ซัดเดือด “อัษฎางค์” สวนกลับ “อดีตดารา” แซะศาลรธน. คำพูดบ่งบอกการศึกษา

เดือดข้ามวงการ! “พอล ภัทรพล” โพสต์ถึงองค์กรที่ควรถูกยุบ ด้าน “อัษฎางค์” คนจริง ฝากถึงอดีตดาราคนดัง กล้าแซะศาลรธน. เหมือนคนไร้การศึกษา ถ้าไม่พูด-ก็ไม่มีใครรู้ว่าโง่

ซัดเดือด “อัษฎางค์” สวนกลับ “อดีตดารา” แซะศาลรธน. คำพูดบ่งบอกการศึกษา – Top News รายงาน

 

หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคก้าวไกล บรรดาเหล่าด้อมส้มก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ ออกมาตีโพยตีพายกันยกใหญ่ ไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น สาวกฮาร์ดคอร์บางคนพาลหนัก ถึงขั้นขู่อาฆาตตุลาการศาลรธน. ประกาศลั่นจะจำหน้าเอาไว้ ขณะที่ พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ อดีตนักแสดงชื่อดัง ได้ทวีตข้อความด้วยว่า ที่น่ายุบที่สุดคือ “องค์กร“ ที่อำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก

ล่าสุด นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กถึงอดีตดาราคนนี้ทันทีว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทยคือ คนไทยจำนวนมากมีปริญญา แต่ไม่มีปัญญา ”องค์กรที่พอลพูดถึง“ ก็คงไม่พ้น “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ที่เพิ่งตัดสินยุบพรรคก้าวไกล อยากถาม พอล กูรูการเงินคนดังว่า ที่วิจารณ์แบบนั้น รู้หรือไม่ว่า องค์กรที่ว่านั้น ซึ่งหมายถึง ”ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ“ ประชาชนไม่ได้เลือก แล้วใครเลือก สงสัยมากๆ ว่า พอล เรียนหนังสือจบมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยมาได้ยังไง เพราะวิชากฎหมายพื้นฐานต้องเรียนมาแล้วทุกคน

เริ่มต้นพื้นฐานแบบนี้เลยนะ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 กำหนดให้ “ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งทั้ง 9 คนนี้ ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์” ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง พอลมีปัญหาอะไรหรือเปล่า? พอล มีปัญหาอะไรกับพระมหากษัตริย์หรือไม่? หรือพอลเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์หรือเปล่า?

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทีนี้มาอธิบายแบบรายละเอียดขั้นสูงขึ้นมาอีกนิด เพราะภาษากฎหมายบางทีมัน complicated คำว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” คือภาษากฎหมาย ที่คนไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย หรือบางคนแม้จะจบมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้เรียนนิติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ อาจไม่เข้าใจว่า *คำว่า “ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ“ แต่ความจริงผู้แต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริง ไม่ใช่พระมหากษัตริย์

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้ พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติก็จริง แต่ไม่ทรงมีอำนาจทางการเมือง หรืออำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน อำนาจแท้จริงที่ทรงมีเรียกว่า “อำนาจทางพิธีการ” เท่านั้น **ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริง คือ “วุฒิสภา” ***โดยผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก “วุฒิสภา” ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เมื่อได้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนแล้ว จึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย พระปรมาภิไธย หมายถึง พระนามของพระมหากษัตราธิราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ทีนี้เข้าใจคำว่า “อำนาจทางพิธีการ” ของพระมหากษัตริย์หรือยัง

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดในโลก และไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร ก็มีหลักการเดียวกันทั้งโลก นั่นคือ ผู้เลือกคณะรัฐมนตรี คือ รัฐสภา , ผู้เลือกศาลหรือตุลาการ คือ รัฐสภา   ส่วนผู้ที่เลือก สส. และ สว. ซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐสภา คือประชาชน  ดังนั้นอธิบายวิชากฎหมายเบื้องต้น ซึ่งมีสอนในชั้นมัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ซ้ำ ให้พอลได้ทบทวนแล้ว (ไม่รู้ว่าตอนเรียนสอบผ่าน หรือเรียนหนังสือจบมาได้ยังไง)

 

พอล ได้คำตอบแล้วหรือยังว่า ”องค์กร” ที่อำนาจมาก (ซึ่งพอลหมายถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ) แต่ “ประชาชนไม่ได้เลือก ตามที่พอลบ่นออกมา ความจริงแล้ว ใครเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำตอบคือ วุฒิสมาชิก เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยที่ วุฒิสมาชิก (ตามวิธีการสรรหาในปัจจุบัน) ประชาชนเป็นคนเลือกเข้าสภาอีกที ดังนั้น คำตอบสุดท้ายของสมการนี้คือ ประชาชนก็เป็นผู้เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเอง

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ในโลก ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยโดยตรง แต่เป็นระบบตัวแทน ระบบตัวแทนก็คือ ประชาชน เลือกผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิก เข้าไปทำงานการเมือง และบริหารราชการแผ่นดินแทนประชาชน แล้วผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก ซึ่งทำหน้าที่ในรัฐสภา ก็เป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรีและศาล แทนประชาชน
ดังนั้น คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และตุลาการในศาล ซึ่งเป็น 3 องค์กรที่มีอำนาจมากที่สุด (เนื่องจากเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน) โดยใช้อำนาจดังกล่าวนั้น แทนประชาชนทุกคน

เข้าใจหรือยังว่า ประชาชนเลือกผู้แทนฯ ผู้แทนฯ เลือกรัฐมนตรีและศาล เลือกได้แล้วจึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย *พระมหากษัตริย์มีอำนาจและหน้าที่ เพียงแค่ลงชื่อ หรือเซ็นชื่อรับรองเท่านั้น **พระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินเลย ***ผู้มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมือง หรือบริหารราชการแผ่นดิน คือ ประชาชนอย่างเราๆ ทุกคน

สิ่งที่พอล ภัทรพล โพสต์ไว้ว่า “ที่น่า ยุบที่สุดคือ องค์กรที่อำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก“ เป็นคำพูด หรือประโยคของคนที่เหมือนไม่ได้รับการศึกษา หรือเหมือนจบการศึกษามา โดยไม่มีความรู้ใดๆ ติดตัวมา นอกจากกระดาษหนึ่งใบที่เรียกว่า ใบปริญญา แต่เหมือนว่าอยากจะแสดงความเห็นอย่างคนที่มีการศึกษา

พอลคิดว่า เราเลือกผู้แทนฯ ให้ไปนั่งพูดในสภาเท่านั้นหรือ? ผู้แทนฯ ของเรา คือผู้มีอำนาจล้นฟ้าเลยนะ เพราะเขาใช้อำนาจอธิปไตยแทนเรา เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน คิดก่อนพูด มีความรู้จริงค่อยแสดงความคิดเห็น เพราะคำพูดหรือความเห็นใดๆ ของใคร บ่งบอกถึงภูมิรู้ของคนๆ นั้น คนเป็นกูรูทางการเงิน แต่ไม่รู้เรื่องการเมืองและกฎหมายพื้นฐานเลย ไม่ได้นะ เพราะการเงินมีปัจจัยสัมพันธ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการเมืองและกฎหมาย พูดแต่เรื่องที่รู้หรือเชี่ยวชาญน่ะดีแล้ว แต่อย่าไปพูดเรื่องที่ไม่รู้ เพราะไม่พูด คนก็ไม่รู้ ว่าเราโง่ หรือเราไม่รู้!

หลังโพสต์นี้ถูกเผยแพร่ออกไป มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น