“พชร นริพทะพันธุ์” พร้อมนำแผนป้องกันอาชญากรรมเทคโนฯ กสทช. หารือ 3 หน่วยงานสำคัญ

"พชร นริพทะพันธุ์" พร้อมนำแผนป้องกันอาชญากรรมเทคโนฯ กสทช. หารือ 3 หน่วยงานสำคัญ

พชร นริพทะพันธุ์” พร้อมนำแผนป้องกันอาชญากรรมเทคโนฯ กสทช. หารือ 3 หน่วยงานสำคัญ

วันที่ 6 ส.ค. 67 ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกสทช. พร้อมด้วย นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. และนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการกสทช.ให้การต้อนรับ นางเตียง นี เชียง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสาร ประเทศมาเลเซีย และ นายเดเรค เฟอร์นานเดซ คณะกรรมการการสื่อสารและมัลติมีเดียแห่งมาเลเซีย (MCMC) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจโทรคมนาคม เข้าเยี่ยมคารวะ

นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธานกสทช. กล่าวว่า “ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับกรอบการประชุมกลุ่มอาเซียน เพื่อจัดการภัยสแกมเมอร์ และ AI ที่เป็นปัญหาระดับภูมิภาค หลังจากที่ กสทช.ของไทย ได้ดำเนินมาตรการเข้มข้นในการจัดการสัญญาณ SIMBOX หรือเครื่องแปลงสัญญาณโทรศัพท์จากต่างประเทศ ซิมม้า และบัญชีม้า เพื่อสกัดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามนโยบายรัฐบาล”

พชร นริพทะพันธุ์

ข่าวที่น่าสนใจ

นายพชร กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีบทบาทนำมาตรการปราบปรามเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด เราบูรณาการความร่วมกันระหว่างฝ่ายตำรวจ ทหาร กสทช. และกระทรวง DES ในส่วนของปฎิบัติการ กสทช.ได้เร่งตัดสัญญานที่ให้บริการล้นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และถูกกลุ่มอาชญากรนำไปใช้ก่ออาชญากรรม ส่วนฝั่งวิศวกรรมและกฎหมาย สืบเสาะทำลายอุปกรณ์ผิดกฎหมายในพื้นที่ รวมถึงการระบุเครือข่ายการใช้ของอุปกรณ์คนร้าย เป็นต้น

 

หนึ่งในประเด็นหารือคือลักษณะการก่ออาชญากรรมที่เปลี่ยนแปลงไปใน 2 รูปแบบหลัก คือ การใช้ remote ddos เข้าบังคับเครื่องของประชาชนเพื่อโอนเงิน และ การทำ pig butchering scam ผ่าน romance หรือ investment scam ซึ่งทางหน่วยกำกับดูแลโทรคมนาคม ได้พยายามปิดกั้นการเข้าถึงสัญญาณของอาชญากรข้ามชาติ แต่ก็ยังติดเรื่องระบุตัวคนร้ายที่ใช้เทคนิค virtual control ที่สั่งการอยู่นอกประเทศไทย ปัญหาหลักตอนนี้คือการโอนเงินที่ง่ายเกินไป และปราศจากการป้องกันที่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นประเด็นที่จะยกขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ประเทศลาว ปลายปีนี้

สำหรับประเด็นสำคัญนี้ทาง ประธาน กสทช. ได้สั่งการ มอบให้ นายพชร ไปดำเนินการขอความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยเร็วที่สุด ป้องกันประชาชนจากการถูกหลอกลวงโอนเงินจากมิจฉาชีพ

นายพชร ระบุว่า “พร้อมจะนำแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีนี้ ไปหารือกับกระทรวง DES และ คณะทำงานที่มีธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เสริมแนวป้องกันทางเทคโนโลยีมากขึ้น เพราะข้อมูลของ กสทช ที่ได้จากการปฎิบัติการต่อเนื่อง ร่วมกับ ตำรวจ พบว่าช่องว่างการก่ออาชญากรรมตอนนี้คือการโอนเงินผ่านระบบโมบายแบงกิ้ง และ การโอนปลายทางไปยังสินทรัพย์ดิจิตัล ซึ่งไม่สามารถระบุตัวตนได้จึงต้องมีการออกมาตรการ แนวทางทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่จะสามารถช่วยประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อได้มากขึ้น”

 

ทางด้านนายเดเรค เฟอร์นานเดซ กรรมการ MCMC ได้เสนอแนวทางกำกับดูแล ระดับภูมิภาค และ ยกระดับความร่วมมือ ว่าจากการหารือที่ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย เน้นการสร้างความร่วมมือการดูแลฐานข้อมูล black list URL ที่ใช้ในการก่ออาชญากรรม และมาตรฐานการลงทะเบียน ให้เหมือนกันทั้งหมดในระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันการใช้ roaming sim ในการก่ออาชญากรรมต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น