“น้องจรัญ” เด็กหนุ่มเชื้อสายกัมพูชา ร้อง “Top News” ช่วยเป็นสื่อกลาง ประสานหน่วยงาน อยากมีบัตรประจำตัวไทย-สัญชาติไทย

"น้องจรัญ" เด็กหนุ่มเชื้อสายกัมพูชา ร้อง "Top News" ช่วยเป็นสื่อกลาง ประสานหน่วยงาน อยากมีบัตรประจำตัวไทย-สัญชาติไทย

วันที่ 2 ส.ค.2567 ทีมข่าว Top News ได้รับเรื่องขอความช่วยเหลือจาก นายจรัญ เฮง หรือ “น้องจรัญ” อายุ 16 ปี สัญชาติกัมพูชา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันในหลายกรณี รวมทั้งเรื่องขาดแคลนทุนการศึกษา เนื่องจากเป็นคนต่างด้าว ไม่สามารถใช้ชีวิตเหมือนเด็กๆ คนอื่นได้จะไปสมัครงานงานพาร์ทไทม์ เพื่อหารายได้มาช่วยเหลือครอบครัวก็ไม่สามารถทำไม่ได้

 

 

น้องจรัญ เล่าว่า พ่อแม่ของตนเป็นชาวกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน จนมีลูก 2 คน คือ ตนเองและน้องชายอายุ 11 ปี ซึ่งเกิดในประเทศไทย จึงมีใบสูติบัตรการแจ้งเกิดเพียงอย่างเดียว ที่เป็นเอกสารของราชการไทย โดยพ่อแม่มีอาชีพเป็นแม่บ้านอยู่ในบริษัทเดียวกัน เงินเดือนตกคนละประมาณ 1 หมื่นกว่าบาทต่อเดือน

 

 

ทั้งนี้ เมื่อทำงานไปได้สักพักจึงได้ขอให้เจ้านายออกใบรับรองที่อยู่อาศัย เพื่อที่จะได้ส่งตนเองเข้าเรียนหนังสือในสถานศึกษาได้ และเมื่อตนได้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ก็ถูกเพื่อนบางคนล้อเลียนว่าเป็นคนต่างด้าว ไม่ใช่คนไทย แต่ก็ใช้ความอดทนและตั้งใจเรียนหนังสือมาตั้งแต่เด็กจนโต โดยมีเกรดเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ 3.5 ต่อเทอมมาโดยตลอด โดยจะมีความถนัดวิชาภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จนเมื่อเข้าสู่ชั้นมัธยมศึกษาปลาย ทางครอบครัวมีปัญหาเรื่องการเงิน ไม่พอจ่ายค่าเทอม , ค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายอื่นๆในชีวิตประจำวัน ที่มีค่าใช้จ่ายตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท จึงจำเป็นต้องหยุดเรียน ขณะกำลังขึ้นชั้นมัธยมตอนปลาย จึงคิดอยากจะหางานพาร์ทไทม์ทำ เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในครอบครัว แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะในการสมัครงานจำเป็นที่จะต้องมีบัตรประชาชน หรือการทำบัตรธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งน้องจรัญนั้นไม่มี และไม่สามารถขอได้ ทำได้เพียงแค่ไปทำงานเสริมกับพ่อแม่ซึ่งได้เงินวันละไม่กี่บาท จึงจำใจต้องหยุดเรียนและอยู่บ้านไปช่วงหนึ่ง แต่แล้วพ่อและแม่ก็ไปหากู้ยืมเงินมาจ่ายค่าเทอมให้จึงเรียนต่อชั้นม.4 ได้ ถึงแม้จะไม่สามารถเรียนวิชานักศึกษาวิชาทหารได้ก็ตาม

 

 

น้องจรัญ บอกอีกว่า แม้จะได้กลับไปเรียนหนังสือ แต่ปัญหาก็ยังไม่หมด ในชีวิตประจำวันหากตนใส่ชุดไปรเวท หรือชุดอยู่บ้านเดินออกไปตามสถานที่ต่างๆ ก็มักจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทักถามขอดูบัตรประชาชนอยู่เสมอ ทำได้แต่เพียงตอบเจ้าหน้าที่ไปตรงๆว่า เป็นคนต่างด้าว และให้ดูใบสูติบัตรที่ถ่ายรูปเก็บไว้ในมือถือให้เจ้าหน้าที่ดู ก่อนจะถูกตักเตือนแล้วปล่อยไป ทำให้ตนนั้นไม่กล้าที่จะออกไปทำธุระอื่นๆ หรือไปเที่ยวกับเพื่อนนอกบ้านได้ รู้สึกเหมือนถูกแบ่งชนชั้น และอับอายที่เพื่อนมองเป็นคนต่างด้าว มาอาศัยและเรียนหนังสืออยู่ในประเทศไทย หากเป็นไปได้ก็อยากให้ผู้ใหญ่ใจดีส่งเสริมเรื่องทุนการศึกษา และเรื่องการขอบัตรประจำตัว เพื่อจะได้สานฝันในการศึกษา กระทั่งจบมหาลัยและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของครอบครัว โดยในอนาคต ตนมีความฝันอยากจะเป็นตำรวจคอยช่วยเหลือประชาชน ให้เหมือนกับตัวเองที่อยากช่วยเหลือครอบครัวอยู่ในตอนนี้

 

ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับน้องจรัญ ซึ่งเรียกว่าเป็นปัญหาภาวะไร้สัญชาติ ค่อนข้างส่งผลกระทบกับเด็กในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในหลายๆอย่าง ทั้งการขาดโอกาส และมักถูกเลือกปฏิบัติในหลายๆ กรณี ทั้งความยากจน การเข้าไม่ถึงการศึกษา รวมไปถึงสิทธิการรักษาพยาบาล และความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่เพียงแต่น้องจรัญที่กำลังประสบปัญหา แต่ยังมีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องเผชิญปัญหาแบบเดียวกัน และยังรอคอยโอกาสจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเข้าให้ความช่วยเหลือเรื่องสิทธิขั้นและการศึกษาที่ควรได้รับ

 

ทีมข่าวได้ไปหาข้อมูล เกี่ยวกับ การรับนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการรับนักเรียน นักศึกษา เข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2548 ข้อ 6 การรับนักเรียน นักศึกษา ในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษาเรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับ เพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้

1. สูติบัตร

2. กรณีไม่มีหลักฐาน ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน

3. ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม ข้อ 1 และ 2 ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้ เช่น ทะเบียนประวัติของผู้ติดตาม ท.ร. 1/1 หนังสือรับรองการเกิด เพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะ ทางทะเบียนราษฎร เป็นต้น

4. ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม ข้อ 1, 2 และ 3 ให้บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชน ทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคล เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”
"กนก" โพสต์แฟนข่าว "ท็อปนิวส์" เต็มอิ่ม สนุกสุดทัวร์ย้อนประวัติศาสตร์ "ลั่วหยาง-ซีอาน"
อุตุฯ เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" 45 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง กทม.โดนด้วย
ก่อนคิดถึง "กาสิโน" บังคับใช้กม.ให้ได้ก่อน 2 ปีคดีฟอกเงิน "นอท" ไม่คืบ
"พิพัฒน์" นำทัพภูมิใจไทย ปราศรัยใหญ่ ขอเสียงชาวเมืองคอน ส่ง "ไสว" เป็นสส. ชูเป็นจิ๊กซอร์เชื่อมท้องถิ่นดูแลปชช.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น