โลกจับตา อิหร่านจะล้างแค้นอิสราเอลแบบไหน

อิหร่านเคยโจมตีโดยตรงต่ออิสราเอลมาแล้วครั้งหนึ่ง และเป็นครั้งแรกเมื่อ 13 เมษายนที่ผ่านมา ด้วยการยิงจรวดและโดรนกว่า 300 ลูก แก้แค้นถูกอิสราเอลถล่มสถานกงสุลในซีเรีย แต่อีกฝ่ายแทบไม่ระคาย และไม่ได้โจมตีกลับ ส่วนการแก้แค้นผู้นำฮามาสถูกลอบสังหารในกรุงเตหะราน ที่เชื่อว่ากำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วัน ยังไม่อาจฟันธงว่าจะออกมาในรูปไหน มีการโจมตีแบบไหนบ้างที่อิหร่านอาจจะนำมาใช้ลงโทษอิสราเอล

 

 

โจมตีทางอากาศ

 

หากเทียบศักยภาพทางทหารสองฝ่าย กองทัพอิสราเอลได้เปรียบด้านเทคโนโลยี ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนทั้งทางทหารและการเงินจากสหรัฐอเมริกา ที่มีพันธะกิจสร้างหลักประกันความมั่นคงแก่รัฐยิว อิสราเอลเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางจนถึงขณะนี้ ที่ได้ซื้อเครื่องบินรบสุดล้ำ F-35 ระบบอาวุธแพงที่สุดในประวัติศาสตร์

 

กลับกัน อิหร่านที่อยู่ในวังวนมาตรการแซงชั่นและโดดเดี่ยวทางการเมือง ไม่อาจเข้าถึงเทคโนโลยีทางทหารตะวันตก แต่เป็นแรงผลักดันสู่การพัฒนาอาวุธของตัวเอง รวมถึงมิสไซล์ และโดรน ที่เคยระดมยิงใส่อิสราเอลเมื่อเดือนเมษายน

 

เครื่องบินรบอิหร่านส่วนใหญ่ เป็นรุ่นเก่า เป็นมรดกตกทอดจากการปฏิวัติอิสลามในปี 2522 อิหร่านตกลงจะซื้อเครื่องบินรบของรัสเซีย แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามีการส่งมอบกันแล้วหรือยัง

 

แต่ถึงจะเสียเปรียบเทคโนโลยี แต่กองทัพอิหร่าน มีคลังขีปนาวุธและขีปนาวุธนำวิถี กับโดรนราคาถูก ที่ศัตรูประมาทไม่ได้ อิหร่านได้เรียนรู้จากการโจมตีครั้งก่อนว่า การฝ่าทะลวงระบบป้องกันทางอากาศของอิสราเอล เป็นความท้าทาย นั่นคือต้องฝ่าเครื่องบินรบของกองทัพอากาศอิสราเอล ระบบป้องกันทางอากาศ “แอร์โรว์” และ”เดวิดส์ สลิง” ยังไม่รวมการป้องกันจากสหรัฐและกองกำลังพันธมิตรอื่น ๆ ในภูมิภาค ที่เคยสกัดโดรนและมิสไซล์ 99% จากกว่า 300 ลูกที่อิหร่านยิงออกไป แต่ความเสียหายที่เกิดจากขีปนาวุธอิหร่านเพียงลูกเดียวในพื้นที่พลเรือน ก็ถือว่ามากมายแล้วสำหรับอิสราเอล

 

อิหร่านยังมีโดรนรุ่นล้ำที่ไปไกลถึงอิสราเอลได้ บางรุุ่นสามารถปล่อยระเบิดนำวิถีแม่นยำ และบางรุ่น เช่น โดรน กามิกาเซ่ “ชาเฮด-136” สามารถบรรทุกระเบิดได้ 20-40 กิโลกรัม

 

ส่วนคลังอาวุธป้องกันตนเองของอิหร่าน ประกอบด้วยระบบขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ เช่น S-300 ของรัสเซีย ใช้ต่อต้านเครื่องบินและครูซมิสไซล์ กับระบบต่อต้านขีปนาวุธพิสัยไกล อาร์มาน (Arman) ที่ผลิตในประเทศ แต่ระบบเหล่านี้ไม่ได้ผ่านการทดสอบการรบอย่างเข้มข้น เท่ากับระบบป้องกันของอิสราเอล

 

สงครามไซเบอร์

 

ทั้งสองฝ่ายต่างมีศักยภาพด้านนี้ ย้อนไปกว่า 10 ปีก่อน ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อิหร่าน ถูกโจมตีจากมัลแวร์ชื่อ สตักซ์เน็ต (Stuxnet) ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาวุธไซเบอร์รุ่นแรกของโลก ก่อนลามไปยังโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เชื่อกันว่า สตักซ์เน็ต เป็นปฏิบัติการร่วมของสหรัฐ กับอิสราเอล

 

ส่วนอิหร่าน สำนักงานข่าวกรองกลาโหมสหรัฐ ระบุในรายงานเมื่อ 11 เมษายนว่า อิหร่านมีขีดความสามารถปฏิบัติการไซเบอร์หลากหลาย ตั้งแต่ปฏิบัติการข่าวสาร จนถึงโจมตีทำลายเครือข่ายรัฐบาลและพาณิชย์ทั่วโลก

 

ปี 2563 แฮคเกอร์อิหร่านเคยแฮคระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มระดับคลอรีนในน้ำของอิสราเอล และยังมีรายงานการโจมตีไซเบอร์จากอิหร่านต่อเป้าหมายเช่น สนามบิน เบน กูเรียน เวบไซต์รัฐบาล โรงไฟฟ้า ท่าเรือ โรงกลั่นน้ำมัน และบริษัทพลังงานอิสราเอล

 

แต่ถ้าอิหร่านโจมตีไซเบอร์สำเร็จ ก็ต้องเตรียมรับว่าอิสราเอลก็จะตอบโต้แบบเดียวกัน

 

 

พันธมิตรแต่ละฝ่าย

 

กองกำลังฝ่ายอิหร่าน ได้แก่ กองกำลังชีอะต์ทั้งหลายในเลบานอน เยเมน อิรักและซีเรียที่ได้รับทุน อาวุธและการฝึกจากอิหร่าน ข่าวกรองอิสราเอลเชื่อว่า ฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในสงครามนี้หากเข้ามามีส่วนร่วม เป็นกองกำลังที่มีคลังจรวดและมิสไซล์ ที่รวมถึงมิสไซล์นำวิถีและพิสัยไกลไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นลูก บางฝ่ายประเมินว่ามีกว่าแสนลูก

ระบบป้องกันทางอากาศประสิทธิภาพสูงของอิสราเอล หากเผชิญกับการโจมตีพุ่งเป้าสถานที่อ่อนไหวหลายแห่งในเวลาเดียวกัน ก็เป็นไปได้ที่อาจจะมีการบาดเจ็บล้มตายและความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลได้เตือนให้ประชาชน เตรียมรับกับความสูญเสียไว้แล้วเช่นกัน

กบฏฮูตีในเยเมน ก็ถูกคาดหมายว่า จะมีบทบาทมากขึ้นในการล้างแค้นรอบนี้ หลังจากเมื่อ 19 กรกฎาคม เคยชิมลางส่งโดรนโจมตีอาคารหลังหนึ่งถึงกรุงเทลอาวีฟ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
พันธมิตรเดียวที่มีสถานะรัฐ ในตะวันออกกลางของอิหร่าน คือ ซีเรีย แต่ไม่อยู่ในสถานะที่จะช่วยเหลือได้

อิหร่าน ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย โดยล่าสุด นิวยอร์กไทมส์ อ้างเจ้าหน้าที่อิหร่าน ว่า รัสเซียได้เริ่มส่งมอบระบบป้องกันทางอากาศขั้นสูง และอุปกรณ์เรดาร์ให้กับอิหร่าน หลังจากที่เจ้าหน้าที่ในกรุงเตหะรานร้องขออาวุธจากรัฐบาลเครมลิน

ส่วนอิสราเอล มีสหรัฐและอังกฤษอยู่เคียงข้าง กองกำลังจากสองประเทศทำลายโดรนและขีปนาวุธจากอิหร่านบางส่วนเมื่อเมษายน นอกจากนี้ สหรัฐฯยังส่งเครื่องบินรบ และเรือรบ เสริมแนวป้องกัน ส่วนชาติอาหรับในภูมิภาคที่เคยช่วยปกป้องอิสราเอล ยังไม่ชัดเจนว่าจะกลับมาเป็นแนวป้องกันกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาอีกครั้งหรือไม่

ส่วนอิสราเอลจะตอบโต้หรือไม่และแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายต่อโครงสร้างพลเรือน แต่หากตอบโต้ ฮิซบอลเลาะห์น่ารับผลตามมามากที่สุด
การโจมตีอิหร่านเป็นเรื่องยากด้วยระยะทาง แต่อาจทำให้อิสราเอลใช้เป็นข้ออ้างโจมตีที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน อย่างที่เคยขู่มาหลายครั้งหลายหนว่าจะทำตลอดหลายปีที่ผ่านมา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โฆษกตร.แจงเหตุ "พ.ต.อ.ไพรัตน์" ได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง แม้เคยถูกออกหมายจับในอดีต
สุดเศร้า "สาวไทยวัย 30 " จบชีวิตในห้องน้ำห้างดังมาเลเซีย ล่าสุดครอบครัว-ญาติ รู้ข่าวแล้ว
"พิพัฒน์" เปิดโครงการก.แรงงานพบประชาชน สนับสนุนการเข้าถึงโอกาสตำแหน่งงาน พัฒนาอาชีพบุคคล
"สำนักงานสลากฯ" เห็นชอบขายสลาก N3 ต่อเนื่อง งวดละ 5 ล้านรายการ พร้อมเพิ่มผู้แทนเดินจำหน่าย
ระทึก จนท.ช่วย "ช้างป่า" ขึ้นจากสระน้ำ ก่อนทำร้ายชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส
ทางการจีนขอบคุณตร.ไทย ช่วยพลเมือง "ดารานายแบบ-เหยื่อชาวจีน" พ้นเงื้อมมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์
“นายกฯ” ยินดี “กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 2 เมืองที่ดีที่สุดในโลกปี 2025 ย้ำรบ.เร่งเดินหน้าพัฒนาทั่วประเทศ
"ทักษิณ" หาเสียงอบจ.หนองคาย ยันลุยแก้หนี้-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มั่นใจลดค่าไฟต่ำกว่า 3.70 บาท
"เจ้าของร้านทอง" ไหวพริบดี ช่วย "เหยื่อ" จากแก๊งคอลฯ หลังมิจฉาชีพอ้างเป็น ตร.บังคับขายทอง
‘อ.ปรเมศวร์’ วิเคราะห์ชัด ทำไมรื้อ‘คดีแตงโม’ ถึงเป็นไปได้ยาก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น