสียงข้างน้อย

1. ในประเด็นความชอบด้วยกฎหมายในเชิงรูปแบบขั้นตอนและการใช้ดุลยพินิจในการคัดเลือก

2. การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุน

3. การใช้ดุลยพินิจในการคัดเลือกคู่สัญญาโดยวิธีพิเศษ

4. รวมตลอดไปถึงการกระทำที่ไม่เป็นไปตามมติครม. การไม่ได้ขอให้ครม.มีมติยกเว้นหลักการคัดเลือก

5. ผู้ถูกฟ้องคดีหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม พรบ.ร่วมทุน ๒๕๓๕ แต่เห็นด้วยว่า เรื่องนี้ไม่เป็น”การร่วมงาน” แต่ควรเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

 

 

นอกจากนี้พ.ต.อ.สุชาติ ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ตนขอเน้นย้ำ ประเด็นวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่ ได้มีความเห็นตรงกันว่า

1.สัญญาว่าจ้างทั้งส่วนต่อขยาย 1 และ 2 สมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ

2.การทำสัญญาทั้งสองฉบับกรุงเทพมหานคร กรุงเทพธนาคมและบีทีเอสสามารถกระทำได้โดยไม่ขัดกฎหมาย ไม่ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ร่วมทุน ไม่ขัดประกาศคณะปฏิวัติ ไม่ขัดมติครม.

3.บีทีเอสเป็นผู้ได้รับสัมปทานในเส้นทางหลักตั้งแต่ 2542 จึงเป็นผู้มีความชำนาญพิเศษ และเพื่อให้การบริการทั้งส่วนหลักและส่วนต่อขยายเป็นไปอย่างต่อเนื่องโครงข่ายเดียวกัน อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การจ้างบีทีเอสจึงเข้าข่ายลักษณะที่จะต้องดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ

4.กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคมต้องร่วมกันชำระหนี้ให้บีทีเอสตามจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยผิดนัดตามสัญญาทั้งสองฉบับ ภายใน 180 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น