เปิดมุมมอง “ปกรณ์ นิลประพันธ์” กุญแจประสบความสำเร็จเขตเศรษฐกิจพิเศษ

กดติดตาม TOP NEWS

ชาติต่าง ๆ ไปดูจีนแล้วก็เอามาตั้งในบ้านตัวเองบ้าง แต่อย่างว่า ไม่มีที่ไหนสำเร็จสักที่ เพราะสักแต่จัดตั้ง ลอกมาแต่โครงสร้าง ไม่ได้คำนึงถึง key success factors สารพัดนั่นด้วย เพราะการค้าโลกในยุคหลัง 1990 นั้น liberalize มากขึ้น โดยเฉพาะหลัง 1995 ที่มีการจัดตั้ง WTO นั้น custom duties ลดลงเป็น 0 มากขึ้นเรื่อย ๆ จนจะหมดแล้ว โลกไม่ได้เป็น protectionism เหมือนช่วงที่จีนตั้ง SEZ แถมค่าแรง ค่าเช่าที่ดิน ก็แพง ต้นทุนการผลิตยังไงก็สู้จีนไม่ได้

TOP News บทความโดย : ปกรณ์ นิลประพันธ์ ต้นแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่ตั้งขึ้นในปี 1980 และประสบความสำเร็จงดงามจนชาติอื่นลอกเลียนไปตั้งบ้างในภายหลัง แต่ก็ไม่มีที่ใดเลยที่ประสบความสำเร็จอย่างต้นแบบนั้น เป็นเพราะเขาไม่ได้คำนึงถึง key success factors ของจีนเลย

 

ช่วงที่จีนตั้ง SEZ นั้นเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจโลกยังคงเป็น protectionism อย่างเต็มรูปแบบ ผลการเจรจารอบโตเกียว Tokyo Round (1973-1979) ที่ชี้ถึงปัญหาของ tariff และ non-tariff barriers มีผลให้จีนใช้ข้อค้นพบนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยการลดกำแพงภาษีนำเข้าและส่งออกลงจนเรียกว่าแทบจะไม่เก็บเลย การนำแรงงานต่างชาติระดับผู้บริหารเข้ามาทำงานในจีนได้ แต่แรงงานบลูคอลลาร์และแรงงานฝีมือต้องใข้คนจีนที่ค่าแรง ณ เวลานั้นยังคงถูกมากเพื่อให้เกิดการจ้างงานและเรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจ ต้นทุนที่ดินที่ต่ำมากยิ่งเย้ายวนให้ต่างชาติมาลงทุน ระบบการอนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว อำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน ที่สำคัญอีกประการคือเสถียรภาพทางการเมืองทั้มั่นคงมาก ทั้งการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศ อีกปัจจัยหนึ่งคือการค้าโลกยุคนั้นเน้น economy of scale และยังไม่มี e-commerce

ชาติต่าง ๆ ไปดูจีนแล้วก็เอามาตั้งในบ้านตัวเองบ้าง แต่อย่างว่า ไม่มีที่ไหนสำเร็จสักที่ เพราะสักแต่จัดตั้ง ลอกมาแต่โครงสร้าง ไม่ได้คำนึงถึง key success factors สารพัดนั่นด้วย เพราะการค้าโลกในยุคหลัง 1990 นั้น liberalize มากขึ้น โดยเฉพาะหลัง 1995 ที่มีการจัดตั้ง WTO นั้น custom duties ลดลงเป็น 0 มากขึ้นเรื่อย ๆ จนจะหมดแล้ว โลกไม่ได้เป็น protectionism เหมือนช่วงที่จีนตั้ง SEZ แถมค่าแรง ค่าเช่าที่ดิน ก็แพง ต้นทุนการผลิตยังไงก็สู้จีนไม่ได้

แนวคิดเรื่อง SEZ กำหนดพื้นที่พิเศษ ให้ incentive ด้านภาษีแก่นักลงทุนซึ่งมาลงทุนในพื้นที่นั้น จึงเป็นอะไรที่เก่ามาก ยิ่งในโลกที่ e-commerce ไปไกลมากแล้ว individual behavior ก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก mass production เป็นอะไรที่ไม่ต้องด้วยรสนิยมของปัจเจกซึ่งต้องการของที่ unique เป็นตลาดของ niche แข่งกันด้วย creativity แม้กระทั่ง SEZ ของจีนเขาก็ transform เป็น smart city ทีีปลอดภัย มี facilities อำนวยความสะดวก เพื่อดึงดูดนักลงทุนและพนักงานยุคใหม่ที่ทำงาน online ส่วนการผลิตใช้ robotic

ไม่มีอะไรหรอก พอดีอ่านข่าวเพื่อนบ้านให้ต่างชาติเช่าที่ทำ SEZ แตโครงการหยุดชะงักไปตาม ๆ กันเพราะนักลงทุนขาดเงินทุนก็นึกสงสารเขาเหมือนกัน ทำ projection สวยเริ่ดหรูมองแต่ว่ามันจะประสบความสำเร็จ (ซึ่งไม่มีอะไรประกันได้) กราฟประมาณการผู้ใช้บริการพุ่งขึ้น แต่ไม่ factor in ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมออย่าง geopolitics ก็ดี หรือแม้แต่โควิดที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2019 เลยเจ๊งกันเป็นแถบ ๆ

Historical approach จะช่วยบอกว่าทุกเรื่องมัน develop มายังไง และมันน่าจะไปทิศทางไหนไม่ใช่จินตนาการอย่างเดียว.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น