“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” พอใจฝนตกหนัก กทม.ระบายน้ำเร็วในครึ่งชม. เตรียมพร้อมรับมือตลอดเดือนส.ค.นี้

ผู้ว่าฯ กทม. พอใจพื้นที่เสี่ยง บางนา-ฝั่งธนบุรี ฝนตกหนักแต่ระบายน้ำเร็วภายในครึ่ง ชม. เตรียมพร้อมรับฝนตกหนักเดือน ส.ค. ใช้ AI พยากรณ์อากาศแม่นยำ ตอนนี้กังวลแค่ Rain Bomb

“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” พอใจฝนตกหนัก กทม.ระบายน้ำเร็วในครึ่งชม. เตรียมพร้อมรับมือตลอดเดือนส.ค.นี้ – Top News รายงาน

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในเดือนสิงหาคม ว่า กทม. ได้วิเคราะห์การแก้ปัญหาน้ำท่วมมาตลอด ทั้งในระดับเส้นเลือดใหญ่และระดับเส้นเลือดฝอย เส้นเลือดใหญ่ของ กทม. คืออุโมงค์ยักษ์และระบบอุโมงค์หลักในการระบายน้ำ รวมถึงระบบประตูระบายน้ำต่าง ๆ ส่วนเส้นเลือดฝอย คือ การขุดลอกคูคลองและลอกท่อระบายน้ำ ซึ่งดำเนินการไปกว่า 90% ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์จุดเสี่ยงน้ำท่วมกว่า 577 จุด โดยถอดบทเรียนจากปัญหาน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ซึ่ง กทม. เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในจุดหลักแล้วกว่า 50% แต่บางครั้งการระบายน้ำอาจต้องใช้เวลาสักเล็กน้อย ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์ทั้งหมดน่าจะดีขึ้น

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายชัชชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีฝนตกในพื้นที่เขตบางนา ปริมาณน้ำฝนกว่า 70 มิลลิเมตร สามารถระบายน้ำได้รวดเร็ว มีเพียงแยกเดียวที่ได้รับผลกระทบ คือ บริเวณแยกถนนศรีนครินทร์ตัดกับถนนบางนา-ตราด และก่อนหน้านั้น คืนก่อนมีฝนตกหนักบริเวณฝั่งธนบุรี ทำให้ถนนเพชรเกษมมีน้ำท่วมขังแต่ก็ยังสามารถระบายน้ำได้ภายในครึ่งชั่วโมง เนื่องจาก กทม. มีศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพฯ ซึ่งคอยเฝ้าสังเกตการณ์ วิเคราะห์และพร้อมแก้ไขปัญหา รวมถึงมีเจ้าหน้าที่พร้อมลงพื้นที่แก้ไขปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง

“สิ่งที่วิตกกังวลคือการเกิดฝนตกหนักเฉพาะจุด หรือ ปรากฎการณ์ Rain Bomb ที่อาจส่งผลกระทบพื้นที่จุดอ่อนในกรุงเทพฯ ดังนั้น กทม. จึงต้องเพิ่มเติมในส่วนของการพยากรณ์ให้แม่นยำมากยิ่งขึ้นว่าฝนกำลังจะตกหนักในพื้นที่ใด เพื่อจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อมล่วงหน้ารองรับสถานการณ์ เช่น รถสูบน้ำเคลื่อนที่ อุปกรณ์เครื่องมือ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่”

 

ขณะนี้มีจุดที่เป็นห่วงคือคลองเปรมประชากรที่เป็นคลองหลัก ซึ่งจะรองรับน้ำจากคลองย่อยหลายคลองในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ปัญหาในปัจจุบันคือยังมีการก่อสร้างเขื่อนไม่เสร็จ และยังมีบ้านรุกล้ำคูคลอง โดยปัญหาดังกล่าวอยู่ย่านดอนเมืองและบริเวณซอยช่างอากาศอุทิศ ซึ่งได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไข และอีกคลองที่เป็นห่วงคือคลองประเวศบุรีรมย์ย่านลาดกระบังที่ยังเป็นจุดอ่อนอยู่ ซึ่งได้ดำเนินการให้เร่งระบายน้ำไปลงคลองบางซื่อโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม และเร่งขุดลอกคูคลองบริเวณที่เกี่ยวข้องแล้ว

ในส่วนของการใช้ AI ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม. นำมาใช้ในเรื่องของการรวบรวมข้อมูลมากกว่า เพื่อให้ข้อมูลมีความละเอียดมากขึ้น รวมถึงนำมาใช้ในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์ฝน ส่วนเรื่องของการวัดระดับน้ำยังไม่ได้ใช้ AI เข้ามาเกี่ยวข้องมากขนาดนั้น ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถาม ขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งปัญหาน้ำท่วมได้ที่ ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2248 5115 (ตลอด 24 ชั่วโมง) ศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์ สายด่วน กทม. โทร. 1555 หรือ Traffy Fondue

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แกนนำภูมิใจไทย" ผนึกกำลังหาเสียง หนุน "ไสว" ชิงเก้าอี้ เลือกตั้งซ่อมสส.นครศรีฯ มั่นใจผลงานพรรค
"ดีเอสไอ" จ่อเรียกสอบ 40 วิศวกร คดีตึกสตง.ถล่ม
"ฉก.ลาดหญ้า" ยันเหตุปะทะในประเทศเมียนมา ยังไม่มีผลกระทบชายแดนไทย
บางจาก ศรีราชา และ GISTDA ผนึกกำลังกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ร่วมสร้างอนาคต นกกาฮัง และ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น