น่ากังขาสุด ๆ “ดร.สามารถ” ยก 6 ข้อสงสัย เหตุเบื้องหลังรัฐขยายสัมปทานทางด่วน “ศรีรัช-อุดรรัถยา”

น่ากังขาสุด ๆ "ดร.สามารถ" ยก 6 ข้อสงสัย เหตุเบื้องหลังรัฐขยายสัมปทานทางด่วน "ศรีรัช-อุดรรัถยา"

น่ากังขาสุด ๆ “ดร.สามารถ” ยก 6 ข้อสงสัย เหตุเบื้องหลังรัฐขยายสัมปทานทางด่วน “ศรีรัช-อุดรรัถยา”

 

ดร.สามารถ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

9 ส.ค.2567 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” ระบุว่า “ลึกไม่ลับ” กับ “ขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช”
อีก 22 ปี 5 เดือน

เชื่อว่ามีหลายประเด็นในการขยายทางด่วนศรีรัชออกไปอีก 22 ปี 5 เดือน ที่หลายคนยังไม่รู้ ขอบันทึกไว้ให้ผู้สนใจได้อ่าน อ่านแล้วจะรู้สึกอย่างไรก็สุดแล้วแต่

รัฐอ้างว่าต้องการลดค่าผ่านทางช่วงงามวงศ์วาน-พระราม 9 ที่ปัจจุบันสำหรับรถ 4 ล้อ มีอัตราสูงสุด 90 บาท จะปรับลดลงเหลือสูงสุด 50 บาท ในขณะเดียวกันรัฐบอกว่าทางด่วนช่วงดังกล่าวมีปริมาณรถมาก ทำให้รถติดบนทางด่วน จึงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) ช่วงดังกล่าวโดยให้เอกชนผู้รับสัมปทานลงทุนก่อสร้าง ทำให้ต้องขยายสัมปทานให้เอกชนอีก 22 ปี 5 เดือน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1. รัฐให้สัมปทานทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) แก่เอกชนเป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2533 จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 แล้วมีการขยายสัมปทานครั้งที่ 1 ออกไป 15 ปี 8 เดือน จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2578 ขณะนี้มีข่าวว่าจะขยายสัมปทานครั้งที่ 2 ออกไป 22 ปี 5 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2601 รวมระยะเวลาสัมปทานทั้งหมด 68 ปี 1 เดือน !

เป็นที่น่าสังเกตว่า ได้มีการขยายสัมปทานครั้งที่ 1 ออกไป 15 ปี 8 เดือน ทั้งๆ ที่สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับเดิม) ที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531 ระบุไว้ในข้อ 21 ว่า “ระยะเวลาของสัญญาอาจต่อออกไปได้อีก 2 ครั้งๆ ละ 10 ปี” นั่นหมายความว่าระยะเวลาที่ขยายออกไป 15 ปี 8 เดือน นานกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิมหรือไม่ ?

เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า มีข่าวว่าจะขยายสัมปทานครั้งที่ 2 ออกไป 22 ปี 5 เดือน ทั้งๆ ที่ สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) ที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ระบุไว้ว่า “ระยะเวลาที่เหลือตามสิทธิของสัญญาเดิม หมายถึง (ก) สำหรับสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ระยะเวลา 4 ปี 4 เดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญา และ (ข) สำหรับสัญญาเพื่อการต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน D) ระยะเวลา 11 ปี 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญา” นั่นหมายความว่าระยะเวลาที่จะขยายออกไป 22 ปี 5 เดือน นานกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิมหรือไม่ ?

อีกทั้ง เป็นที่น่าสงสัยว่า ในอนาคตหลังจากวันที่ 31 มีนาคม 2601 จะยังมีการขยายสัมปทานอีกหรือไม่ ?

2. พร้อมกับการขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช มีข่าวว่ารัฐจะขยายสัมปทานทางด่วนอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ให้เอกชนด้วย เดิมทางด่วนอุดรรัถยาได้รับสัมปทาน 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2539 จนถึงวันที่ 26 กันยายน 2569 แล้วมีการขยายสัมปทานครั้งที่ 1 ออกไป 9 ปี 1 เดือน 5 วัน จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2578 ขณะนี้มีข่าวว่าจะขยายครั้งที่ 2 ออกไป 22 ปี 5 เดือน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2601 รวมระยะเวลาสัมปทานทั้งหมด 61 ปี 6 เดือน 5 วัน !

3. การคำนวณหาระยะเวลาขยายสัมปทาน

 

 

 

 

(1) “มี” การแบ่งรายได้ให้เอกชนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาสัมปทานจากทางด่วนเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งรัฐลงทุนก่อสร้าง เดิมเอกชนได้รับ 40% เพิ่มขึ้นเป็น 50% ทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระยะเวลาขยายสัมปทานลดลง

(2) “มี” การแบ่งรายได้ให้รัฐลดลงตลอดระยะเวลาสัมปทานจากทางด่วนศรีรัช ส่วน A (ถนนรัชดาภิเษก-ทางแยกต่างระดับพญาไท-ถนนพระราม 9) และส่วน B (ทางแยกต่างระดับพญาไท-บางโคล่) ซึ่งเอกชนลงทุนก่อสร้าง เดิมรัฐได้รับ 60% ลดลงเหลือ 50% ทำให้รัฐมีรายได้ลดลง เอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระยะเวลาขยายสัมปทานลดลง

(3) “ไม่มี” การแบ่งรายได้ให้รัฐตลอดระยะเวลาสัมปทานจากทางด่วนศรีรัช ส่วน C (ถนนรัชดาภิเษก-ถนนแจ้งวัฒนะ) และส่วน D (ถนนพระราม 9-ถนนศรีนครินทร์) ซึ่งเอกชนลงทุนก่อสร้าง

(4) “ไม่มี” การแบ่งรายได้ให้รัฐตลอดระยะเวลาสัมปทานจากทางด่วนอุดรรัถยา ซึ่งเอกชนลงทุนก่อสร้าง

(5) “มี” การนำค่าดำเนินการและบำรุงรักษา (O&M) ของทางด่วนเฉลิมมหานครซึ่งรัฐลงทุนก่อสร้าง และทางด่วนศรีรัชทุกส่วนรวมทั้งทางด่วนอุดรรัถยาซึ่งเอกชนลงทุนก่อสร้างมารวมกับ O&M ของ Double Deck ซึ่งจะให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน เป็นผลให้เอกชนมีค่า O&M สูง ซึ่งจะทำให้ต้องขยายระยะเวลาสัมปทานนาน

(6) “มี” การกำหนดให้ผลตอบแทนการลงทุนของเอกชนเท่ากับ 9.75% ซึ่งถือว่าสูง จะทำให้ต้องขยายระยะเวลาสัมปทานนาน

ทั้งหมดนี้ ด้วยความห่วงใยพี่น้องประชาชนผู้ใช้ทางด่วนที่ต้องจ่ายค่าผ่านทางด้วยราคาแพงกรณีทางด่วนอยู่ภายใต้ระบบสัมปทาน

 

หมายเหตุ: ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรวีร์" ส่งหนังสือเชิญ "ธนดล" พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ชี้แจง กมธ.ปกครอง ปมที่ดิน สปก.เขาใหญ่
"ทรัมป์" บี้หนัก ฮุบ แหล่งแร่หายาก "ยูเครน" ขู่ปิดเน็ต Starlink
เอาจริง "ตร.ปอท." บุกจับ 2 แอดมินเพจ ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ยึดของกลาง เกือบ 2 พันชิ้น
“ภูมิธรรม" เดินหน้าปราบแก๊งคอลฯ ผนึกกำลังเพื่อนบ้าน ปิดช่องโหว่ อาชญากรข้ามชาติทุกช่องทาง
ย้อนเกล็ดแสบ "จีน" ส่งเรือรบติดขีปนาวุธ3ลำประชิดออสซี่ อ้างซ้อมรบใช้กระสุนจริง
ไม่รอดสายตา บุกทลายรังเขมร ดอดปลูกหมู่บ้านซุกปลายไร่ฝั่งไทย
"รัฐบาล" ย้ำดูแลปศุสัตว์ไทยต่อเนื่อง เร่งจ่าย "วัคซีนลัมปี สกิน" อีก 7.85 ล้านโดส
"รองปธ.วุฒิฯ" ไม่ทน สั่งฝ่ายกม.รวมหลักฐานผิดโดนกล่าวหา อั้งยี่ ซ่องโจร ยื่นถอดถอนรมต.
"พิพัฒน์" โชว์ผลตอบแทนลงทุน "ประกันสังคม" ปี 67 พุ่ง 5.34 % ฝากอนุฯกองทุนสปส.ต้องเลิกความคิดเก่าๆ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น