“กรมวังฯ” เปิดงานเสวนา ยุคสิ้นสุดของมนุษย์ตุลาการหรือไม่

กรมวังฯ เปิดงานเสวนา "ยุคสิ้นสุดของมนุษย์ตุลาการหรือไม่" - ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงความร่วมมือของกระทรวงยุติธรรมด้านกระบวนการยุติธรรม ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปี ๒๕๖๗ ผู้พิพากษาปัญญาประดิษฐ์ : ยุคสิ้นสุดของมนุษย์ตุลาการหรือไม่? (AI Judge : Is the End of Human - Judge Era?)

 “กรมวังฯ” เปิดงานเสวนา ยุคสิ้นสุดของมนุษย์ตุลาการหรือไม่ – Top News รายงาน

กรมวังฯ

 

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร พลอากาศเอก สมคิด สุขบาง กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ 908 รองประธานกรรมการกองทุนกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปี 2567 ในหัวข้อ ผู้พิพากษาปัญญาประดิษฐ์ : ยุคสิ้นสุดของมนุษย์ตุลาการหรือไม่?

โดยมีนางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ของการจัดเสวนาในครั้งนี้  ตลอดจนวิทยากรในการเสวนา ได้แก่ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ , นายสมชาย อุดมศรีสำราญ ผู้พิพากษาศาลฎีกา และนายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล ผู้พิพากษาศาลฎีกา ดำเนินการเสวนาโดย นายนวรัตน์ กลิ่นรัตน์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา ศาลแพ่ง ศาลยุติธรรม และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงยุติธรรม จำนวน 180 คน

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้าไปมีบทบาทในเกือบทุกแง่มุมของชีวิตมนุษย์และสังคม  ไม่เว้นแม้ในการบริหารงานกระบวนการยุติธรรม โดยผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมักคล้อยตามเห็นดีงามไปตามคำกล่าวอ้างถึงประโยชน์ของการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีนี้มาใช้ และอาจหลงลืมการตั้งคำถามหรือข้อสงสัยถึงผลกระทบหรืออีกด้านหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระบวนการยุติธรรม (ทางอาญา)

เกี่ยวข้องกับชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้คน จากหนังสือ “เมื่อเครื่องจักรสามารถเป็นผู้พิพากษา คณะลูกขุน และเพชรฆาต: ความยุติธรรมในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ (When Machines Can Be Judge, Jury, and Executioner : Justice in the Age of Artficial Intelligence) ”  ซึ่งเขียนโดย แคเธอรีน บี ฟอเรสต์ (Katherine B Forest) อดีตผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางประเทศสหรัฐอเมริกาเล่มนี้ ผู้เขียนแสดงถึงข้อโต้แย้งที่กว้างขึ้น

เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) และความยุติธรรม กล่าวคือ มนุษย์ได้ให้กำเนิดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) ที่คุกคามแง่มุมต่าง ๆ ของการปกครองตนเองของพวกเรา  รวมถึงชีวิต เสรีภาพ และศักดิ์ศรีของพวกเรา เว้นแต่พวกเราจะดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อยึดคืน การควบคุมระบบยุติธรรมของพวกเรา และโดยการขยายอนาคตของพวกเรา การยอมรับการทำงานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artitifial Intelligence, AI)
อย่างสิ้นเชิง

ทำนองเดียวกับการยอมรับแนวทางการพิพากษาคดี (Sentencing Guidelines) ในลักษณะของหุ่นยนต์แนวทาง (Guideline Robots)  ผู้พิพากษาที่มีความเป็นมนุษย์คงไม่มีความจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ที่มีความสลับซับซ้อน ทั้งในเชิงโครงสร้างและจริยธรรมอีกต่อไป  ในขณะที่ผู้เขียนเชื่อว่าการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลนั้นเหนือสิ่งอื่นใด กล่าวคือ ความยุติธรรมเนื่องจากความเป็นธรรมเป็นกรอบการทำงานที่เหมาะสมสำหรับเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)  ในระบบกฎหมายของอเมริกา ไม่ใช่เทคโนโลยีที่มีปรัชญาการทำงานอยู่บนฐานคิดของลัทธิอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism)

 

หากเพ่งพินิจคิดตามด้วยความระมัดระวังความตื่นตัวของสังคมไทยต่อปัญหาความยุติธรรมในภาพรวมอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่มิจำกัดเพียงความยุติธรรมทางอาญา ในฐานะเครื่องมือแก้ไขหรือควบคุมสรรพปัญหาที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและชุมชนในฐานะเพื่อนร่วมโลกอย่างไม่ทำลายล้างซึ่งกันและกันจะเกิดขึ้นไม่ได้

ใช้บนจอโปรเจกเตอร์ ที่มีการเปิด VTR และมีภาพคลิป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา หากมิเป็น เพราะพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่พระราชทานการเรียนรู้แก่สังคมไทยให้เท่าทันต่อวิกฤติดังกล่าว และความเป็นจริงอย่างรอบด้านอันเป็นไปได้ของ “หลักนิติธรรม (The Rule of Law)”

ซึ่งสังคมไทยจำต้องเท่าทันต่อคำนี้จากหลายมิติ หาไม่แล้วอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทั้งส่วนบุคคลและภาพรวมในระดับประเทศ ที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในวาระการพัฒนาของสหประชาชาติภายหลังปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (post 2015 Development Agenda) การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ถือเป็นนวัตกรรมทางความคิด ที่สืบสานแนวทางสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ที่มักจะทรงจุดประกายความคิดใหม่ในแวดวงกระบวนการยุติธรรมไทยมาตลอด และจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้ไม่หลงลืมว่าผู้พิพากษาที่มีความเป็นมนุษย์ยังคงมีความจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ที่มีความสลับชับซ้อน ทั้งในเชิงโครงสร้างและจริยธรรม

 

    

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น