“อ.เจษฎา” ชี้ปลาที่พบในวังกุ้งคลองด่าน ไม่ใช่ ‘ปลานิลคางดำ’ กรมประมงเร่งตรวจสอบแล้ว

"อ.เจษฎา" ชี้ปลาที่พบในวังกุ้งคลองด่าน ไม่ใช่ 'ปลานิลคางดำ' กรมประมงเร่งตรวจสอบแล้ว

“อ.เจษฎา” ชี้ปลาที่พบในวังกุ้งคลองด่าน ไม่ใช่ ‘ปลานิลคางดำ’ กรมประมงเร่งตรวจสอบแล้ว  Top News รายงาน 

 

ปลานิลคางดำ

 

จากกรณีที่มีการรายงาน ระบุว่า พบปลาคล้ายลักษณะของ ปลาหมอคางดำ ในวังกุ้งคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ จนมีกระแสว่าเป็นปลานิล ที่กลายพันธุ์มาเป็นปลานิลคางดำนั้น

 

 

ล่าสุดวันนี้ (31 ก.ค.) ทีมข่าวได้เดินทางไปยังสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสอบถามถึงประเด็นดังกล่าว ว่า เกิดการกลายพันธุ์หรือไม่ พบว่า ทางประมงจังหวัดได้มีการประชุม จึงยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้

ขณะเดียวกัน นายสมพร เกื้อสกุล ประมงจังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ว่า ตอนนี้ต้องรอความชัดเจนก่อน เพราะยังไม่แน่ชัดว่ามีการกลายพันธุ์หรือไม่ ตอนนี้ ได้ส่งนักวิชาการลงไปเก็บตัวอย่าง เพื่อมาตรวจสอบแล้ว โดยจุดนี้น่าจะเป็นพื้นที่แรกที่มีการแจ้ง ทั้งนี้หากผลตรวจพิสูจน์ออกมาเป็นอย่างไรจะได้ชี้แจงต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ทางด้านรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า มันคือ “ปลาหมอคางดำที่อ้วน” ไม่ใช่ปลานิลที่กลายพันธุ์ และจากที่ดูในคลิปข่าวแล้ว ก็คือ “ปลาหมอคางดำ” แค่มันกินจนอ้วน คนไม่คุ้นตา เพราะคิดว่ามันจะต้องผอมเรียวยาวเท่านั้น

 

จากข้อมูลของแอฟริกา ปลาหมอคางดำ ถ้าเติบโตดี อาหารดี จะยาวเฉลี่ย 8 นิ้ว และสถิติตัวยาวสุด ถึง 11 นิ้ว

 

การจำแนกความแตกต่างระหว่าง “ปลาหมอคางดำ” ออกจาก “ปลาหมอเทศ” และ “ปลานิล” ให้ดูที่ลักษณะจำเพาะ อย่าดูแต่ความอ้วนผอม โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระ ด้านความหลากหลายของสัตว์น้ำ เคยโพสต์ข้อมูลไว้ว่า ปลาหมอคางดำ จะมีลักษณะเด่น คือ ใต้คาง มักมีแต้มดำ หางเว้าเล็กน้อย และไม่มีลายใด ๆ ในขณะที่ ปลาหมอเทศ จะมีแก้ม ในตัวผู้มักมีแต้มขาว หางมน มีขอบแดงเสมอ ส่วนปลานิล จะมีแก้มและตัวสีคล้ายๆ กัน หางมน และมีลายเส้นคล้ำขวางเสมอ

 

ซึ่งถ้าพิจารณาดูจากปลาต้องสงสัยในคลิปข่าวแล้ว ก็จะเห็นว่า ไม่ได้มีลักษณะ “ลายเส้นคล้ำขวาง” (ตามลำตัว และหาง) แบบปลานิล ที่จะให้คิดว่าเป็นปลานิลกลายพันธุ์มาคล้ายปลาหมอคางดำ หรือเกิดลูกผสมกัน

ข้อสังเกตอีกอย่างคือ ปลานิลและปลาหมอเทศ เป็นปลาคนละสกุล กับปลาหมอคางดำ การที่ในเวลาไม่กี่ปี จะกลายพันธุ์ มาคล้ายกันได้นั้น ก็เป็นไปไม่ได้เลย ส่วนการเกิดลูกผสมข้ามสกุล ระหว่างปลานิลกับปลาหมอคางดำนั้น เคยโพสต์อธิบายอย่างละเอียดแล้ว ว่า มีการทดลองทำได้จริงในระดับงานวิจัย แต่ทำลูกผสม F1 สำเร็จได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ และไม่มีรายงานว่าเกิดขึ้นในธรรมชาติ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น