“อว.” จับมือ “บางจาก” วิจัย-พัฒนาสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิง GBA ช่วยลดควันดำ ฝุ่น PM 2.5

“อว.” จับมือ “บางจาก” วิจัย-พัฒนาสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิง GBA ช่วยลดควันดำ ฝุ่น PM 2.5

Top news รายงาน เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นประธานและสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต และสร้างอากาศสะอาดเพื่อคนไทย พร้อมด้วย นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว., พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และ ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.), ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), รศ.ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ คุณกัณฑมาศ กฤตยานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการผลิต บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวง อว.

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นางสาวศุภมาส กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 และนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อการดำเนินการทุกด้านเพื่อเร่งแก้ปัญหา PM 2.5 ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการ PM 2.5 แห่งชาติ และมอบหมายให้ทุกกระทรวงเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี กระทรวง อว. จึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทั้งประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหากยังไม่ได้รับการแก้ไข การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมของทั้ง 4 หน่วยงานในวันนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิงกรีเซอรอล บิวทิล อะเซทัล หรือ GBA ที่สามารถช่วยลดควันดำและฝุ่น PM 2.5 จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลได้ รวมถึงนำไปสู่การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอดและหาแนวทางการดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป GBA ที่สังเคราะห์ขึ้นจากงานวิจัยนี้ สามารถเตรียมได้จากผลิตภัณฑ์พลอยได้ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว นับเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงกับแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ พ.ศ. 2564-2570

“นี่คือความพยายามของ 4 หน่วยงานที่บูรณาการร่วมกันในมิติต่าง ๆ เพื่อแก้วิกฤติฝุ่น PM2.5 รวมถึงขับเคลื่อนงานวิจัยให้เกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณะประโยชน์ ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน” รมว.อว. กล่าว

 

ด้าน นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวว่า ปัญหา PM2.5 จากภาคจราจรมีสาเหตุหลักเกิดจากไอเสียรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะรถยนต์เครื่องยนต์ตีเซลเก่าที่ยังไม่ได้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ทางภาคีเครือข่ายงานวิจัยจึงได้ร่วมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยใช้สารเติมแต่งเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ เมื่อเติมลงในน้ำมันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ และลดฝุ่น PM2.5 ได้ โดยสารเติมแต่งนี้สามารถผลิตได้จากสารตั้งต้นที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต ซึ่งเตรียมได้จากปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง หรืออ้อย ดังนั้น งานวิจัยนี้นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตร มาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม

 

ขณะที่ ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า แหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 มาจากหลายแหล่งกำเนิด เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยเฉพาะรถดีเซลรุ่นเก่าที่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ต่ำ การเผาในที่โล่ง การเผาขยะ การเผาเพื่อการเกษตรไฟป่าทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ และการลักลอบเผาป่า รวมทั้งการก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม โดยในประเด็นแหล่งกำเนิดจากเครื่องยนต์ดีเซล วช. จึงร่วมกับ มทร.อีสาน เพื่อแก้ไขปัญหา PM2.5 จากแหล่งกำเนิดรถยนต์จากเครื่องยนต์ดีเซล ภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยากรดของแข็งคาร์บอนสำหรับการผลิตสารเติมแต่งเชื้อเพลิง กลีเซอรอล บิวทิล อะเซทัล เพื่อลด PM2.5 จากแหล่งกำเนิดเครื่องยนต์ดีเซล” ในปีงบประมาณ 2565 และ สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมต่อเนื่องฯ เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยในระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2567 วช. จึงร่วมมือกับ วศ. และ มทร.อีสาน วิจัยเพิ่มภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรม “การลดควันดำและ PM25 ของเครื่องยนต์ดีเซลด้วยสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิง” ที่มีบริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้ามาร่วมในฐานะหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โฆษกตร.แจงเหตุ "พ.ต.อ.ไพรัตน์" ได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง แม้เคยถูกออกหมายจับในอดีต
สุดเศร้า "สาวไทยวัย 30 " จบชีวิตในห้องน้ำห้างดังมาเลเซีย ล่าสุดครอบครัว-ญาติ รู้ข่าวแล้ว
"พิพัฒน์" เปิดโครงการก.แรงงานพบประชาชน สนับสนุนการเข้าถึงโอกาสตำแหน่งงาน พัฒนาอาชีพบุคคล
"สำนักงานสลากฯ" เห็นชอบขายสลาก N3 ต่อเนื่อง งวดละ 5 ล้านรายการ พร้อมเพิ่มผู้แทนเดินจำหน่าย
ระทึก จนท.ช่วย "ช้างป่า" ขึ้นจากสระน้ำ ก่อนทำร้ายชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส
ทางการจีนขอบคุณตร.ไทย ช่วยพลเมือง "ดารานายแบบ-เหยื่อชาวจีน" พ้นเงื้อมมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์
“นายกฯ” ยินดี “กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 2 เมืองที่ดีที่สุดในโลกปี 2025 ย้ำรบ.เร่งเดินหน้าพัฒนาทั่วประเทศ
"ทักษิณ" หาเสียงอบจ.หนองคาย ยันลุยแก้หนี้-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มั่นใจลดค่าไฟต่ำกว่า 3.70 บาท
"เจ้าของร้านทอง" ไหวพริบดี ช่วย "เหยื่อ" จากแก๊งคอลฯ หลังมิจฉาชีพอ้างเป็น ตร.บังคับขายทอง
‘อ.ปรเมศวร์’ วิเคราะห์ชัด ทำไมรื้อ‘คดีแตงโม’ ถึงเป็นไปได้ยาก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น