หางานใหม่-ถูกนายจ้างเอาเปรียบ-อยากฝึกอาชีพเพิ่มรายได้ ให้บัณทิตแรงงานช่วย

หางานใหม่-ถูกนายจ้างเอาเปรียบ-อยากฝึกอาชีพเพิ่มรายได้ ให้บัณทิตแรงงานช่วย

ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจ โดยมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ให้เป็นเชิงประจักษ์ต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ผ่าน สำนักงานส่วนภูมิภาค โดยมีบัณฑิตแรงงานชายแดนภาคใต้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานช่วยเหลือ การดำเนินภารกิจในระดับพื้นที่ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน การปฏิบัติหน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน เพื่อให้แรงงานทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการให้บริการด้านแรงงาน มีความร่วมมือกัน บริหารจัดการทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้ ซึ่งการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านแรงงานในพื้นที่ โดยบัณฑิตแรงงาน” ในครั้งนี้ ผู้ผ่านการสัมมนาทุกท่านจะได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) อีกด้วย

 

บัณฑิตแรงงาน

 

นางสาวมาดีฮะห์ สะอะ บัณฑิตแรงงานประจำตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา บอกกับเราว่า หลังเรียนจบ ม.วลัยลักษณ์ จังหวัด นครศรีธรรมราช ตอนเรียนจบใหม่ๆ ไม่มีความคิดว่าจะมาทำงานราชการเลย ตอนฝึกงานก็ฝึกที่บริษัทซีพี กระทั่งพอกลับมาอยู่บ้าน เพื่อนก็บอกว่า ที่สงขลาการรับสมัครบัณฑิตแรงงาน ซึ่งตอนนั้นมีคนไปสมัคร 13 คน และสุดท้ายเราก็ได้มาทำงานตรงนี้ โดยการสอบสัมภาษณ์เข้ามา ไม่ได้สอบข้อเขียน และเมื่อได้มาทำงานจริงก็รู้สึกภูมิใจมาก เพราะเหมือนได้นำความรู้ที่เรามี มาตอบแทนบ้านเกิด ได้ช่วยเหลือคนในพื้นที่ จากที่บ้านเศรษฐกิจมันไม่ดี เรามีหน้าที่ไปส่งเสนิมอาชีพให้เค้าให้เค้ามีรายได้เสริม ในขณะที่บางคนเราก็ไปลดรายจ่าย ช่วยเค้าในการฝึกอาชีพ เป็นรายหมู่บ้าน ใครอยากจะฝึกจะทำอะไรเราก็ฝึกให้ อย่างผู้ชายก็จะอยากฝึกเกี่ยวกับช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ หลังจากได้มาฝึกอบรมก็นำความรู้ในส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ในการหารายได้ รู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากที่ได้เป็นบัณฑิตแรงงาน เพราะได้ช่วยคน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“นอกจากนี้ยังได้ช่วยคนตกงาน เราแนะนำให้เค้ามาขึ้นทะเบียนกับเรา เอาตำแหน่งงานให้เค้าเลือกเค้าจะได้มีงานทำ หรือบางคนบอกว่า ฉันไม่สะดวกไปทำงานในเมือง ไม่อยากไปในตัวจังหวัดหรืออำเภอ แต่อยากทำงานใกล้บ้าน เราก็เลยเก็บข้อมูลเค้าไว้ หลังจากมีตำแหน่งว่างในพื้นที่เราก็จะแจ้งเค้าไป นั่นคือเค้าช่วยให้เราได้งาน พอเจอเค้าเราก็ภูมิใจ เค้าก็ทักทายยิ้มให้เรา ใครที่อยู่สงขลา แล้วตกงานอยู่สามารถมาขอคำปรึกษาได้เลยโดยตรง ที่บัณฑิตแรงงานทุกตำบล”

 

นางสาวมาดีฮะห์ บอกด้วยว่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ เช่น บางสถานประกอบการ นายจ้างหักเงินวันละ 500 บาท เราก็ประสานไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วก็ให้เค้ากรอกข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้น ตอนแรกเค้าไม่กล้าเขียนความจริงลงไป เพราะกลัวมีปัญหากับนายจ้าง แต่การกรอกข้อมูลระบุว่าไม่ประสงค์จะออกนามได้ หลักจากนั้นก็คือเค้าได้รับการแก้ปัญหา

“ใครตกงาน ต้องการรายได้เสริม หรือเกิดความเดือดร้อนปัญหาด้านเรงงาน และเรื่องของการเบิกสิทธิ์ประกันสังคม เราจะประสานงานให้ทั้งหมด จากนี้ไปใครคิดอะไรไม่ออก ให้บอกบัณฑิตแรงงานค่ะ เราช่วยได้ ”

 

ขณะที่ นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายผลิตบัณฑิตแรงงานเป็นตัวแทนของกระทรวงแรงงานภาคประชาชนให้ครบ 878 อำเภอทั่วประเทศไทย ภายใน 2 ปี เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงกับชาวบ้าน ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และให้บริการด้านแรงงาน รวมทั้งส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาได้นำร่องจ้างงานบัณฑิตที่จบปริญญาตรีเข้ามาเป็นบัณฑิตอาสาแรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ได้แก่ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (อ.จะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย) จำนวน 380 คน และในปีนี้ 2567 นี้เพิ่มขึ้นอีก 113 คนทั่วประเทศ โดยมีค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท และเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ด้วย

 

“ขอให้บัณฑิตแรงงานศึกษาข้อมูลและประสานงานกับหน่วยงานของกระทรวงแรงงานในพื้นที่และหน่วยงานอื่น ๆ รวมถึงอาสาสมัครแรงงานและ 5 เสือแรงงาน เพื่อช่วยอธิบายข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เช่น โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 เป็นต้น ที่ผ่านมา บัณฑิตแรงงานทำงาน 4 ระดับ คือ 1. เป็นคนในพื้นที่ เข้าใจภาษาและบริบทสภาพแวดล้อม นำข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน 2. เป็นผู้ประสานนำบริการสู่ชุมชน เช่น จัดตั้งกลุ่มอาชีพ แนะแนวอาชีพ ให้ความรู้เรื่องการไปทำงานต่างประเทศ ประสานการหางานทำ ช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ 3. เป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตามที่ประชาชนต้องการ โดยจัดเวทีประชาคม นำปัญหามาวิเคราะห์และขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ 4. เป็นผู้ปฏิบัติงานตามแผนของกระทรวงแรงงานในระดับพื้นที่ ติดตาม และรายงานผลต่อกระทรวง สำหรับการผลิตบัณฑิตแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นช่วยตอบโจทย์การส่งเสริมการมีงานทำ รวมทั้งแก้ไขปัญหาเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาและการจ้างงาน ปัญหาการค้ามนุษย์ และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มแรงงานอิสระ ช่วยสร้างสันติสุขในพื้นที่อย่างยั่งยืน” นายภูมิพัฒน์ กล่าว

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น